รายงาน "6 ทิศทาง CSR ปี 2563"
ปี ค.ศ.2020 ที่เริ่มต้นขึ้น ถือเป็นปีแรกเริ่มของทศวรรษ 2020 ที่โลกต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในภาคเอกชน การบริหารกิจการให้อยู่รอดปลอดภัย สามารถคงธุรกิจที่มีอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้ ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงการเติบโตให้ได้อย่างต่อเนื่อง ก็นับว่ายากแล้ว ทำให้กระแสเรื่องความยั่งยืนยิ่งเป็นวาระที่องค์กรในภาคธุรกิจ จำเป็นต้องศึกษาแนวโน้มที่เกิดขึ้นซึ่งมีความเป็นพลวัตสูง และประยุกต์เอาแนวทางที่สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของตน มาใช้ในการบริหารความยั่งยืนให้แก่กิจการ ซึ่งถือเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจได้ไปต่อในทศวรรษ 2020 ที่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปี 2563 ค่อนข้างชัดว่า การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เป็นกระแสหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในธีม “Stakeholder Capitalism” หรือ ทุนนิยมที่เอื้อต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในระบบเศรษฐกิจ แทนที่จะสนองประโยชน์แก่เจ้าของทุนหรือเฉพาะผู้ถือหุ้นของกิจการอย่างที่ปฏิบัติกันมา
ภายใต้ธีมนี้ กิจการควรที่จะสามารถสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในอันที่จะสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมและยั่งยืน ไม่เพียงแต่การสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งกลุ่มพนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมโดยรวม สามารถผสานประโยชน์ที่แตกต่างของบรรดาผู้มีส่วนได้เสียให้ได้ดีที่สุด และในทิศทางที่เสริมความรุ่งเรืองของบริษัทในระยะยาว
ทั้งนี้ กิจการพึงระลึกว่า องค์กรของตนเป็นมากกว่าหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่ง แต่ต้องสามารถคงบทบาทในการมีส่วนเติมเต็มความปรารถนาทางสังคมและผู้คนในระบบสังคมวงกว้าง ทั้งนี้ ผลประกอบการต้องถูกวัดโดยไม่จำกัดเพียงผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น แต่ต้องครอบคลุมถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG)
สอดรับกับธีมที่เกิดขึ้นในระดับองค์กร ที่เน้นคำว่า “Purpose” หรือ ความมุ่งประสงค์ที่องค์กรต้องคำนึงถึงเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจจากนี้ไป ถือเป็นเจตจำนงที่ต้องแสดงให้สาธารณชนได้รับทราบว่า เหตุใดเราจึงยังคงอยู่ (Why do we exist?) หรือธุรกิจเราอยู่เพื่อทำสิ่งใดที่เป็นความมุ่งประสงค์หลัก ใช่การแสวงหากำไรสูงสุดหรือไม่ หรือเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าร่วมให้แก่สังคม และคุณค่าที่กิจการจะส่งมอบมีความสอดคล้องกับสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในองค์กรมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ ความเคลื่อนไหวของพัฒนาการด้านความยั่งยืนในระดับสังคม ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบที่กิจการส่งผ่านสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีนี้ ถือเป็นปีเริ่มต้นของทศวรรษ 2020 ที่จะไปสิ้นสุดในปี ค.ศ.2030 องค์กรหลายแห่งจะถือโอกาสนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาตอบโจทย์ที่เป็นผลกระทบจากการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน โดยจะไปบรรจบครบวาระของ SDGs ในปี ค.ศ.2030 (ระยะ 10 ปี) ทำให้ธีมเรื่อง “SDG Impact” จะได้ฤกษ์ก่อตัวขึ้นในปี ค.ศ.2020 นี้
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2563 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ ในการใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้ประกอบความยั่งยืนให้เกิดขึ้น ในอันที่จะส่งมอบคุณค่าร่วมแก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมโดยรวม
รายงาน 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship มีความหนา 24 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากประธาน
- สารจากผู้อำนวยการ
- 2020: ปีแห่งการเป็นผู้ประกอบความยั่งยืน
