สถาบันไทยพัฒน์ เผยแนวโน้มบรรษัทบริบาล (CSR) ปี 51
กระแส ECO มาแรง จับตาธุรกิจตั้งเก้าอี้ CRO ใหม่ ปั้น CSR สมรรถนะสูง
สถาบันไทยพัฒน์ เผยแนวโน้มการทำซีเอสอาร์ ปี 2551 องค์กรธุรกิจเกาะกระแสโลกร้อนผุดกิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมกันเป็นดอกเห็ด ให้จับตาตำแหน่งใหม่โผล่ในองค์กร ในบทบาทของเจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร (Corporate Responsibility Officer: CRO) ชี้องค์กรที่ทำซีเอสอาร์อย่างมีพันธะ (engagement) ต่อสังคม จะขยับมาสร้างสมรรถนะ (performance) ในการทำซีเอสอาร์เพื่อให้วัดผลได้ พร้อมเรียงแถวเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainability report) แก่สังคม ขณะที่ธุรกิจหลายแห่งจะจับมือเป็นพันธมิตรทำซีเอสอาร์ร่วมกัน โดยปีนี้ แรงส่งจากภาครัฐจะเข้มขึ้นกว่าเดิม
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า สถานการณ์ด้านซีเอสอาร์ ในปี 2551 จะยังคงมีความเคลื่อนไหวคึกคักอย่างต่อเนื่องจากแรงส่งในปีที่ผ่านมา พร้อมเผยผลการศึกษาแนวโน้มและพัฒนาการของซีเอสอาร์จากปี 2550 สู่ปี 2551 ไว้ 6 ทิศทาง คือ
ทิศทางที่ 1 : ธุรกิจจะพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม ประเภท “ECO-CONSCIOUS” เพิ่มขึ้น
จากกระแสโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาระดับโลก ทำให้องค์กรธุรกิจที่มีแผนพัฒนากิจกรรม CSR ในปีนี้ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องคน ปรากฏการณ์ที่ธุรกิจค้าปลีกต่างออกมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในการจับจ่ายใช้สอย หรือการปรับรื้อสายการผลิตเครื่องยนต์ที่ตอบสนองต่อการใช้พลังงานทางเลือกในอุตสาหกรรมยานยนต์ สะท้อนให้เห็นถึงกระแสของ CSR ประเภท “ECO-Conscious” ได้เป็นอย่างดี
ทิศทางที่ 2 : บทบาท “CRO” (Corporate Responsibility Officer) จะปรากฏโฉมในผังองค์กร
ปีที่ผ่านมา แต่ละองค์กรธุรกิจได้กำหนดบทบาทในการขับเคลื่อน CSR ให้แก่ส่วนงานในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงาน CSR ของแต่ละองค์กรมีจุดเน้นหนักที่แตกต่างกันตามภารกิจหลักของส่วนงานที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ ในปีนี้ ผังองค์กรของกิจการหลายแห่งจะปรากฏบทบาทของ Corporate Responsibility Officer (CRO) ในชื่อตำแหน่งที่เรียกแตกต่างกัน แต่มีภาระงานเดียวกัน คือ การบูรณาการงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน และสร้างให้เกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ทิศทางที่ 3 : กลยุทธ์ CSR จะพัฒนาจากระดับที่แสดงถึง “พันธะ” สู่ระดับที่มุ่ง “สมรรถนะ”
ปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในลักษณะ Engaged CSR ในปีนี้ ธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในองค์กร จะยกระดับสู่การสร้างสมรรถนะแห่งความรับผิดชอบของกระบวนการ CSR ในลักษณะที่เป็น High Performance CSR ด้วยกระบวนการ CSR ดังกล่าว จะสร้างให้เกิดสมรรถนะในการดำเนินงานด้าน CSR ให้แก่องค์กรอย่างมาก โดยมีฐานจากการสร้างพันธะความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆ
ทิศทางที่ 4 : ธุรกิจจะจับมือร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ “JOINT-RESPONSIBILITY” เพิ่มขึ้น
กิจกรรม CSR ในแบบที่ใช้งบประมาณไม่มากตามสภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ ยังเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ในปีนี้ พัฒนาการของ CSR ที่กลุ่มองค์กรธุรกิจจะร่วมมือกันดำเนินโครงการในลักษณะของการ “ร่วมรับผิดชอบ” (joint-responsibility) จะมีปรากฏให้เห็นมากขึ้น องค์กรธุรกิจบางกลุ่มจะใช้ทรัพยากรร่วมที่มีอยู่ในเครือข่ายสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในนามของกลุ่ม ขณะที่กลุ่มพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ จะจับมือดำเนินกิจกรรม CSR ในแบบร่วมกันรับผิดชอบนี้มากขึ้น
