4 พันธมิตร เปิดมิติใหม่ "CSR Campus"
ดึงธุรกิจทั่วไทยสร้างพลังขับเคลื่อนสังคม
3 บริษัทยักษ์ใหญ่ ผนึกพันธมิตร สถาบันไทยพัฒน์ เปิดมิติใหม่ ปลุกธุรกิจทั่วประเทศตื่นตัว เสริมพลังความรู้ด้าน CSR รับมือกระแสเศรษฐกิจยุคใหม่ ‘ต้องใส่ใจสังคม สิ่งแวดล้อม” ระดมนักวิชาการ ผสานกรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมจาก 3 องค์กรธุรกิจ “แคทเทเลคอม ดีแทค โตโยต้า” โรดโชว์ ติวเข้ม 75 จังหวัดทั่วไทย
บริษัทเอกชน 3 ราย ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ สถาบันไทยพัฒน์ เปิดโครงการเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) ทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ หน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR ในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยถึงการก่อตั้งโครงการ “CSR campus” ว่ามีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับความรู้ด้าน “บรรษัทบริบาล” (Corporate Social Responsibility – CSR) ในประเทศไทย ด้วยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสถาบันไทยพัฒน์จะเป็นผู้จัดเตรียมวิทยากรและหลักสูตรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ CSR ที่ถูกต้องและเจาะลึก
ขณะเดียวกัน CSR Campus ยังจะเป็นก้าวแรกของการสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่างๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ CSR และรวบรวมเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น สำหรับใช้ในการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของการทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้าน CSR ในประเทศไทย
การผนึกพันธมิตรทั้ง 4 ราย ดังกล่าว นับเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย จากการเล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง CSR ที่แทบทุกองค์กรธุรกิจในขณะนี้ มีความตื่นตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจหน้าใหม่ที่เริ่มพัฒนากิจกรรม CSR ด้วยการลองผิดลองถูก ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง จึงทำให้ยังขาดทิศทางที่แน่ชัดว่า กิจกรรม CSR หลักๆ ที่องค์กรควรทำ คืออะไร และที่ไม่ควรทำ คืออะไร
ขณะที่ แหล่งความรู้ด้าน CSR มักจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้ประกอบการในภูมิภาคขาดซึ่งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ CSR เพื่อใช้พัฒนาศักยภาพทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมหรือค้นหาแนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ขณะเดียวกัน องค์กรธุรกิจในต่างจังหวัดรวมถึงองค์กรธุรกิจซึ่งมีสาขาอยู่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศที่มีความต้องการให้พนักงานของตนเรียนรู้เรื่อง CSR กันอย่างทั่วถึง ก็ต้องประสบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงเพื่อให้พนักงานเข้ามารับการอบรมในสำนักงานใหญ่หรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพฯ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะต้องแทรกอยู่ในการทำหน้าที่ (function) ของพนักงานทุกระดับในองค์กร ตั้งแต่ผู้นำสูงสุดหรือ CEO ไปจนกระทั่งถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุดทั้งในสำนักงานใหญ่และในสำนักงานสาขาทุกแห่ง
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า รูปแบบกิจกรรมในโครงการนี้ เป็นการฝึกอบรมโดยมีวิทยากรเป็นผู้บรรยาย ร่วมกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) พร้อมกรณีศึกษา ใช้เวลา 6 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรม 1 ครั้งในแต่ละจังหวัด รวม 75 จังหวัด โดยที่ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในแต่ละจังหวัดสามารถติดตามตารางเวลาการอบรมและสมัครเข้าร่วมอบรมได้ทางเว็บไซต์ csrcampus.com และตามสถานที่รับสมัครในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าทางสื่อต่างๆ ต่อไป
การอบรมจะไม่เป็นเพียงการบรรยายความรู้ด้านวิชาการ หากแต่จะมีการนำกิจกรรม CSR ที่ดีๆ ในประเทศมานำเสนอเป็นตัวอย่าง รวมทั้งการร่วมออกแบบและพัฒนากิจกรรม CSR ที่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดนั้นๆ อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้ซึมซับ รู้ลึกเกี่ยวกับ CSR เชิงปฏิบัติ สามารถนำไปพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมเชิงกลยุทธ์ต่อไปได้” ดร.พิพัฒน์ กล่าว