- 6 ทิศทาง CSR ปี 2563
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship
ในภาคเอกชน การบริหารกิจการให้อยู่รอดปลอดภัย สามารถคงธุรกิจที่มีอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้ ในสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงการเติบโตให้ได้อย่างต่อเนื่อง ก็นับว่ายากแล้ว ทำให้กระแสเรื่องความยั่งยืนยิ่งเป็นวาระที่องค์กรในภาคธุรกิจ จำเป็นต้องศึกษาแนวโน้มที่เกิดขึ้นซึ่งมีความเป็นพลวัตสูง และประยุกต์เอาแนวทางที่สอดคล้องกับบริบททางธุรกิจของตน มาใช้ในการบริหารความยั่งยืนให้แก่กิจการ ซึ่งถือเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจได้ไปต่อในทศวรรษ 2020 ที่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปี 2563 ค่อนข้างชัดว่า การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง เป็นกระแสหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในธีม “Stakeholder Capitalism” หรือ ทุนนิยมที่เอื้อต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในระบบเศรษฐกิจ แทนที่จะสนองประโยชน์แก่เจ้าของทุนหรือเฉพาะผู้ถือหุ้นของกิจการอย่างที่ปฏิบัติกันมา
ภายใต้ธีมนี้ กิจการควรที่จะสามารถสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในอันที่จะสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมและยั่งยืน ไม่เพียงแต่การสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งกลุ่มพนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมโดยรวม สามารถผสานประโยชน์ที่แตกต่างของบรรดาผู้มีส่วนได้เสียให้ได้ดีที่สุด และในทิศทางที่เสริมความรุ่งเรืองของบริษัทในระยะยาว
ทั้งนี้ กิจการพึงระลึกว่า องค์กรของตนเป็นมากกว่าหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างความมั่งคั่ง แต่ต้องสามารถคงบทบาทในการมีส่วนเติมเต็มความปรารถนาทางสังคมและผู้คนในระบบสังคมวงกว้าง ทั้งนี้ ผลประกอบการต้องถูกวัดโดยไม่จำกัดเพียงผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น แต่ต้องครอบคลุมถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG)
สอดรับกับธีมที่เกิดขึ้นในระดับองค์กร ที่เน้นคำว่า “Purpose” หรือ ความมุ่งประสงค์ที่องค์กรต้องคำนึงถึงเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจจากนี้ไป ถือเป็นเจตจำนงที่ต้องแสดงให้สาธารณชนได้รับทราบว่า เหตุใดเราจึงยังคงอยู่ (Why do we exist?) หรือธุรกิจเราอยู่เพื่อทำสิ่งใดที่เป็นความมุ่งประสงค์หลัก ใช่การแสวงหากำไรสูงสุดหรือไม่ หรือเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าร่วมให้แก่สังคม และคุณค่าที่กิจการจะส่งมอบมีความสอดคล้องกับสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในองค์กรมากน้อยเพียงใด
ขณะที่ ความเคลื่อนไหวของพัฒนาการด้านความยั่งยืนในระดับสังคม ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบที่กิจการส่งผ่านสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีนี้ ถือเป็นปีเริ่มต้นของทศวรรษ 2020 ที่จะไปสิ้นสุดในปี ค.ศ.2030 องค์กรหลายแห่งจะถือโอกาสนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาตอบโจทย์ที่เป็นผลกระทบจากการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน โดยจะไปบรรจบครบวาระของ SDGs ในปี ค.ศ.2030 (ระยะ 10 ปี) ทำให้ธีมเรื่อง “SDG Impact” จะได้ฤกษ์ก่อตัวขึ้นในปี ค.ศ.2020 นี้
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2563 ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ ในการใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้ประกอบความยั่งยืนให้เกิดขึ้น ในอันที่จะส่งมอบคุณค่าร่วมแก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมโดยรวม
รายงาน 6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship มีความหนา 24 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากประธาน
- สารจากผู้อำนวยการ
- 2020: ปีแห่งการเป็นผู้ประกอบความยั่งยืน
- 6 ทิศทาง CSR ปี 2563
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR ปี 2563: The Year of Sustainpreneurship