ทิศทางที่ 5 : การเผยแพร่ “SUSTAINABILITY REPORT” เพื่อสื่อสารกับสังคม จะมีมากขึ้น
ในปีนี้ บริษัทที่ทำเรื่อง CSR จะเสาะหาวิธีรายงานผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบของการรายงานผลที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปของ “Sustainability Report” ที่แยกต่างหากจากรายงานประจำปี (annual report) ซึ่งจะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถนำเสนอผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงาน และความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารกับสังคมได้อย่างครบถ้วน
ทิศทางที่ 6 : หน่วยงานของรัฐจะตื่นตัวเปิดมาตรการส่งเสริม CSR กันอย่างกว้างขวาง
ในปีนี้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับการตั้งคณะทำงานหรือกลุ่มงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม CSR ขององค์กรธุรกิจมากขึ้น มาตรการส่งเสริม CSR ในด้านต่างๆ จะถูกประกาศออกมาเป็นระยะๆ เช่น การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) การพัฒนา CSR สำหรับเอสเอ็มอี แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมการจัดทำรายงาน CSR ดังนั้นธุรกิจจึงควรติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการส่งเสริม CSR เหล่านี้ เพื่อการปรับตัวและใช้เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร
ในการแถลงข่าว สถาบันไทยพัฒน์ยังได้จำแนกกิจกรรม CSR ด้วยการใช้ 7 หลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถศึกษาทำความเข้าใจมิติของกิจกรรมซีเอสอาร์ในเชิงลึกและรู้เท่าทันกับกระแสซีเอสอาร์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น 7 เกณฑ์ที่ว่านี้ ได้แก่ การใช้เกณฑ์เรื่องกระบวนการ (process) ในองค์กร เกณฑ์เรื่องเจตนารมณ์ (spirit) แห่งการกระทำ เกณฑ์เรื่องทรัพยากร (resource) ที่ใช้ในการดำเนินงาน เกณฑ์เรื่องผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ที่ได้รับผลกระทบ เกณฑ์เรื่องประเด็น (issue) ปัญหาทางสังคม เกณฑ์เรื่องรูปแบบของกิจกรรม (initiative) ที่ทำ และเกณฑ์เรื่องผลประโยชน์ (benefit) เป็นที่ตั้ง
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้พัฒนาโครงการ CSR ที่สำคัญอีก 2 โครงการ โครงการแรก ได้แก่ การวิจัยและให้คำปรึกษา “การพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์” (Strategic CSR Development) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบคำถามหลักสองประการ ประการแรก คือ มีกิจกรรมใดบ้างที่องค์กรกำลังดำเนินอยู่แล้วนั้นเป็นกิจกรรมซีเอสอาร์ และกิจกรรมที่ว่านั้นจัดเป็นซีเอสอาร์ประเภทใด ประการที่สอง คือ จะมีเครื่องมือหรือวิธีในการวัดผลการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่มีอยู่ได้อย่างไร และจะปรับปรุงให้เสริมกับธุรกิจได้อย่างไร
โครงการที่สอง ได้แก่ การศึกษาและจัดทำ “แผนแม่บทซีเอสอาร์” (CSR Master Plan) ซึ่งเป็นเสมือนพิมพ์เขียวด้านบรรษัทบริบาลของหน่วยงาน เพื่อตอบสนองต่อภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในวิธีการดำเนินธุรกิจที่จำต้องมีองค์ประกอบของซีเอสอาร์ภายในองค์กร และเพื่อให้ส่วนงานต่างๆ ขององค์กรได้มีกรอบในการดำเนินงานด้านบรรษัทบริบาลให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันอย่างมีกลยุทธ์ และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสร้างการรับรู้ในกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนอย่างเป็นเอกภาพ
