Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

โค้งตัดใหม่การพัฒนาที่ยั่งยืน


ปี 2558 ผ่านพันไป พร้อมกับสุดเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในโค้งแรกที่ใช้เวลาเดินทาง 15 ปี ด้วยเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ.2543

บทสรุปของการเดินทางในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย สามารถหาอ่านได้จากบทความที่แล้ว ในชื่อตอนว่า ‘สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน

โลกกำลังเริ่มต้นศักราชใหม่ ในเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโค้งตัดใหม่ที่ใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) 17 ข้อ เป็นแผนที่นำทาง ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางนับจากนี้ไปอีก 15 ปี จวบจนปี พ.ศ.2573

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ชุดนี้ ได้ผ่านการรับรองโดย 193 ประเทศสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 ภายใต้เอกสารวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 ที่ชื่อว่า ‘Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development


ทางโค้งตัดใหม่ SDGs ประกอบไปด้วยถนน 5 สาย (Areas) 17 แยก (Goals) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ในถนนสายที่ 1 - สายพหุชน (People) มี 5 แยก คือ แยก 1: การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ แยก 2: การขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน แยก 3: การทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ แยก 4: การทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และแยก 5: การบรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน

ในถนนสายที่ 2 - สายพิภพ (Planet) มี 6 แยก คือ แยก 1: การทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน แยก 2: การทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน แยก 3: การทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน แยก 4: การดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น แยก 5: การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน และแยก 6: การพิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ในถนนสายที่ 3 - สายพิพรรธน์ (Prosperity) มี 4 แยก คือ แยก 1: การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน แยก 2: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม แยก 3: การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ และแยก 4: การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน

ในถนนสายที่ 4 - สายปัสสัทธิ (Peace) มี 1 แยก คือ การส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ

ในถนนสายที่ 5 - สายภาคี (Partnership) มี 1 แยก คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับถนนสายที่ 5 นี้ ประเทศไทย สามารถริเริ่มบทบาทความเป็นผู้นำในการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในรูปของแนวพื้นที่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Corridor) กับประเทศเพื่อนบ้านในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของทั้งห้าประเทศในอนุภูมิภาค ซึ่งมีพื้นที่รวมกันราว 2 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมกันราว 240 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของอาเซียนโดยประมาณ (ทั้งขนาดพื้นที่และประชากร) และมีจีดีพีรวมกันประมาณ 5.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ ของอาเซียน

ถัดจากนั้น ไทยสามารถใช้การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Regional Partnership for Sustainable Development) เป็นคานงัด (Leverage) ไปสู่การสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศสำคัญๆ นอกภูมิภาค ที่มีข้อตกลงอยู่แล้ว อาทิ GMS (กับจีน) Mekong-Ganga (กับอินเดีย) Mekong-Japan (กับญี่ปุ่น) Mekong-ROK (กับสาธารณรัฐเกาหลี)

หวังเอาไว้ว่า การเข้าโค้งตัดใหม่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย นับจากปี พ.ศ.2559 เป็นต้นไป จะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในกรอบ SDGs ในอีก 15 ปีข้างหน้า!


[Original Link]



สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน


เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในเดือนกันยายน พ.ศ.2543 องค์กรสหประชาชาติ ได้จัดการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ณ สำนักงานใหญ่ กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งผู้นำจาก 189 ประเทศสมาชิก ได้รับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ และประกาศร่วมกันที่จะดำเนินตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs)

อาจกล่าวได้ว่า MDGs เป็นเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในโค้งแรก หรือ First S (Sustainability) Curve ที่ใช้เวลาเดินทาง 15 ปี และกำลังสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 นี้

ทางโค้ง MDGs ประกอบไปด้วย 8 แยก (เป้าประสงค์) 18 ตรอก (เป้าหมาย) และ 48 ซอย (ตัวชี้วัด)

ในส่วนของประเทศไทย ได้พัฒนาต่อยอด MDGs ให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิด MDG ‘Plus’ ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ เพื่อเน้นความสำคัญของการเคลื่อนต่อไปข้างหน้าหลังจากผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) ที่กำหนดแล้ว

ทั้งนี้ ทางแยก (เป้าประสงค์) จะเป็นตัวกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ยึดถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ขณะที่ เป้าหมาย MDG ‘Plus’ จะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสามารถแปลความหมายตามสภาพการณ์และบริบทเฉพาะ และเป็นการแสดงการรับรู้ว่าเป้าหมายแรกเป็นเป้าหมายพื้นฐานมากกว่าเป็นเพดาน และไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่พิเคราะห์ยุทธศาสตร์ MDG ‘Plus’ โดยเพิ่มตรอก (เป้าหมาย) พิเศษขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2546


ในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประเทศไทยใช้เวลาเดินทางมา 15 ปี มาดูกันว่า ในแต่ละแยก (เป้าประสงค์) เราได้ผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) มากน้อยเพียงใด

ในแยกที่ 1 การขจัดความยากจนและความหิวโหย มี 2 ตรอก คือ (1) การลดสัดส่วนประชากรยากจนลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 และ (2) การลดสัดส่วนประชากรที่หิวโหยลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านทั้ง 2 ตรอก

ในแยกที่ 2 การให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา มี 1 ตรอก คือ การให้เด็กทุกคนทั้งชายและหญิงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้

ในแยกที่ 3 การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี มี 1 ตรอก คือ การขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2548 และในทุกระดับการศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอกนี้

ในแยกที่ 4 การลดอัตราการตายของเด็ก มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของเด็กอายุต่ากว่าห้าปีลง สองในสาม ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้

ในแยกที่ 5 การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของมารดาลง สามในสี่ ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้

ในแยกที่ 6 การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ มี 2 ตรอก คือ (1) การชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภายในปี พ.ศ.2558 และ (2) การป้องกันและลดการเกิดโรคมาลาเรียและโรคสำคัญอื่นๆ ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านทั้ง 2 ตรอก

ในแยกที่ 7 การรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มี 3 ตรอก คือ (1) การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การลดสัดส่วนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและส้วมที่ถูกสุขลักษณะลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2558 และ (3) การยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด 100 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ.2563 ปรากฏว่า ไทยผ่าน 1 ตรอก (เรื่องแหล่งน้ำและส้วม) และยังไม่ผ่าน 2 ตรอก

ในแยกที่ 8 การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก มี 7 ตรอก คือ (1) การพัฒนาระบบการค้าและการเงินให้เป็นระบบเสรี ตั้งอยู่บนกฎระเบียบ คาดการณ์ได้ และไม่แบ่งแยก (2) การให้ความสำคัญกับประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (3) การให้ความสำคัญกับประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล และประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่เป็นเกาะ (4) การแก้ปัญหาหนี้ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านนโยบายระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (5) การร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาจัดทำและนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้เยาวชนได้รับงานที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ (6) การร่วมมือกับบริษัทเวชภัณฑ์ดำเนินการให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็น (7) การร่วมมือกับภาคเอกชนดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและการสื่อสาร ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอก (1)-(4) ไม่มีข้อมูลในตรอก (5) ไม่ผ่านในตรอก (6) และผ่านบางส่วนในตรอก (7)

หากไม่ได้นำน้ำหนักความสำคัญของแต่และตรอกมาพิจารณา โดยรวมแล้วไทยผ่าน 8 ตรอกเศษ ไม่ผ่าน 8 ตรอกเศษ และไม่มีข้อมูล 1 ตรอก ทำให้ความสำเร็จของการเดินทางในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 ของเป้าหมายทั้งหมด ถือว่า หลุดโค้ง!

(ข้อมูลอ้างอิง: สภาพัฒน์, รายงานผลการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ปี 2558)


[กรุงเทพธุรกิจ]



Partnership Against Corruption for Thailand (PACT) and Bureau Veritas Certification (BVC) signed for cooperation in preparing a certification scheme on “bribery-free organization” according to ISO 37001


Bangkok,23 December 2015 - Partnership Against Corruption for Thailand, or PACT, and Bureau Veritas Certification, or BVC, held the signing ceremony for cooperation on the development of implementation guidance and certification scheme on anti-bribery management systems, in notion of “bribery-free organization” according to ISO 37001 – anti-bribery management systems standard which expected to be finalized by end of 2016.


The cooperation on the development of implementation guidance and certification scheme on anti-bribery management systems according to ISO 37001 is initiated by PACT, the network of partnership against corruption formulated by Thaipat Institute providing platform for private sector to support anti-corruption in practice, and BVC, a global leader in conformity assessment and certification services. The scope of the cooperation focuses in developing guidance to help an organization implement an anti-bribery management system and a set of assessment criteria in relation to their implementation against the requirements set out in the ISO 37001 standard. The initiative will engage 5-10 pioneer organizations to implement a series of anti-bribery measures in a proportionate and reasonable manner, and assure their implementation ready for certifying by an independent body according to international standard for the first time in Thailand.

Dr.Pipat Yodprudtikan, the director of Thaipat Institute as the organizational founder of PACT, addressed about bribery and corruption in organizations that it is still a most problematic factor for doing business in Thailand. According to PwC’s 2014 Global Economic Crime Survey, bribery and corruption is significantly higher in Thailand (39%) compared to Asia Pacific (30%) and globally (27%).