ทางด้าน คุณสมพล จันทร์ประเสริฐ ประธานคณะทำงานโครงการ CSR แคท เทเลคอม กล่าวว่า “เริ่มต้นของการเป็นพลเมืองดีของสังคม แคท เทเลคอม ได้จัดทำโครงการสร้าง DNA สำนึกต่อสังคม เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่พนักงานในเรื่องการพัฒนา CSR ออกสู่ภายนอก เพราะเชื่อว่า พนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นผู้มีองค์ความรู้ในเรื่องการทำงาน การนำนวัตกรรมมาพัฒนางาน และถ้าพนักงานมีความเข้าใจในเรื่อง CSR ก็จะทำให้จิตสำนึกของการทำความดีเกิดขึ้นในทุกกระบวนการทำงานของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อน CSR เพื่อให้สังคมและองค์กรมีความยั่งยืนเป็นจริงได้ CSR Campus จึงเป็นโครงการที่สามารถสานต่อกับกิจกรรมที่ แคท เทเลคอม ดำเนินการโดย มุ่งเน้นการสร้างปัญญา ในการทำ CSR ให้ยั่งยืน”
ด้าน คุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการฝ่าย CSR ดีแทค จะนำแนวทางของโครงการทำดีทุกวัน ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมทำดีด้วยเทคโนโลยี ทำดีด้วยความรู้ และทำดีด้วยใจ มาเสนอเป็นกรณีตัวอย่างใน CSR Campus นี้ด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการประสานงานระหว่างดีแทค สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station และมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ด้วยหลักทำความดีเพื่อความสุขที่ยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมของโครงการสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งสนับสนุนโดยดีแทค ก็จะนำมาเป็นกรณีศึกษาวิเคราะห์ด้าน CSR ที่มีต่อการเสริมสร้างสังคมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทางด้านบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยคุณศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการใหญ่ อาวุโส กล่าวถึงโครงการ CSR Campus ครั้งนี้ว่า “บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในภาคีที่ได้ร่วมขับเคลื่อนสิ่งดีๆ สู่สังคมไทยในครั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญ ร่วมกันพัฒนาการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นหลัก ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมไทยของเราให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน CSR ในโครงการนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่องค์กรภาคเอกชนมาร่วมสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือในการให้การศึกษาด้าน CSR ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งโตโยต้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ จะยังประโยชน์ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ตลอดจนองค์กรต่างๆ ส่วนงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาจารย์ และนักศึกษาทั่วประเทศ เพื่อจะได้นำความรู้มาปรับใช้ในแต่ละชุมชนอย่างเหมาะสม มีการร่วมพัฒนาชุมชนของตนอย่างเป็นระบบ และจะเป็นส่วนช่วยก่อให้เกิดความสามัคคีและเสริมสร้างความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของแต่ละชุมชนและต่อสังคมไทยโดยรวมของเราอย่างยั่งยืนในที่สุด”
สำหรับกำหนดการเดินสายอบรมในโครงการ CSR Campus จะเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 เมษายน ที่ฉะเชิงเทรา ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น 5 เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา, วันจันทร์ที่ 28 เมษายน ที่สมุทรปราการ ณ ห้อง เดอะบอลรูม 2 โรงแรม เดอะคัลเลอร์ ลิฟวิ่ง, วันอังคารที่ 29 เมษายน ที่นครนายก ณ ห้องพิงผา ศูนย์สัมมนา วังรี รีสอร์ท, วันพุธที่ 30 เมษายน ที่ปราจีนบุรี ณ ห้องทับลาน โรงแรมโซเฟีย และวันพฤหัสที่ 1 พฤษภาคม ที่สระแก้ว ณ ห้อง เลอวิมาน โรงแรมทิพปุระ
ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการถักทอเครือข่าย “Thai CSR” ซึ่งมีโมเดลที่สอดคล้องกับภูมิสังคมแล้ว กิจกรรม CSR ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากห้องอบรมในแต่ละจังหวัด ยังสามารถใช้เป็นกรณีศึกษา CSR ท้องถิ่นในเวทีระดับชาติอีกด้วย และที่สำคัญ ผลผลิตที่เป็นผู้ผ่านการอบรมจากโครงการ จะมีโอกาสพัฒนาจนเป็น CSR AGENT กระจายอยู่ในทุกจังหวัด รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