สถาบันไทยพัฒน์ เผยแนวโน้มการทำซีเอสอาร์ ปี 2551 องค์กรธุรกิจเกาะกระแสโลกร้อนผุดกิจกรรมซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมกันเป็นดอกเห็ด ให้จับตาตำแหน่งใหม่โผล่ในองค์กร ในบทบาทของเจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร (Corporate Responsibility Officer: CRO) ชี้องค์กรที่ทำซีเอสอาร์อย่างมีพันธะ (engagement) ต่อสังคม จะขยับมาสร้างสมรรถนะ (performance) ในการทำซีเอสอาร์เพื่อให้วัดผลได้ พร้อมเรียงแถวเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainability report) แก่สังคม ขณะที่ธุรกิจหลายแห่งจะจับมือเป็นพันธมิตรทำซีเอสอาร์ร่วมกัน โดยปีนี้ แรงส่งจากภาครัฐจะเข้มขึ้นกว่าเดิม
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า สถานการณ์ด้านซีเอสอาร์ ในปี 2551 จะยังคงมีความเคลื่อนไหวคึกคักอย่างต่อเนื่องจากแรงส่งในปีที่ผ่านมา พร้อมเผยผลการศึกษาแนวโน้มและพัฒนาการของซีเอสอาร์จากปี 2550 สู่ปี 2551 ไว้ 6 ทิศทาง คือ
ทิศทางที่ 1 : ธุรกิจจะพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม ประเภท “ECO-CONSCIOUS” เพิ่มขึ้น
จากกระแสโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาระดับโลก ทำให้องค์กรธุรกิจที่มีแผนพัฒนากิจกรรม CSR ในปีนี้ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องคน ปรากฏการณ์ที่ธุรกิจค้าปลีกต่างออกมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในการจับจ่ายใช้สอย หรือการปรับรื้อสายการผลิตเครื่องยนต์ที่ตอบสนองต่อการใช้พลังงานทางเลือกในอุตสาหกรรมยานยนต์ สะท้อนให้เห็นถึงกระแสของ CSR ประเภท “ECO-Conscious” ได้เป็นอย่างดี
ทิศทางที่ 2 : บทบาท “CRO” (Corporate Responsibility Officer) จะปรากฏโฉมในผังองค์กร
ปีที่ผ่านมา แต่ละองค์กรธุรกิจได้กำหนดบทบาทในการขับเคลื่อน CSR ให้แก่ส่วนงานในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงาน CSR ของแต่ละองค์กรมีจุดเน้นหนักที่แตกต่างกันตามภารกิจหลักของส่วนงานที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ ในปีนี้ ผังองค์กรของกิจการหลายแห่งจะปรากฏบทบาทของ Corporate Responsibility Officer (CRO) ในชื่อตำแหน่งที่เรียกแตกต่างกัน แต่มีภาระงานเดียวกัน คือ การบูรณาการงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน และสร้างให้เกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ทิศทางที่ 3 : กลยุทธ์ CSR จะพัฒนาจากระดับที่แสดงถึง “พันธะ” สู่ระดับที่มุ่ง “สมรรถนะ”
ปีที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในลักษณะ Engaged CSR ในปีนี้ ธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในองค์กร จะยกระดับสู่การสร้างสมรรถนะแห่งความรับผิดชอบของกระบวนการ CSR ในลักษณะที่เป็น High Performance CSR ด้วยกระบวนการ CSR ดังกล่าว จะสร้างให้เกิดสมรรถนะในการดำเนินงานด้าน CSR ให้แก่องค์กรอย่างมาก โดยมีฐานจากการสร้างพันธะความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆ
ทิศทางที่ 4 : ธุรกิจจะจับมือร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ “JOINT-RESPONSIBILITY” เพิ่มขึ้น
กิจกรรม CSR ในแบบที่ใช้งบประมาณไม่มากตามสภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ ยังเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ในปีนี้ พัฒนาการของ CSR ที่กลุ่มองค์กรธุรกิจจะร่วมมือกันดำเนินโครงการในลักษณะของการ “ร่วมรับผิดชอบ” (joint-responsibility) จะมีปรากฏให้เห็นมากขึ้น องค์กรธุรกิจบางกลุ่มจะใช้ทรัพยากรร่วมที่มีอยู่ในเครือข่ายสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในนามของกลุ่ม ขณะที่กลุ่มพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ จะจับมือดำเนินกิจกรรม CSR ในแบบร่วมกันรับผิดชอบนี้มากขึ้น