The survey also found out that Thai respondents tend to respond to fraud detection similarly to others worldwide. Eighty percent of all respondents respond with internal actions. But being in line with the global response does not necessarily suggest that this is the best practice. Using internal resources is preferred because it is potentially cheaper. However, internal resources may not be enough to resolve cases. The report suggested organizations to engage an independent investigator due to their professional expertise, experience and skills.

“PACT Network is very pleased that BVC is a signatory to Partnership Against Corruption for Thailand and brings its experience with over 400,000 clients worldwide in conformity assessment and certification services to organizations in Thailand in regarding to the provision of anti-bribery management systems according to ISO 37001.”

Prawaltong Tongyai Na Ayudhaya, Certification Manager of Bureau Veritas Certification (Thailand), Ltd. said that the anti-bribery issue has been raised in the international forum and convention such as OECD Anti-Bribery Convention. Thailand has enacted the Organic Act on Counter Corruption; however, only legislative measures might not be sufficient. Preventive measures on anti-bribery should be equipped as part of the organizational management systems, as well as quality and environmental management systems.

ISO 37001 - anti-bribery management systems helps provide assurance to the management and owners of an organization, and to its shareholders, customers and other stakeholders, that the organization has implemented internationally recognized good practice anti-bribery controls. Organizations could impose this standard as a criteria for conducting business or due diligence on projects and business associates.

“Applying ISO 37001 will not impose an unnecessarily heavy bureaucracy on an organization, but demonstrate the ethical practice of organization. The requirements of ISO 37001 are generic and are intended to be applicable to all organizations (or parts of an organization), regardless of type, size and nature of activity. Bureau Veritas is very pleased in entering a partnership with PACT to promote ISO 37001 in Thai business community prior to the publication of the standard in late 2016.”

ISO 37001 - anti-bribery management systems is a requirements standard, and provides guidance for establishing, implementi ng, maintaining and improving an anti –bribery management system. The system can be independent of, or integrated into, an overall management system. The standard is capable of independent certification from the certification body. It helps the organization prevent, detect and address bribery risks in relation to the organization’s activities in the public, private and not-for-profit sectors, by (of) the organization or by (of) its personnel or business associates acting on its behalf or for its benefit, direct and indirect bribery (e.g. a bribe paid or received through or by a third party).


For more information, please contact
Jintana Junson - PACT:
02 930 5227 or info@pact.network
Ratthaporn Malayaphan - Bureau Veritas Certification (Thailand), Ltd.:
02 670 4800 or ratthaporn.malayaphan@th.bureauveritas.com



[News Release]



เครือข่ายหุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย PACT และ บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น BVC ลงนามความร่วมมือ เตรียมรับรอง “องค์กรปลอดสินบน” ตามมาตรฐาน ISO 37001


กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2558 – เครือข่ายหุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย หรือ PACT และบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BVC แถลงข่าวพิธีลงนามความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาแนวปฏิบัติและการตรวจสอบการต่อต้านการติดสินบน เพื่อเตรียมรับรอง “องค์กรปลอดสินบน” ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 37001 ระบบการจัดการการต่อต้านการติดสินบน ที่จะประกาศใช้ในปี 2559


ความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาแนวปฏิบัติและการตรวจสอบการต่อต้านการติดสินบน ตามมาตรฐาน ISO 37001 - Anti-bribery management systems เป็นผลจากความริเริ่มร่วมกันระหว่างเครือข่าย PACT (Partnership Against Corruption for Thailand) ที่ริเริ่มขึ้นโดยสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจให้มีแพลตฟอร์มดำเนินการต้านทุจริตในภาคปฏิบัติ (Anti-corruption in Practice) และ BVC (Bureau Veritas Certification) ผู้นำการตรวจประเมินและออกใบรับรองด้านมาตรฐานระบบจัดการในระดับสากล

โดยขอบเขตความร่วมมือจะเป็นการนำข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO 37001 มาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติเพื่อการต่อต้านการติดสินบน และพัฒนาเกณฑ์ในการตรวจสอบเพื่อให้ใบรับรองสำหรับองค์กรที่ปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดในมาตรฐานฉบับดังกล่าว และจะมีการเชิญชวนองค์กรที่สนใจเข้าร่วมในโครงการนำร่อง 5-10 บริษัท เพื่อนำไปสู่กระบวนการรับรองระบบการจัดการการต่อต้านการติดสินบน ตามมาตรฐานสากลเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะองค์กรผู้ริเริ่มเครือข่าย PACT ได้กล่าวถึงประเด็นการรับสินบนและคอร์รัปชันในองค์กรว่า ยังคงเป็นปัญหาหลักในการประกอบธุรกิจของบริษัทไทย จากการสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ Thailand Economic Crime Survey ประจำปี 2557 โดยไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ต่อประเภทของการทุจริต พบว่า ร้อยละ 39 เป็นการรับสินบนและคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าตัวเลขในระดับเอเชียแปซิฟิกที่ร้อยละ 30 และระดับโลกที่ร้อยละ 27

เมื่อถามถึงวิธีการจัดการที่เลือกใช้เมื่อตรวจพบการทุจริต ผลสำรวจฉบับเดียวกัน ระบุว่า คนไทยมีวิธีการจัดการกับทุจริตที่เกิดขึ้นคล้ายกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก คือ จัดการกันเองภายใน คิดเป็นร้อยละ 80 ของทั้งหมด แต่ก็มิได้หมายความว่า วิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ดีที่สุด แม้ว่าการตรวจสอบโดยคนในองค์กรเป็นทางเลือกที่ใช้กันมาก เนื่องจากค่าใช้จ่ายน้อย แต่ลำพังการใช้บุคลากรภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในรายงานฉบับดังกล่าว ได้แนะนำให้องค์กรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบการทุจริตจากภายนอก เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในการตรวจสอบแบบมืออาชีพ

“เครือข่าย PACT มีความยินดีอย่างยิ่งที่ BVC ได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย และได้นำประสบการณ์ในการตรวจประเมินและให้ใบรับรองด้านมาตรฐานการจัดการให้แก่กลุ่มลูกค้ามากกว่า 400,000 รายทั่วโลก มาใช้เตรียมความพร้อมทางด้านการวางระบบจัดการการต่อต้านการติดสินบนตามมาตรฐาน ISO 37001 ให้กับองค์กรในประเทศไทย”

คุณประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา ผู้จัดการฝ่ายรับรองมาตรฐาน บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงประเด็นเรื่องการต่อต้านการติดสินบน เพิ่มเติมว่า ยังเป็นประเด็นที่กล่าวถึงในเวทีการประชุมและข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น OECD Anti-Bribery Convention และในส่วนของประเทศไทย ก็มีกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างไรก็ตาม การพึ่งกฏหมายและมาตรการลงโทษเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัยการป้องกันที่เหมาะสมด้วย องค์กรควรดำเนินการป้องกันการติดสินบนให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการธุรกิจ เช่นเดียวกับระบบการจัดการคุณภาพ และสิ่งแวดล้อม

ISO 37001 - Anti-bribery management systems เป็นระบบการจัดการป้องกันการติดสินบน ที่ช่วยให้ผู้บริหาร ตลอดจนผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรมีความมั่นใจว่าองค์กรมีการดำเนินงานที่ดี และเหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตติดสินบน องค์กรสามารถนำมาตรฐานนี้เป็นเงื่อนไขในการดำเนินโครงการ หรือทำธุรกิจกับคู่ค้าทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

“การนำมาตรฐาน ISO 37001 มิได้เป็นการเพิ่มภาระให้องค์กร แต่เป็นการสะท้อนถึงสิ่งที่องค์กรพึงกระทำในเชิงจริยธรรม ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 37001 ยังมีความยืดหยุ่นในการปรับใช้ได้กับองค์กรในทุกขนาด และทุกประเภท บริษัทบูโร เวอริทัส มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมกับ PACT เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมขององค์กรในประเทศไทยในการนำมาตรฐาน ISO 37001 ไปดำเนินการ ก่อนที่องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) จะมีประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในปี 2559 นี้”

สำหรับ ISO 37001 - Anti -bribery management systems เป็นข้อกำหนดที่ให้แนวทางในการจัดทำ ดำเนินการ การรักษาไว้ ตลอดจนการปรับปรุงระบบการจัดการป้องกันการติดสินบน เป็นมาตรฐานที่สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรอง (Certification Body) เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการลดความเสี่ยงด้านการทุจริตติดสินบนจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยความเสี่ยงนั้นอาจเกิดขึ้นจากการกระทำขององค์กรเอง หรือบุคลากรในองค์กรไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม


สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
จินตนา จันสน - เครือข่าย PACT:
02 930 5227 หรือ info@pact.network
รัฐพร มาลยพันธุ์ - บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย:
02 670 4800 หรือ ratthaporn.malayaphan@th.bureauveritas.com



[ข่าวประชาสัมพันธ์]



กำหนดการพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ


การเตรียมรับรอง “องค์กรปลอดสินบน” ตามมาตรฐาน ISO 37001
ระหว่าง เครือข่ายหุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย (PACT)
และบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2558 เวลา 13.30 - 16.00 น.
ณ ห้องสุขุมวิท 1 โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พ้อยท์
เทอมินัล 21 ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ

13.30-14.00 น.ลงทะเบียน / พร้อมรับประทานอาหารว่าง
14.00-14.10 น.พิธีกร กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน
14.10-14.15 น.รับชมวีดิทัศน์ “ปัญหาทุจริตในประเทศไทย”
14.15-14.45 น.พิธีกร กล่าวเรียนเชิญ
  • ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
     ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ ขึ้นกล่าว
     ในนามเครือข่ายหุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย
  • คุณประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา
     ผู้จัดการฝ่ายรับรองระบบมาตรฐาน ขึ้นกล่าว
     ในนาม บจ.บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย)
14.45-14.55 น.พิธีกร เรียนเชิญทั้งสองท่าน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
14.55-15.00 น.พิธีกร กล่าวสรุป และเชิญถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน
15.00-16.00 น.สัมภาษณ์ และ ถาม-ตอบ
16.00 น.ปิดงาน


* หมายเหตุ: กำหนดการและวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม



ปรับโจทย์ CSR ปี 59: ศักราช 'ความยั่งยืน'


องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยการรับรองของชาติสมาชิก 193 ประเทศ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการพัฒนาที่นานาประเทศ รวมทั้งไทย จะใช้อ้างอิงนับจากนี้ไป จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า


ทำให้ ปี ค.ศ.2016 จะเป็นการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 1 (A.D. 2016 = S.D. 1) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ที่ได้ประกาศใช้ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาในเรื่อง (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล

ภาคธุรกิจ จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่จำต้องมีการปรับโจทย์ใหม่ (Re-proposition) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ทางสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม

ในประเทศไทย เงื่อนไขแรก ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ เพื่อนำวิธีการที่ต่างจากเดิมมาใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม คือ การให้ (Philanthropy) ที่ทำให้ผู้รับอ่อนแอลง เป็นความช่วยเหลือที่ให้ผลตรงกันข้ามกับการสร้างความเข้มแข็ง และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง (เทียบเคียงได้กับโครงการประชานิยมของภาครัฐ)


จาก Philanthropy สู่ Philanthropic Investments


เนื่องจากงบประมาณและทรัพยากรในฝั่งผู้ให้ ที่ไม่ได้มีอย่างไม่จำกัด หรือสามารถจัดสรรให้ได้ตลอดกาล พร้อมกับเงื่อนไขที่ต้องการเปลี่ยนจาก ‘การให้แบบพึ่งพา’ มาเป็น ‘การให้แบบยั่งยืน’ เพื่อให้ฝั่งผู้รับเกิดความเข้มแข็ง และยืนอยู่บนขาตนเองได้ในที่สุด

ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร ผู้รับจึงจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในปลายทางของความช่วยเหลือที่งบประมาณ ทรัพยากร และระยะเวลา มีอยู่อย่างจำกัด

ที่ดีไปกว่านั้น คือ ธุรกิจสามารถนำงบประมาณและทรัพยากรที่ใช้ช่วยเหลือ คืนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อมอบให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือรายอื่นๆ ต่อไป (ตรงกับแนวคิด Social Business ของมูฮัมหมัด ยูนุส)

ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropy (การทำบุญสุนทาน) ที่เป็นการให้เปล่า โดยใช้เงินต้นทั้งก้อนไปในโครงการเดียว จึงควรได้รับการปรับโจทย์ใหม่ เป็นความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments (การลงทุนสุนทาน) ที่เป็นการใช้เงินต้นก้อนเดียวกันในโครงการ พัฒนาจนสัมฤทธิ์ผล และสามารถนำเงินต้นก้อนดังกล่าว กลับคืนเพื่อไปใช้ในโครงการอื่นต่อไป

ธุรกิจที่ให้ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments สามารถจะเติมงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในแต่ละปี เพื่อพัฒนาโครงการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน ให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือได้หลายกลุ่มหลายโครงการ ด้วยเงินงบประมาณก้อนเดิมที่ใช้หมุนได้หลายรอบ โดยไม่สูญเปล่า ไม่สะเปะสะปะ

เงื่อนไขประการต่อมา ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ การบริหารความคาดหวังที่มิได้มีเพียงเรื่องผลประกอบการหรือผลตอบแทนที่ตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น (Shareholders) หรือการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องครอบคลุมไปถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของกิจการโดยรวม ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด (อาทิ การเลียนแบบสินค้าที่ผู้ค้ารายใหญ่มีอิทธิพลเหนือคู่ค้ารายย่อย)


จาก CG สู่ ESG


เนื่องจาก CG (Corporate Governance) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด กระนั้นก็ตาม องค์กรที่มี CG ดี อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคม (License to operate) เพียงเพราะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ประกอบกับในแวดวงผู้ลงทุนที่ตระหนักถึงการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ได้ให้น้ำหนักความสำคัญกับผลกระทบจากการประกอบการที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือที่เป็นไปตามกฎหมาย ผนวกรวมเข้าด้วยกันเป็นหลักการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็น ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งส่งผลต่อกิจการในแง่ของผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ควบคู่ไปกับการพิจารณาผลประกอบการทางการเงิน

คำเรียก ESG ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2547 ในเอกสารรายงานชื่อ “Who Cares Wins” ที่องค์การสหประชาชาติผลักดันให้มีการศึกษา และในปีถัดมา ได้ถูกพัฒนาเป็น “หลักการลงทุนที่รับผิดชอบ” (Principles for Responsible Investment - PRI) ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ถือสินทรัพย์ ให้การรับรองหลักการดังกล่าวกว่า 1,400 แห่ง มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันกว่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถสร้างการยอมรับทั้งจากกลุ่มผู้ลงทุนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง ด้วยการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย ในทางที่ขจัดหรือลดข้อขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อผู้ลงทุน มีทั้งผลประกอบการทางการเงินอันเป็นที่น่าพอใจต่อผู้ลงทุน และผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินอันเป็นที่ยอมรับต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การนำประเด็น ESG มาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์องค์กร สามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ที่มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่กว้างขึ้นสำหรับการจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Theme) ที่เอื้อต่อการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว

เงื่อนไขประการล่าสุด ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ ความคาดหวังของสังคมที่เพ่งเล็งไปยังจุดซึ่งแกนของธุรกิจ (Core Business) ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าทางสังคมร่วมด้วย นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าให้แก่องค์กรเพียงลำพัง (อาทิ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล)


จาก CSR สู่ CSV


เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process) มิได้มุ่งแต่ตอบสนอง แก้ไข หรือเยียวยาเฉพาะผลกระทบ “เชิงลบ” ที่เกิดจากการประกอบการเท่านั้น แต่กิจการต้องสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีในธุรกิจ ส่งมอบคุณค่าหรือผลกระทบ “เชิงบวก” ให้แก่สังคม ควบคู่ไปพร้อมกันกับคุณค่าที่องค์กรได้รับ

พัฒนาการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อแนวคิดดังกล่าว คือ ความพยายามในการสร้างกิจการรูปแบบใหม่ ที่มีหลายชื่อเรียก อาทิ Benefit Corporation, Low-profit Limited Liability Company (L3C), Social Purpose Corporation (SPC), Flexible Purpose Corporation (FPC) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของกิจการที่ในบ้านเรา เรียกว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise

แม้กิจการรูปแบบใหม่ดังกล่าว จะเป็นความหวังในการส่งมอบคุณค่าหลักทางสังคม (โดยตัวกิจการเอง สามารถปันผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้) แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่สามารถสร้างให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจำนวนและโมเมนตัมของกิจการประเภทดังกล่าว ยังไม่มากพอถึงขีดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และยังส่งผลไปถึงความจำกัดของตัวเลือกสำหรับการลงทุนที่รับผิดชอบ ที่ทำให้ปริมาณเม็ดเงินลงทุนสำหรับสนับสนุนกิจการประเภทนี้ ไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร (วิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องพิสูจน์ความสำเร็จของโมเดลธุรกิจหรือความอยู่รอดของกิจการ ไม่ต่างจากวิสาหกิจทั่วไป ยังไม่ต้องนับว่า ได้สร้างคุณค่าทางสังคมมากน้อยเพียงใด เพราะหากวิสาหกิจนั้น ไม่สามารถอยู่รอด คุณค่าทางสังคมที่เป็นวัตถุประสงค์หลักของการส่งมอบ ก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน)

ด้วยเหตุนี้ จุดสนใจในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การผลักดันให้วิสาหกิจทั่วไปหรือธุรกิจปกติ สร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value - CSV) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนของธุรกิจนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง ซึ่งต่างจากเรื่อง CSR ที่สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการคาดหวังให้องค์กรดำเนินการ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องและประเด็นเหล่านั้น องค์กรจะมีสินทรัพย์หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม

ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถนำประเด็นปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไขหรือที่อยู่ในความสนใจขององค์กร ภายใต้บริบทของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นโจทย์ทางธุรกิจที่องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อองค์กรสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจนั้นได้ ก็เท่ากับว่า สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นได้ไปในตัว เกิดเป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน

ในปี 2559 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ภาคธุรกิจ สามารถมีส่วนร่วมในการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเลือกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 17 ข้อ ได้ตามที่องค์กรเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

สวัสดีปีใหม่ครับ!