สำนักประสานงานโครงการ CSR Campus
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
อีเมล info@csrcampus.com
บริษัทเอกชน 3 ราย ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ สถาบันไทยพัฒน์ เปิดโครงการเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) ทั่วประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ หน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR ในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยถึงการก่อตั้งโครงการ “CSR campus” ว่ามีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับความรู้ด้าน “บรรษัทบริบาล” (Corporate Social Responsibility – CSR) ในประเทศไทย ด้วยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ โดยสถาบันไทยพัฒน์จะเป็นผู้จัดเตรียมวิทยากรและหลักสูตรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ CSR ที่ถูกต้องและเจาะลึก
ขณะเดียวกัน CSR Campus ยังจะเป็นก้าวแรกของการสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่างๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ CSR และรวบรวมเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น สำหรับใช้ในการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของการทำงานในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้าน CSR ในประเทศไทย
การผนึกพันธมิตรทั้ง 4 ราย ดังกล่าว นับเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย จากการเล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง CSR ที่แทบทุกองค์กรธุรกิจในขณะนี้ มีความตื่นตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจหน้าใหม่ที่เริ่มพัฒนากิจกรรม CSR ด้วยการลองผิดลองถูก ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง จึงทำให้ยังขาดทิศทางที่แน่ชัดว่า กิจกรรม CSR หลักๆ ที่องค์กรควรทำ คืออะไร และที่ไม่ควรทำ คืออะไร
ขณะที่ แหล่งความรู้ด้าน CSR มักจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้ประกอบการในภูมิภาคขาดซึ่งโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ CSR เพื่อใช้พัฒนาศักยภาพทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมหรือค้นหาแนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ขณะเดียวกัน องค์กรธุรกิจในต่างจังหวัดรวมถึงองค์กรธุรกิจซึ่งมีสาขาอยู่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศที่มีความต้องการให้พนักงานของตนเรียนรู้เรื่อง CSR กันอย่างทั่วถึง ก็ต้องประสบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงเพื่อให้พนักงานเข้ามารับการอบรมในสำนักงานใหญ่หรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพฯ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะต้องแทรกอยู่ในการทำหน้าที่ (function) ของพนักงานทุกระดับในองค์กร ตั้งแต่ผู้นำสูงสุดหรือ CEO ไปจนกระทั่งถึงผู้ปฏิบัติงานระดับล่างสุดทั้งในสำนักงานใหญ่และในสำนักงานสาขาทุกแห่ง
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า รูปแบบกิจกรรมในโครงการนี้ เป็นการฝึกอบรมโดยมีวิทยากรเป็นผู้บรรยาย ร่วมกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) พร้อมกรณีศึกษา ใช้เวลา 6 ชั่วโมงต่อการฝึกอบรม 1 ครั้งในแต่ละจังหวัด รวม 75 จังหวัด โดยที่ผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในแต่ละจังหวัดสามารถติดตามตารางเวลาการอบรมและสมัครเข้าร่วมอบรมได้ทางเว็บไซต์ csrcampus.com และตามสถานที่รับสมัครในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าทางสื่อต่างๆ ต่อไป
การอบรมจะไม่เป็นเพียงการบรรยายความรู้ด้านวิชาการ หากแต่จะมีการนำกิจกรรม CSR ที่ดีๆ ในประเทศมานำเสนอเป็นตัวอย่าง รวมทั้งการร่วมออกแบบและพัฒนากิจกรรม CSR ที่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดนั้นๆ อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้ซึมซับ รู้ลึกเกี่ยวกับ CSR เชิงปฏิบัติ สามารถนำไปพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมเชิงกลยุทธ์ต่อไปได้” ดร.พิพัฒน์ กล่าว