ทิศทางที่ 5 : การเผยแพร่ “SUSTAINABILITY REPORT” เพื่อสื่อสารกับสังคม จะมีมากขึ้น
ในปีนี้ บริษัทที่ทำเรื่อง CSR จะเสาะหาวิธีรายงานผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบของการรายงานผลที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปของ “Sustainability Report” ที่แยกต่างหากจากรายงานประจำปี (annual report) ซึ่งจะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถนำเสนอผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงาน และความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารกับสังคมได้อย่างครบถ้วน
ทิศทางที่ 6 : หน่วยงานของรัฐจะตื่นตัวเปิดมาตรการส่งเสริม CSR กันอย่างกว้างขวาง
ในปีนี้ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับการตั้งคณะทำงานหรือกลุ่มงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม CSR ขององค์กรธุรกิจมากขึ้น มาตรการส่งเสริม CSR ในด้านต่างๆ จะถูกประกาศออกมาเป็นระยะๆ เช่น การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) การพัฒนา CSR สำหรับเอสเอ็มอี แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมการจัดทำรายงาน CSR ดังนั้นธุรกิจจึงควรติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการส่งเสริม CSR เหล่านี้ เพื่อการปรับตัวและใช้เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร
ในการแถลงข่าว สถาบันไทยพัฒน์ยังได้จำแนกกิจกรรม CSR ด้วยการใช้ 7 หลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถศึกษาทำความเข้าใจมิติของกิจกรรมซีเอสอาร์ในเชิงลึกและรู้เท่าทันกับกระแสซีเอสอาร์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น 7 เกณฑ์ที่ว่านี้ ได้แก่ การใช้เกณฑ์เรื่องกระบวนการ (process) ในองค์กร เกณฑ์เรื่องเจตนารมณ์ (spirit) แห่งการกระทำ เกณฑ์เรื่องทรัพยากร (resource) ที่ใช้ในการดำเนินงาน เกณฑ์เรื่องผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ที่ได้รับผลกระทบ เกณฑ์เรื่องประเด็น (issue) ปัญหาทางสังคม เกณฑ์เรื่องรูปแบบของกิจกรรม (initiative) ที่ทำ และเกณฑ์เรื่องผลประโยชน์ (benefit) เป็นที่ตั้ง
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้พัฒนาโครงการ CSR ที่สำคัญอีก 2 โครงการ โครงการแรก ได้แก่ การวิจัยและให้คำปรึกษา “การพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์” (Strategic CSR Development) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบคำถามหลักสองประการ ประการแรก คือ มีกิจกรรมใดบ้างที่องค์กรกำลังดำเนินอยู่แล้วนั้นเป็นกิจกรรมซีเอสอาร์ และกิจกรรมที่ว่านั้นจัดเป็นซีเอสอาร์ประเภทใด ประการที่สอง คือ จะมีเครื่องมือหรือวิธีในการวัดผลการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ที่มีอยู่ได้อย่างไร และจะปรับปรุงให้เสริมกับธุรกิจได้อย่างไร
โครงการที่สอง ได้แก่ การศึกษาและจัดทำ “แผนแม่บทซีเอสอาร์” (CSR Master Plan) ซึ่งเป็นเสมือนพิมพ์เขียวด้านบรรษัทบริบาลของหน่วยงาน เพื่อตอบสนองต่อภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในวิธีการดำเนินธุรกิจที่จำต้องมีองค์ประกอบของซีเอสอาร์ภายในองค์กร และเพื่อให้ส่วนงานต่างๆ ขององค์กรได้มีกรอบในการดำเนินงานด้านบรรษัทบริบาลให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันอย่างมีกลยุทธ์ และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสร้างการรับรู้ในกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนอย่างเป็นเอกภาพ