[กรุงเทพธุรกิจ]



ผลการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน ปี 2558

รายละเอียดโครงการ    ผลการประกาศรางวัล    


รางวัลยอดเยี่ยม:
• บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

รางวัลดีเยี่ยม:
• บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 


รางวัลดีเด่น:
• บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
• การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
• การไฟฟ้านครหลวง
• บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
• การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
• บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
• บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
• บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
• บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
• บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
• บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

 


รางวัล Recognition:
• บริษัท ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
• บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
• บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
• บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
• บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
• บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)






TLCA's CSR Club, the SEC and Thaipat Institute announce the Corporate Sustainability Reporting Awards 2015


Bangkok, December 15, 2015 – Thai Listed Companies Association (TLCA), the Securities and Exchange Commission (SEC) and Thaipat Institute jointly organized the Corporate Sustainability Reporting Awards 2015. The award was hotly contested this year, with as many as 106 companies submitting their sustainability reports for review. The judge committee has unanimously agreed to bestow the Excellence Award to Siam Cement Plc., making this the third consecutive year it has won the prestigious award. Thai Oil Plc., Bangchak Petroleum Plc. and PTT Plc. are honored for their Best Sustainability Reports.

TLCA Chairman Surong Bulakul said that the association, in collaboration with the SEC and Thaipat Institute, had organized the annual contest for corporate sustainability reports since 2013, in recognition of the increasing attention being paid by companies to the environmental, social and governance aspects of modern business practice. Investors also needed this corporate information to guide their investment decisions, he said

This year’s contest illustrated the great success of all efforts to drive company awareness of, and attention to, disclosure of these aspects of their performance. The total of 106 companies, both listed and non-listed, that submitted sustainability reports was a significant increase over 64 companies that submitted the reports in 2014. This reflected the growing importance of Thai companies developing and upgrading their environment, social and governance (ESG) disclosure.

Siam Cement Plc. is the only company to be honored with the Excellence Award for its sustainability report in 2015. Three companies, Thai Oil Plc., Bangchak Petroleum Plc. and PTT Plc., were granted the Best Awards, while 19 organizations, including Kasikornbank Plc., Somboon Advance Technology Plc. and Metropolitan Electricity Authority, receive the Outstanding Awards. This year, nine organizations, including Siam Commercial Bank Plc., Minor Group International Plc. and L.P.N. Development Plc., are given the Recognition Awards.

Securities and Exchange Commission Secretary-General Rapee Sucharitakul said under its role to govern, supervise and develop Thai capital market, SEC had given importance to sustainable development of the capital market, and provided continued supports for the Corporate Sustainability Report Awards. The Awards will help stimulate and promote listed an implementation of the CSR (Corporate Social Responsibility) in Process among listed companies. This is in accordance with the SEC’s aim to have both listed companies and those issuing securities to incorporate CSR into their organizational strategies and disclose this information in their annual reports and prospectuses. Thus, listed companies will not only focus on making a profit, but also consider likely impacts of their activities on stakeholders, society and the environment. This could lead businesses towards sustainable growth, prompting investors to gain confidence and generating wide recognition at regional and international levels.

Thaipat Institute Director Dr.Pipat Yodprudtikan said that overall, the sustainability reports from participating organizations were better developed than those in 2014. There is general recognition of three aspects: completeness, reliability and clearer communication and presentation. The International Sustainability Reporting Guidelines (GRI G4) are being employed more regularly as directions and references. Given that as many as 106 companies took part this year, sustainability reporting is seeing a significant upward trend. Honoring the highest performing companies will inspire others to see opportunities to develop their reporting and disclosure of economic, social and environmental performance, with higher quality information.


[News Release]



CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงาน ก.ล.ต. และสถาบันไทยพัฒน์ มอบรางวัลรายงานความยั่งยืน ปี 2558


กรุงเทพ, 15 ธันวาคม 2558 – สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสถาบันไทยพัฒน์ จัดพิธีมอบรางวัลรายงานความยั่งยืน ประจำปี 2558 มีบริษัทส่งรายงานเข้ารับการพิจารณมากถึง 106 บริษัท คณะกรรมการพิจารณารางวัลมีมติเอกฉันท์ให้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทยรับรางวัลยอดเยี่ยมเป็นปีที่ 3 ส่วนไทยออยล์ บางจากปิโตรเลียม และปตท. รับรางวัลดีเยี่ยม

นายสุรงค์ บูลกุล นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวถึงการจัดโครงการประกาศรางวัล รายงานความยั่งยืน ประจำปี 2258 ว่า จากการที่สมาคมฯ ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. และสถาบันไทยพัฒน์ จัดการประกวดรายงานความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เพราะตระหนักว่าธุรกิจต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของ ESG (Environment, Social and Governance) และผู้ลงทุนก็ต้องการข้อมูลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

ในปีนี้ถือว่าโครงการประสบความสำเร็จอย่างมากจากความพยายามผลักดันให้บริษัทต่างๆ ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ESG เพราะมีบริษัททั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำรายงานความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น และร่วมส่งรายงานเข้ารับการพิจารณามากถึง 106 บริษัท จากปีที่แล้ว 64 บริษัท นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าบริษัทไทยได้มีการพัฒนาและยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG มากขึ้น

ผลการพิจารณารางวัลในโครงการปีนี้ มีบริษัทที่ได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับยอดเยี่ยม (Excellence) จำนวน 1 บริษัท ได้แก่ เอสซีจี ระดับดีเยี่ยม (Best) จำนวน 3 บริษัท ได้แก่ ไทยออยล์ บางจากปิโตรเลียม และ ปตท. ระดับดีเด่น (Outstanding) จำนวน 19 บริษัท อาทิ ธ.กสิกรไทย สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ฯ การไฟฟ้านครหลวง ฯลฯ และในปีนี้ มีบริษัทที่ได้รับรางวัล Recognition จำนวน 9 บริษัท อาทิ ธ.ไทยพาณิชย์ ไมเนอร์กรุ๊ป แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ฯลฯ

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ก.ล.ต. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย และให้การสนับสนุนโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ หรือ CSR in process ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ ก.ล.ต. มุ่งหวังให้บริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ผสานเรื่อง CSR เข้าไปในกลยุทธ์องค์กร และเปิดเผยข้อมูลนี้ในรายงานประจำปีและในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทจดทะเบียนไม่มุ่งหวังเพียงสร้างผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับสากลต่อไป

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ภาพรวมในการจัดทำรายงานความยั่งยืนขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการในปี 2558 นี้ มีการพัฒนามากขึ้นจากปีก่อน โดยสามารถรายงานเนื้อหาในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการสื่อสารและการนำเสนอรายงาน ได้ครอบคลุมและชัดเจนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการใช้กรอบการรายงานสากล GRI ฉบับ G4 เป็นแนวทางและอ้างอิงในการจัดทำรายงานเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมในโครงการที่มากถึง 106 บริษัทในปีนี้ ตอกย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการรายงานความยั่งยืนของกิจการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เป็นแรงกระตุ้นให้องค์กรอื่นๆ ได้เห็นโอกาสในการพัฒนาการรายงาน สำหรับเปิดเผยข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมในประเด็นที่มีสาระสำคัญให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น


[ข่าวประชาสัมพันธ์]



More than thirty companies declare their commitment to child-friendly business practices


BANGKOK, 14 December 2015 – Today, more than thirty Thai leading companies declared their commitment to better understand children’s rights and to be guided by the Children’s Rights and Business Principles (CRBP).


The CRBP, developed by UNICEF, the Global Compact and Save the Children, outline the responsibilities of businesses to respect and support children’s rights in the workplace, marketplace, community and environment. They also encourage companies to integrate child rights into their core business, including policies, codes of conduct and strategies that go beyond simple philanthropy or short-term development projects.

At the Children Sustainability Forum: Business for the Future in Bangkok organized by Thaipat Institute and UNICEF at the Stock Exchange of Thailand, representatives of these companies presented written statements of commitment to demonstrate their company’s support to child friendly business practices.


“Businesses need to invest in children today as part of their sustainability efforts. Sustainability means- doing business without jeopardising the potential for people in the future to meet their needs. Who are these people of the future? They are the children of today. They are also the torch bearers who will take sustainability to thenext generations,” said Anand Panyarachun, UNICEF Goodwill Ambassador for Thailand, at the forum.

He stressed that children rights should be considered as part of company policies and processes.


Dr.Pipat Yodprudtikan, Director of Thaipat Institute, saidthat the ‘Child-Friendly Business’ project that Thaipat Institute has launched in partnership with UNICEF is the first of its kind in the region since the Children’s Rights and Business Principles (CRBP) were released globally in 2012.

The main objective of this project is to expand the existing private sector support to youth and children which is currently charity-based to rights-based, with a focus on company policies and processes (CSR-in-process).

Thaipat Institute has been continuously promoting CSR-in-process with the private sector and will use its existing CSR Day platform to roll out the ‘Child-Friendly Business’ project. Around 20,000 participants have been engaged over a period of seven years through the CSR Day platform.