ทางด้าน คุณสมพล จันทร์ประเสริฐ ประธานคณะทำงานโครงการ CSR แคท เทเลคอม กล่าวว่า “เริ่มต้นของการเป็นพลเมืองดีของสังคม แคท เทเลคอม ได้จัดทำโครงการสร้าง DNA สำนึกต่อสังคม เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่พนักงานในเรื่องการพัฒนา CSR ออกสู่ภายนอก เพราะเชื่อว่า พนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นผู้มีองค์ความรู้ในเรื่องการทำงาน การนำนวัตกรรมมาพัฒนางาน และถ้าพนักงานมีความเข้าใจในเรื่อง CSR ก็จะทำให้จิตสำนึกของการทำความดีเกิดขึ้นในทุกกระบวนการทำงานของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อน CSR เพื่อให้สังคมและองค์กรมีความยั่งยืนเป็นจริงได้ CSR Campus จึงเป็นโครงการที่สามารถสานต่อกับกิจกรรมที่ แคท เทเลคอม ดำเนินการโดย มุ่งเน้นการสร้างปัญญา ในการทำ CSR ให้ยั่งยืน”
ด้าน คุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการฝ่าย CSR ดีแทค จะนำแนวทางของโครงการทำดีทุกวัน ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมทำดีด้วยเทคโนโลยี ทำดีด้วยความรู้ และทำดีด้วยใจ มาเสนอเป็นกรณีตัวอย่างใน CSR Campus นี้ด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการประสานงานระหว่างดีแทค สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน Happy Station และมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ด้วยหลักทำความดีเพื่อความสุขที่ยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมของโครงการสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งสนับสนุนโดยดีแทค ก็จะนำมาเป็นกรณีศึกษาวิเคราะห์ด้าน CSR ที่มีต่อการเสริมสร้างสังคมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทางด้านบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยคุณศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการใหญ่ อาวุโส กล่าวถึงโครงการ CSR Campus ครั้งนี้ว่า “บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในภาคีที่ได้ร่วมขับเคลื่อนสิ่งดีๆ สู่สังคมไทยในครั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญ ร่วมกันพัฒนาการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นหลัก ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมไทยของเราให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน CSR ในโครงการนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่องค์กรภาคเอกชนมาร่วมสร้างเครือข่ายและบูรณาการความร่วมมือในการให้การศึกษาด้าน CSR ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งโตโยต้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ จะยังประโยชน์ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ตลอดจนองค์กรต่างๆ ส่วนงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาจารย์ และนักศึกษาทั่วประเทศ เพื่อจะได้นำความรู้มาปรับใช้ในแต่ละชุมชนอย่างเหมาะสม มีการร่วมพัฒนาชุมชนของตนอย่างเป็นระบบ และจะเป็นส่วนช่วยก่อให้เกิดความสามัคคีและเสริมสร้างความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของแต่ละชุมชนและต่อสังคมไทยโดยรวมของเราอย่างยั่งยืนในที่สุด”
สำหรับกำหนดการเดินสายอบรมในโครงการ CSR Campus จะเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 เมษายน ที่ฉะเชิงเทรา ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล ชั้น 5 เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา, วันจันทร์ที่ 28 เมษายน ที่สมุทรปราการ ณ ห้อง เดอะบอลรูม 2 โรงแรม เดอะคัลเลอร์ ลิฟวิ่ง, วันอังคารที่ 29 เมษายน ที่นครนายก ณ ห้องพิงผา ศูนย์สัมมนา วังรี รีสอร์ท, วันพุธที่ 30 เมษายน ที่ปราจีนบุรี ณ ห้องทับลาน โรงแรมโซเฟีย และวันพฤหัสที่ 1 พฤษภาคม ที่สระแก้ว ณ ห้อง เลอวิมาน โรงแรมทิพปุระ
ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการถักทอเครือข่าย “Thai CSR” ซึ่งมีโมเดลที่สอดคล้องกับภูมิสังคมแล้ว กิจกรรม CSR ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากห้องอบรมในแต่ละจังหวัด ยังสามารถใช้เป็นกรณีศึกษา CSR ท้องถิ่นในเวทีระดับชาติอีกด้วย และที่สำคัญ ผลผลิตที่เป็นผู้ผ่านการอบรมจากโครงการ จะมีโอกาสพัฒนาจนเป็น CSR AGENT กระจายอยู่ในทุกจังหวัด รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
สำนักประสานงานโครงการ CSR Campus
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
อีเมล info@csrcampus.com