"Sustainable development has been defined as development that is able to respond to critical needs of the existing generation without affecting the capability to respond to the demands of the next generation. I hope that the existing generation, which is you and I, will be able to eliminate or reduce adverse effects without passing them on to the next generation. At the same time I hope we will have potential to create values or positive influence for the next generation, which is our children.” said Dr.Pipat.


During a panel discussion on “Promoting Children’s Rights and Business Principles”, senior executives from MitrPhol Sugar Group, Erawan Group and Dtac shared company initiatives supporting children’s rights in their business operations and discussed child rights issues relevant for the agriculture, hospitality and ICT industries respectively.

Companies interested in participating in the ‘Child-Friendly Business’ project or for additional details, please visit http://childfriendly.biz


For more information, please contact:
NatapakAnantakool, Thaipat Institute, 02 930 5221 or natapak@thaipat.org
Nattha Keenapan, UNICEF Thailand, 086 616 7555 or nkeenapan@unicef.org



[Original Link]



ภาคธุรกิจกว่า 30 องค์กร ประกาศสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก


กรุงเทพฯ 14 ธันวาคม 2558 – วันนี้ ภาคธุรกิจกว่า 30 องค์กรได้ประกาศเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก ภายใต้หลักการแห่งสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจพร้อมจับมือพัฒนาความยั่งยืนในมิติเด็ก ครอบคลุมทั้งระดับองค์กรและห่วงโซ่ธุรกิจ


หลักการสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ หรือ CRBP เป็นหลักการที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การยูนิเซฟข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) และองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ซึ่งเสนอให้ภาคธุรกิจเคารพและสนับสนุนสิทธิเด็กภายใต้หลัก 10 ประการ ครอบคลุมบทบาทในสถานประกอบการ (Workplace) บทบาทในตลาด (Marketplace) และบทบาทในชุมชนและสิ่งแวดล้อม (Community and Environment) โดยเน้นการผนวกเรื่องสิทธิเด็กเข้าไว้ในนโยบายการดำเนินงานบรรษัทภิบาลและกลยุทธ์องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนงานหลักทางธุรกิจ (Core Business) แทนการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมรายครั้ง หรือโครงการพัฒนาที่แยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจปกติ

บริษัทกว่า 30 แห่ง ได้ร่วมกันให้คำมั่นในการส่งเสริมสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ (Children’s Rights and Business Principles หรือ CRBP) ในงานความยั่งยืนในมิติเด็ก: ธุรกิจเพื่อวันหน้า (Children Sustainability Forum: Business for the Future) ซึ่งจัดโดยสถาบันไทยพัฒน์ และองค์การยูนิเซฟ ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คลองเตย


นายอานันท์ ปันยารชุน ทูตสันถวไมตรีองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวกับบริษัทที่ได้ร่วมให้คำมั่นในงานครั้งนี้ โดยเน้นย้ำให้ภาคธุรกิจตระหนักว่า ทุกองค์กรสามารถมีส่วนในการดูแลเด็ก ผ่านทางความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจของตน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความยั่งยืนทั้งกับตัวเด็กและกิจการไปพร้อมกัน

“บริษัทต่าง ๆ ต้องลงทุนกับเด็กในวันนี้ ซึ่งหมายถึงการลงทุนธุรกิจอย่างยั่งยืน ความยั่งยืนหมายถึงการทำธุรกิจโดยไม่ทำลายโอกาสของคนในอนาคต ในสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้ แล้วใครกันล่ะคือประชาชนในอนาคต? เด็ก ๆ ในวันนี้นั่นเองครับ นอกจากนั้นพวกเขายังเป็นผู้ที่จะนำความยั่งยืนไปสู่ชนรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย”

นับตั้งแต่เริ่มโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก หรือ Child-Friendly Business โดยสถาบันไทยพัฒน์และองค์การยูนิเซฟ บริษัททั้งกว่า 30 แห่งนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลักการสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ ในระยะแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเข้าสู่โครงการระยะที่ 2 ในระดับของการนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเปิดรับองค์กรธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมเพิ่มเติมอีก 30 แห่ง โดยจะมีการดำเนินกิจกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี พ.ศ.2559 (ระยะเวลา 6 เดือน)


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงการดำเนินโครงการ Child-Friendly Business ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ในงานครั้งนี้ว่า เป็นความร่วมมือครั้งแรกในภูมิภาค หลังจากที่หลักการสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจได้ถูกประกาศใช้ในปี พ.ศ.2555

เป้าประสงค์ของสถาบันไทยพัฒน์และองค์การยูนิเซฟภายใต้ความริเริ่มนี้ เพื่อต้องการยกระดับกิจกรรมความช่วยเหลือที่องค์กรธุรกิจดำเนินการแก่เด็กและเยาวชน จากแนวคิดบนฐานของการทำการกุศล (Charity-based) สู่การทำงานโดยใช้แนวคิดฐานสิทธิ (Rights-based)ในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process)ซึ่งเป็นบทบาทที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ให้ความสำคัญและทำงานร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง

“การพัฒนาที่ยั่งยืน ถูกนิยามว่าเป็นการพัฒนาที่สามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป ผมมีความหวังว่า คนรุ่นปัจจุบัน ซึ่งก็หมายถึงผมและตัวท่าน ไม่เพียงแต่จะสามารถขจัดหรือลดผลกระทบทางลบ ไม่ให้ตกทอดแก่คนรุ่นต่อไป แต่ยังมีศักยภาพที่จะส่งมอบคุณค่าหรือผลกระทบทางบวก ให้สืบทอดไปยังคนรุ่นต่อไป ซึ่งก็คือ เด็กหรือลูกหลานของเรานั่นเอง”

ในการดำเนินโครงการ Child-Friendly Business ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ สถาบันไทยพัฒน์ได้นำแพลตฟอร์มในโครงการ CSR Day ซึ่งได้ดำเนินมาเป็นปีที่ 7 และมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 20,000 คน มาใช้สนับสนุนการทำงานร่วมกับองค์การยูนิเซฟภายใต้ความริเริ่มนี้


การอภิปรายในหัวข้อ “การส่งเสริมสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ” นั้น วิทยากรทั้ง 3 ท่าน จากกลุ่มมิตรผล ดิเอราวัณกรุ๊ป และดีแทค ได้ชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างการทำงานในเรื่องเด็กและรูปธรรมของการดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมสิทธิเด็ก รวมทั้งการขยายผลสู่ห่วงโซ่ธุรกิจในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มบริการ และกลุ่มเทคโนโลยี ตามลำดับ

องคกรธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก หรือต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://childfriendly.biz


สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นัทภัค อนันตกูล สถาบันไทยพัฒน์ 02 930 5221 หรือ natapak@thaipat.org
ณัฐฐา กีนะพันธ์ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย 086 616 7555 หรือ nkeenapan@unicef.org



[Original Link]



กำหนดการ


The Children Sustainability Forum: Business for the Future
โดย องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13:30 - 16:30 น.
ณ หอประชุมศาตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย
ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก คลองเตย

13.30-14.00 น.ลงทะเบียน
14.00-14.30 น. พิธีเปิดงาน “The Children Sustainability Forum: Business for the Future” อย่างเป็นทางการ

- รับชมวีดิทัศน์จากองค์การยูนิเซฟ
  “Are Children Your Business?”

- กล่าวเปิดงาน
  โดย คุณพิชัย ราชภัณฑารี
     ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย
- กล่าวรายงาน
  โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
     ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์

- รับชมวีดิทัศน์นำเสนอโครงการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก
  “Child-Friendly Business”
14.30-14.40 น. กล่าวปาฐกถาพิเศษ (Keynote address)
หัวข้อ “Children Sustainability: Business for the Future”
  โดย คุณอานันท์ ปันยารชุน
     ทูตองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย
14.40-14.45 น.เปิดโครงการ “Child-Friendly Business” อย่างเป็นทางการ
14.45-15.05 น.การแสดงคำมั่นในการส่งเสริมสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ และถ่ายภาพร่วมกัน
15.05-15.30 น.พักรับประทานอาหารว่าง
15.30-16.25 น. การอภิปราย หัวข้อ “Promoting Children’s Rights and Business Principles”
  โดย คุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย
     ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
     กลุ่มมิตรผล
  โดย คุณกมลวรรณ วิปุลากร
     กรรมการผู้จัดการใหญ่
     บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  โดย คุณอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
     ผู้อำนวยการอาวุโส
     สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
  ดำเนินการอภิปราย โดย คุณชัยยุทธ โล่ธุวาชัย
  พิธีกรรับเชิญจาก Money Channel
16.25–16.30 น.ปิดการอภิปราย และจบงาน


* หมายเหตุ: กำหนดการและวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม



รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน


เมื่อพูดถึงกรอบการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ (Sustainability Report) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางนั้น หนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึงองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) องค์กรอิสระ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดทำและประกาศกรอบการรายงานสากลฉบับ G1 เป็นฉบับแรก ในปี พ.ศ.2543 พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นฉบับ G4 ในปี พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อ้างอิงอยู่ในปัจจุบัน และได้กลายเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) สำหรับการรายงานแห่งความยั่งยืน ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก

รายงานแห่งความยั่งยืน เป็นรายงานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนทั้งในทางบวกและทางลบ โดยมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ปัจจุบัน มีองค์กรทั่วโลกที่จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบของ GRI แล้วมากกว่า 5,000 แห่ง ใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคต่างๆ

หัวใจหลักของกรอบการรายงานสากลของ GRI ฉบับ G4 คือ การสร้างให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก รวมทั้งการตอกย้ำเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) ที่ให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) ตลอดจนสามารถใช้กระบวนการรายงานดังกล่าวในการบูรณาการความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร

เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสหประชาชาติ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้ให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) จำนวน 17 ข้อ ที่ได้จัดทำขึ้น ต่อจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) จำนวน 8 ข้อ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ เพื่อใช้สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 มิติที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกมิได้

องค์กรทั้งในภาคธุรกิจและภาคสังคม ที่ได้มีการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI อยู่แล้ว สามารถประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับสู่รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน (Enhanced Sustainability Report) สำหรับสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมในวงกว้าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคำมั่นและการดำเนินงาน ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

ตัวบ่งชี้การดำเนินงานของ GRI ที่ถูกจำแนกในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถจัดจำพวกให้อยู่ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นรายเป้าประสงค์ (Goals) ทั้ง 17 ข้อ โดยมีเป้าหมาย (Targets) รองรับตามธีมธุรกิจ (Business Theme) ที่เกี่ยวเนื่อง

ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 1 เรื่องการขจัดความยากจน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ยากไร้ และด้านการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC8 ผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงการขยายผลกระทบ เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว

ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 2 เรื่องการขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC7 การพัฒนาและผลกระทบจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว

ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 3 เรื่องการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-LA6 ชนิดและอัตราของการบาดเจ็บ โรคจากการทำงาน จำนวนวันสูญเสียและการขาดงาน และจำนวนผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติงาน จำแนกตามภูมิภาค และเพศ รวมถึงตัวชี้วัด G4-LA7 แรงงานที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว

จะเห็นได้ว่า ภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ทันที ด้วยสิ่งที่องค์กรตนเองได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยการประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจึงค่อยพิจารณาเพิ่มเติมการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องหรือตอบสนองต่อ SDG ในข้อที่มีการดำเนินการบ้างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้เต็มที่ และในข้อที่ยังมิได้มีการดำเนินการ

ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่ง จะต้องดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทั้ง 17 ข้อ แต่กิจการต้องสามารถเลือกเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง


[Original Link]



Thailand Collaboration for Change


มูลนิธิเพื่อคนไทย ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายปลุกพลังเปลี่ยนไทย กว่า 20 องค์กร ริเริ่ม โครงการ “ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ” กลไกการระดมทรัพยากรระดับชาติ หลากหลายประเภท อันประกอบด้วย คน เครือข่าย องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและเงินทุน สนับสนุนการร่วมลงมือปฏิบัติของคนไทยทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดพลังร่วมที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ แก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นระบบ และวัดผลได้อย่างมีนัยสำคัญต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน


จากการประกาศรับสมัครโครงการเพื่อสังคมในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีโครงการที่สมัครเข้าร่วมและพร้อมดำเนินงานกว่า 68 โครงการ โดยคณะทำงานร้อยพลังฯ ได้รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นไดเร็คทอรี่ นับเป็นครั้งแรกของการรวมข้อมูลโครงการเพื่อสังคมระดับประเทศที่ระบุ “ความต้องการ- ผลทางสังคม” ประกาศสู่สาธารณะให้ “ผู้สนใจ” ร่วมสนับสนุนและสร้างการเปลี่ยนแปลง

อนึ่ง โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย” (Inspiring Thailand) ซึ่งมีภาคีเครือข่ายทั้งภาคธุรกิจและภาคสังคมกว่า 20 องค์กรร่วมสร้างพลังพลเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thailandcollaborationforchange.com




กระแสสีเขียว สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วรณัฐ เพียรธรรม

กระแสสีเขียวกำลังเป็นกระแสที่ตีคู่ในเชิงสนับสนุนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อกระแสหลักมุ่งไปเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรเสีย เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมถึงอาเซียนในอนาคต ก็ต้องมีการพูดถึงคำว่า Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มีการเสนอให้มีการเปลี่ยนกรอบความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุล จากแบบเสาหลักแห่งการพัฒนาที่ยึดเป็นตัวแบบตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาเป็นมิติแห่งการพัฒนาด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นับจากปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วน และเน้นให้เกิดผลของการพัฒนาที่คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างมิติในทุกระดับของการพัฒนา

ฉะนั้น เมื่อพูดถึงคำว่าสิ่งแวดล้อม จึงอาจจะไม่ใช่เอาคำว่า สีเขียว มาทับได้สนิทจริง ๆ เพราะนิยามของคำว่า สีเขียว ในวันนี้ขยายไปทาบในมิติเศรษฐกิจและมิติสังคมด้วย อย่างเช่น เรื่อง "การเติบโตสีเขียว" ที่ถูกริเริ่มขึ้นจากหลายสำนัก ทางหนึ่งจาก UNEP ทางหนึ่งจาก ESCAP ทางหนึ่งจาก OECD กลายเป็นคำร่วมที่ต้องการขจัดความลักลั่นระหว่างผู้ที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม กับผู้ที่ดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงมีความพยายามที่จะหลอมรวมสองเรื่องนี้ให้ไปด้วยกัน

จะเห็นว่าโลกให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่จะทำได้แค่ไหนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะยังมีความท้าทายอีกมากมายรออยู่ แต่สำหรับภาคธุรกิจหากพิจารณาให้ดีจะเป็นโอกาสในการพลิกเรื่องการเติบโตสีเขียวให้กลายมาเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้

สำหรับประเทศไทย ภาพความเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว สภาพัฒน์กำหนดชัดเจนว่าจะเดินทางไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย มลพิษเกิดขึ้นมากมาย และธีมเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว กลายเป็นธีมที่ลากยาวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งไทยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2570

การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ด้วยคำ 3 คำ คือ Enable เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมาก เพราะถือว่าอยู่หัวขบวนของภาคเอกชน ซึ่งถ้าอยู่ดี ๆ จะไปบอกให้บริษัทใหญ่ ๆ ทำเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว โดยที่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย เขาคงไม่ทำ อย่างเช่นเรื่องคาร์บอน อาจจะมีที่ทำเก็บไว้ แต่จะให้ลุกขึ้นมาแล้วนำสังคม นำตลาด คงไม่เอา

ฉะนั้น สำหรับองค์กรที่มีความพร้อม แต่บรรยากาศในธุรกิจไม่เอื้อ ภาครัฐจะต้องลงไปส่งเสริมอะไรบางอย่าง เช่น กลไกทางด้านภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ส่วน Encourage คือกลุ่มองค์กรที่ยังยึกยักอยู่ เพราะไม่แน่ใจว่าจะได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า ดังนั้นต้องพยายามจูงใจ สนับสนุนอะไรบางอย่าง และสำหรับ Enforce เป็นกลุ่มที่หมิ่นเหม่กับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ต้องใช้กฎหมายมาบังคับ

ข้อแนะนำของ ESCAP ต่อการพลิกกระแสสีเขียว ให้กลายเป็นโอกาสสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประการแรก คือ ทำให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การทำเช่นนี้เป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มลพิษค่อย ๆ ลดลง และหันมาใช้พลังงานทดแทน รวมถึงใช้วิธีการ 3R (Reduce, Reuse, Recycle)

ประการที่สอง การส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งสินค้าและบริการ การเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มอบโอกาสให้ธุรกิจใหม่ ๆ เช่น โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) หรือที่เห็นชัดและมีมานาน คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หรือที่คนอาจจะไม่ค่อยรู้จัก เช่น บริษัทผู้ให้บริการด้านพลังงาน (ESCOs) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอนาคต และถือเป็นธุรกิจที่จะทำเงินได้มาก ถ้าบริหารจัดการดี ๆ

ประการที่สาม การพลิกทุนทางธรรมชาติให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งน่าสนใจและสะท้อนถึงโอกาสในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี นั่นคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศ และการลงทุนทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดโอกาสในการสร้างกำไรและการจ้างงาน อุทยานแห่งชาติที่ได้รับการสงวนไว้เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมดั้งเดิม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้

ตัวอย่างการทำเกษตรยั่งยืน เช่น เกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นการจับคู่ระหว่างความจำเป็นในการรักษาความสมบูรณ์เชิงนิเวศกับการสร้างผลกำไรควบคู่กันไป นั่นอาจเป็นภาพกว้าง ๆ ของการพลิกสีเขียวให้เป็นธุรกิจ และแน่นอนว่าแนวโน้มสินค้าสีเขียวจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับเอสเอ็มอีบ้านเรายังอาจจะยากอยู่สักหน่อย

เพราะนอกจากไอเดียแล้ว ยังต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วย และโดยวิธีการก็จะต้องพิสูจน์ด้วยกรณีตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรม และเกิดเป็นผลได้ต่อธุรกิจจริง ๆ


[Original Link]



SDG-Enhanced Report

Introduction      Approach      Mapping Tools      Recognition


เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2558 องค์การสหประชาชาติ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้ให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) จำนวน 17 ข้อ ที่ได้จัดทำขึ้น ต่อจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) จำนวน 8 ข้อ ที่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ เพื่อใช้สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 มิติที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกมิได้ นับจากนี้ไป จวบจนปี พ.ศ.2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ประกอบด้วย (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล

ภาคเอกชน ถือเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการปรับแนวการดำเนินงานให้มีความเชื่อมโยงกับการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดเป็นผลได้ทางธุรกิจและผลลัพธ์เชิงบวกแก่สังคมโดยรวมไปพร้อมกัน

เครื่องมือหนึ่งที่ภาคเอกชนสามารถนำมาใช้ในการแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกิจการ คือ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานผ่านรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ที่หลายองค์กรเผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน ด้วยการเชื่อมโยงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในบางเป้าหมายที่สำคัญซึ่งองค์กรได้คัดเลือก หรือในเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในรูปแบบที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน หรือ Enhanced Sustainability Report

 


ข้อมูลเพิ่มเติม: เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)



GRI Certified Training Course (G4)



สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหุ้นส่วนฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง หรือ Certified Training Partner ของ GRI ในประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรพัฒนาการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI ฉบับ G4 ให้แก่บริษัทจดทะเบียน และองค์กรธุรกิจที่สนใจ

หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ เน้นให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก รวมทั้งการตอกย้ำเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) ที่ให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) ตลอดจนสามารถใช้กระบวนการรายงานดังกล่าวในการบูรณาการความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้กระบวนการรายงาน 5 ระยะของ GRI ซึ่งประกอบด้วย

Prepare:จัดทำภาพร่างของรายงาน เนื้อหาที่คาดว่าจะเปิดเผย และกระบวนการที่จะนำไปสู่จุดหมาย
Connect:ระบุและเชื่อมประสานกับผู้มีส่วนได้เสียหลักทั้งภายในและภายนอก เพื่อรับทราบเรื่องที่มีความสำคัญหลักในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย สำหรับใช้ระบุผลกระทบที่เกี่ยวเนื่อง และจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะนำมารายงาน
Define:ตัดสินเนื้อหาที่จะใช้รายงาน จากความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและกลยุทธ์ขององค์กร
Monitor:ระบุถึงการปรับระบบและกระบวนการภายในที่อาจมีความจำเป็นต่อการได้มาซึ่งข้อสนเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการรายงาน ตามด้วยการเก็บรวบรวมข้อสนเทศที่ต้องใช้สำหรับจัดทำรายงาน และทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่นำมารายงานได้คุณภาพ
Report:ลงมือจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เผยแพร่ และสื่อสารตัวรายงานให้กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

หลักสูตรพัฒนาการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ GRI ฉบับ G4 ประจำปี 2558 จัดขึ้นในวันอังคารที่ 1 และวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 (หลักสูตร 2 วัน) ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว บางกอก ฟอร์จูน ถ.รัชดาภิเษก โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจาก 15 องค์กร จำนวน 30 ท่าน และผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) จาก GRI

 


ผู้เข้าอบรมทุกท่านจะได้รับหนังสือ “GRI Sustainability Reporting Process” ที่เป็น G4 ฉบับ How-to ภาษาไทย (ความหนา 81 หน้า) ที่สถาบันไทยพัฒน์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำหรับองค์กรในการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามแนวทางของ GRI ฉบับ G4 นอกเหนือจากเอกสารประกอบการอบรม ที่ได้รับการรับรองจาก GRI

 


พิเศษ! การอบรมในหัวข้อ Upgrade your sustainability report to SDG enhanced sustainability report เพื่อการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นการยกระดับรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) สู่รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน (Enhanced Sustainability Report)





UN เปิดตัว SDG ในไทย


เมื่อวันอังคาร (17 พ.ย.) ที่ผ่านมา ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศ (UNRC) และทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNCT) ได้จัดงานแนะนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในประเทศไทย พร้อมกับการฉลองครบรอบ 70 ปีของสหประชาชาติ โดยมีองค์กรภาคีความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้าร่วมงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ประเทศไทย ถือเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับระบบสหประชาชาติในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วยหน่วยงานหรือโครงการและองค์การที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 28 แห่งซึ่งล้วนมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ

ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Country Team - UNCT) ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานของสหประชาชาติที่ดำเนินโครงการสำคัญที่มุ่งเน้นในประเทศไทยโดยเฉพาะ มีพันธกรณีในการเสริมสร้างความร่วมมือฉันท์มิตรที่เข้มแข็งและสร้างสรรค์ระหว่างรัฐบาลไทยและผู้มีส่วนได้เสียในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานของ UNCT ทั้งหมด อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศ (UN Resident Coordinator - UNRC)

UNRC ได้รับการแต่งตั้ง โดยเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีการประสานการทำงานและความร่วมมือในระบบสหประชาชาติและผู้บริจาครายอื่น ภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ในแต่ละประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้กิจกรรมของสหประชาชาติมีการผสานกันอย่างกลมกลืน และสนับสนุนวาระโลกของสหประชาชาติ

อันที่จริง ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทย ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ผ่านทางกรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework - UNPAF) ที่เน้นความสำคัญใน “การเข้าร่วมเป็นภาคี” เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่ในวาระของรัฐบาลและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยงานต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติให้ความช่วยเหลือ

โดยในกรอบภาคีความร่วมมือ UNPAF ฉบับปี พ.ศ. 2555-2559 ได้ให้ความสำคัญใน 6 กลุ่มงาน ประกอบด้วย (1) การคุ้มครองทางสังคม (2) สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (3) ข้อมูลสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์ (4) การเปลี่ยงแปลงสภาพภูมิอากาศ (5) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (6) เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (ปัจจุบัน UNCT กำลังทำงานเพื่อเตรียมการจัดทำกรอบภาคีความร่วมมือ UNPAF ฉบับปี พ.ศ.2560-2564)

นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติ ยังได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในประเด็นด้านอื่นๆ เช่น เอชไอวีและโรคเอดส์ การโยกย้านถื่นฐาน เพศสภาพ และการศึกษา รวมทั้งการสัมมนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนหารือระหว่างผู้เกี่ยวข้องต่อประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในประเทศไทยด้วย

(ในภาพจากซ้าย คุณสุกิจ อุทินทุ รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ กลุ่มบริษัทไมเนอร์ และกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณลุค สตีเว่นส์ ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย และผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ และเลขานุการคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน)

สำหรับงานแนะนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นพร้อมกับงานนิทรรศการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของสหประชาชาติ และการรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ผู้ที่สนใจงานนิทรรศการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน UNRC และ UNCT เปิดให้สาธารณชนสามารถเข้าชมฟรี ในระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2558 นี้ ที่ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่ มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ


[Original Link]



วาระ ‘สังคม 2020’


เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมสุดยอดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Summit) เพื่อรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 17 ข้อ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศรวมทั้งไทย ซึ่งยังผลให้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว จะกลายเป็นทิศทางการพัฒนาทั้งของไทยและของโลกต่อจากนี้

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เมื่อปี พ.ศ.2555 และได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการลงทุนทางสังคม โดยสำนักงานเลขาธิการว่าด้วยหลักการลงทุนทางสังคม ซึ่งเป็นความริเริ่มที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ ได้เสนอแนวคิดการขับเคลื่อนวาระ “สังคม 2020” ขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสานเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยไปพร้อมกัน

การขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 จะกำกับดูแลโดยคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Network Board: SDNB) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “บอร์ดยั่งยืน” ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ที่ผลักดันงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ และสื่อมวลชน โดยมีสถาบันไทยพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ

ทั้งนี้ บทบาทของคณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ตั้งขึ้น จะเน้นการทำหน้าที่เป็นกลไกประสานหน่วยงาน โดยหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่จะทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือเพื่อตอบโจทย์ SDGs ในระดับที่สูงขึ้น ภายใต้หลักการ 5Ps ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ ประชาชน (People) โลก (Planet) ความมั่งคั่ง (Prosperity) สันติภาพ (Peace) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)

การดำเนินงานตามวาระสังคม 2020 มุ่งที่จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับสังคมวงกว้าง เน้นการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 มิติที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกมิได้ อันมีขอบข่ายที่กว้างกว่าโจทย์การพัฒนาความยั่งยืนในระดับองค์กรหรือระดับห่วงโซ่ธุรกิจ ด้วยการทำงานในรูปของกลุ่มความร่วมมือผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Group) ภายใต้วิสัยทัศน์ “People -> Perform, Business -> Transform, State -> Reform”


นั่นคือ ภาคประชาชนทำหน้าที่ (Perform) ของตนเองอย่างมีประสิทธิผล ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านหรือแปรรูป (Transform) ไปสู่การยกระดับการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมได้รับการดูแลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน และภาครัฐมีการปฏิรูป (Reform) หน่วยงานอย่างจริงจังเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งไปสู่ “สังคมที่เราต้องการ” (The Society We Want) ในอีก 15 ปีข้างหน้า โดยมีกรอบเวลา 5 ปีในระยะแรก (สิ้นสุดปี ค.ศ.2020) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (สิ้นสุดปี ค.ศ.2030) ในระยะต่อไป

คณะกรรมการเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเริ่มเชิญชวนหน่วยงานที่สนใจ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่มีความประสงค์จะทำงานเชื่อมโยงกับวาระสังคม 2020 เข้าร่วมดำเนินงานในรูปแบบของหุ้นส่วนความร่วมมือ ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

พร้อมทั้งได้จัดทำเอกสาร Society 2020 Partnership Submission Form เพื่อรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลหน่วยงาน ประเด็นที่องค์กรสนใจ เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน รูปแบบความร่วมมือ ทุน/ปัจจัยที่ให้การสนับสนุน และโครงการ/ความริเริ่มที่ต้องการขับเคลื่อน ฯลฯ เพื่อให้หน่วยงานที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเพื่อให้ข้อมูล ได้ที่ sdnb.org ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


[Original Link]



เปิดเวทีขับเคลื่อนสังคม 2020


สังคม 2020” เป็นวาระที่ถูกริเริ่มขึ้นในจังหวะเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ซึ่งใช้อ้างอิงมาแล้ว 15 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 สู่การพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งนานาประเทศรวมทั้งไทยจะใช้อ้างอิงนับจากนี้ไป จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า

สังคม 2020 ถูกออกแบบให้เป็นความเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ที่มุ่งให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคมในลักษณะเครือข่าย บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ให้สามารถเชื่อมโยงกับการตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยการขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 มีกรอบเวลา 5 ปีในระยะแรก (สิ้นสุดปี ค.ศ.2020) และจะมีการประเมินการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาสู่การขับเคลื่อนในกรอบเวลา 10 ปี (สิ้นสุดปี ค.ศ.2030) ในระยะต่อไป

วาระสังคม 2020 ได้ถือโอกาสนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อที่เพิ่งประกาศในปีนี้ มาใช้เป็นกรอบการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีเป้าหมายร่วมแห่งการพัฒนาที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ด้วยการอ้างอิงหลักการ และเป้าหมาย พร้อมตัวบ่งชี้การดำเนินงาน จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งได้รับการเห็นพ้องทั้งในระดับระหว่างองค์กรและระหว่างประเทศ จะช่วยขจัดและลดการสูญเสียเวลาและทรัพยากรที่แต่เดิม หน่วยงานที่เข้าเป็นหุ้นส่วนการดำเนินงานในภารกิจต่างๆ ร่วมกัน ต้องใช้ในการรวบรวม กลั่นกรอง และเห็นพ้องในหลักการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดดังกล่าว ก่อนการดำเนินงาน และบ่อยครั้ง ก็ไม่สามารถได้ข้อสรุปร่วมกัน เป็นเหตุให้การดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือในหลายเวที ไม่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์

นอกจากนี้ ในการออกแบบการร่วมดำเนินงาน ยังได้คำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของหน่วยงานที่เข้าเป็นหุ้นส่วนการดำเนินงานมาใช้ในการขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 เพราะเชื่อว่า ในทุกหน่วยงานจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะตน ที่มีความโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และที่สำคัญ คือ การทำงานตามวาระสังคม 2020 จะเน้นที่การต่อยอดการทำงานของแต่ละหน่วยงาน โดยไม่เริ่มจากศูนย์ แต่ต้องเปิดกว้างและสามารถเปิดรับการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อขยายผลการดำเนินงานของหน่วยงานในเชิงปัจเจก มาสู่ผลลัพธ์ในเชิงท้องถิ่น ภูมิภาค และโลกโดยรวม

ด้วยการวางแนวทางการขับเคลื่อนตามวิถีทางนี้ จะทำให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และประสิทธิผล จากการส่งมอบผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ตามความมุ่งหวังของหน่วยงานและของสังคมโดยรวม

ทั้งนี้ การร่วมขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 สามารถดำเนินการได้ใน 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็น “องค์กรริเริ่ม” และระดับที่เป็น “องค์กรเข้าร่วม” ดำเนินงาน

“องค์กรริเริ่ม” หมายถึง หน่วยงานที่มีความประสงค์จะเป็นผู้ริเริ่มและนำการดำเนินงานโดยองค์กรริเริ่ม ซึ่งได้มีการเสนอแผนงานหรือโครงการที่มีระยะเวลาการดำเนินงานอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ.2020 ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน

“องค์กรเข้าร่วม” หมายถึง หน่วยงานที่มีความประสงค์จะเป็นผู้เข้าร่วมดำเนินงานที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรเข้าร่วมมีความสนใจและสามารถให้การสนับสนุนทุน ทรัพยากร หรือความเชี่ยวชาญที่องค์กรมีอยู่

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนวาระสังคม 2020 จะมีการจัดกลุ่มการพัฒนาในแต่ละด้าน ในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย เพื่อดำเนินเงินตามแผนงานหรือความริเริ่มที่องค์กรริเริ่มเป็นผู้เสนอ

หน่วยงานที่สนใจ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่มีความประสงค์จะทำงานเชื่อมโยงกับวาระสังคม 2020 เข้าร่วมดำเนินงานในรูปแบบของหุ้นส่วนความร่วมมือ สามารถดาวน์โหลดเอกสาร Society 2020 Partnership Submission Form เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลหน่วยงาน ประเด็นที่องค์กรสนใจ เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน รูปแบบความร่วมมือ ทุน/ปัจจัยที่ให้การสนับสนุน และโครงการ/ความริเริ่มที่ต้องการขับเคลื่อน ฯลฯ ได้ที่ sdnb.org ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


[Original Link]



ย้อนรอยการพัฒนาที่ยั่งยืน


ในปีนี้ สหประชาชาติ ได้ประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งจะเป็นข้อผูกพันสำหรับชาติสมาชิกที่ได้ให้การรับรอง รวมทั้งประเทศไทย ในการนำไปใช้ บทความนี้ จะพาท่านย้อนรอยดูที่มาและความเคลื่อนไหวแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนครั้งสำคัญๆ ของโลก

เส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเวทีนานาชาติ มีจุดเริ่มต้นที่การก่อตั้งคณะกรรมาธิการบรันท์แลนด์ หรือคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ในปี ค.ศ.1984 จากข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติที่มีต่อกระบวนการเตรียมตัวด้านสภาวะแวดล้อม นับจากปี ค.ศ.2000 เป็นต้นไป อันเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UNCHE) ที่จัดขึ้น ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน เมื่อปี ค.ศ.1972 ซึ่ง 113 ประเทศที่เข้าร่วม ได้ให้ความตระหนักถึงวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและเกินขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติโดยมนุษย์

คณะกรรมาธิการบรันท์แลนด์ จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนารูปแบบใหม่ที่มุ่งลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้ในเอกสารรายงานชื่อว่า อนาคตของเรา (Our Common Future) ซึ่งเสนอต่อสหประชาชาติในปี ค.ศ.1987 อันเป็นที่มาของแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)” โดยได้ให้นิยามไว้ในรายงานฉบับดังกล่าวว่า “เป็นการพัฒนาที่สามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป

ถัดจากนั้น ได้มีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Earth Summit) หรือที่เรียกว่า การประชุม Rio เกิดขึ้นที่ กรุงรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในปี ค.ศ.1992 โดยได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของประชาคมโลก ที่เรียกว่า ปฏิญญารีโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการ 21 ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทสำหรับการดำเนินงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

ต่อมาได้มีการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (Millennium Summit) ในปี ค.ศ.2000 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการรับรองและยืนยันถึงพันธกรณีร่วมกันที่จะดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ และกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) เป็นวาระการพัฒนาของโลกในกรอบระยะเวลา 15 ปี อันประกอบด้วย เป้าหมายหลัก 8 ข้อ ได้แก่ (1) ขจัดความยากจนและความหิวโหย (2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (3) ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี (4) ลดอัตราการตายของเด็ก (5) พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ (6) ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ (7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

และในปี ค.ศ.2002 การประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Earth Summit) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า การประชุม Rio+10 ได้ถูกจัดขึ้นที่ นครโจฮันเนสเบอร์ก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยได้มีการรับรองเอกสารพันธกรณี 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน และแผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบอร์ก ซึ่งกำหนดมาตรการในการช่วยเร่งรัดการอนุวัตตามแผนปฏิบัติการ 21 รวมถึงพันธกรณีของข้อตกลงและอนุสัญญาต่างๆ ที่เป็นผลจากการประชุม Earth Summit ในปี ค.ศ.1992

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Earth Summit) หรือที่เรียกว่า การประชุม Rio+20 ได้เวียนมาจัดขึ้นที่ กรุงรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ.2012 โดยได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่มีชื่อว่า อนาคตที่เราต้องการ (The Future We Want) ซึ่งนับเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อใช้แทน MDGs ซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.2015

และในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้ใช้เวทีการประชุมสุดยอดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Summit) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs จำนวน 17 ข้อ

SDGs 17 ข้อ ประกอบด้วย (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว จะถูกใช้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางการพัฒนาทั้งของไทยและของโลกนับจากนี้ จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี


[Original Link]