เปิดโมเดลนำร่อง CSR Campus 7 จังหวัดอีสาน
สร้างเน็ตเวอร์คธุรกิจ-ประชาสังคมแดนดอกคูน
ซีเอสอาร์ หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) กำลังได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เนื่องจากไม่เพียงแต่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับโครงการซีเอสอาร์ ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในจังหวัดเล็กใหญ่ทั่วไทยก็กำลังให้ความสนใจหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับซีเอสอาร์เช่นกัน
โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค หรือ CSR Campus ซึ่งสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บจม. กสท โทรคมนาคม บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) และบจ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย นำทีมนักวิชาการไปเปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับนักธุรกิจและประชาสังคมภาคอีสาน ในกลุ่มแรก เมื่อปลายพฤษภาคมที่ผ่านมารวม 7 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ สกลนคร มหาสารคาม นครพนม และร้อยเอ็ด พบปรากฎการณ์ที่น่าสนใจและก่อประโยชน์ต่อการสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจกับประชาสังคม เพื่อร่วมกันดูแลสังคมแห่งดินแดนดอกคูน
เมืองปราสาทหินบุรีรัมย์ มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์
สำหรับ ภาพรวมการอบรมและเสวนาเชิงปฏิบัติการ CSR Campus ที่บุรีรัมย์ มีผู้นำเสนอกิจกรรม CSR ขององค์กรเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหลายเรื่อง แต่แนวทาง CSR ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่เห็นร่วมกัน คือ โครงการเกษตรอินทรีย์ บุรีรัมย์นำชีวิตยืนยาวข้าวไทย โดยโครงการยกจุดเด่นของจังหวัดที่เคยมีชื่อเสียงด้านการทำเกษตรอินทรีย์ให้กลับมาได้รับความนิยม ด้วยกระบวนการจัดตั้งกลุ่มนำร่องในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบครบวงจรให้ทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัด เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมแนะนำให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยบางส่วน มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และดูแลทางด้านการตลาดให้มีกลุ่มรับซื้อและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน กรมวิชาการเกษตร รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป มุ่งหวังที่จะให้มีความปลอดภัยในการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
เมืองช้างร่วมชูโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก
ส่วนเมืองช้าง จ.สุรินทร์นั้น การระดมสมองเพื่อค้นหาแนวทาง CSR ของจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏว่าโครงการที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก ที่ยกเรื่องอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีรสชาติดี และข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงเป็นจุดเด่น โดยอาศัยการรวมพลังของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ในจังหวัดให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน มีการส่งเสริมเชิดชูเกียรติกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนโดยมุ่งหวังที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพให้เกิดความยั่งยืน เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่ม และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับจังหวัดในอีกทางหนึ่ง
กาฬสินธุ์ เสนอโครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก
สำหรับแนวทาง CSR ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างสรรค์ร่วมกันจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ โครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก เนื่องจากจุดเด่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ในเรื่องของผ้าไหมแพรวาที่มีชื่อเสียงและมีการผลิตที่แพร่หลาย ทำให้มีเศษผ้าไหมจำนวนมากถูกทิ้งโดยมิได้ใช้ประโยชน์ โครงการนี้จึงมุ่งส่งเสริมให้มีการนำเศษผ้าดังกล่าวไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่ทำการเรียนการสอนในเรื่องของดอกไม้ประดิษฐ์ พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบไปสอนนักเรียนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและมีความสวยงามในการประดิษฐ์ จากนั้นก็จะรับซื้อและนำไปวางขายเป็นสินค้าโอท็อปประจำชุมชน มุ่งหวังให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้เสริมของครอบครัว เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่ม ตลอดจนรักษาผ้าไหมแพรวาให้คงอยู่คู่เมืองกาฬสินธุ์สืบต่อไป
สกลนคร ขอแนวร่วมเพิ่มความรู้เลี้ยงโคขุน
การสัมมนา CSR Campus ที่ จ.สกลนคร ได้มีการระดมสมองกับผู้ร่วมสัมมนาในหลากหลายวิชาชีพ รวมถึงนักธุรกิจที่มีจิตอาสาเพื่อสังคม ร่วมกันคิดค้นแนวทาง CSR ของจังหวัดสกลนคร ที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการเลี้ยงโคขุนเพื่อเกษตรและชุมชน ที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเลี้ยงโคขุนในรูปแบบของสหกรณ์ รวมกลุ่มกันเป็นสมาชิก จัดหาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้ยืมภายในกลุ่ม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงโคขุน และ ดำเนินการรับซื้อคืนเพื่อจัดจำหน่าย โดยจะเก็บเงินส่วนหนึ่งจากการขายเข้าสู่กองทุนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินกองทุนในกลุ่ม โครงการนี้จะอาศัยความร่วมมือจากกรมปศุสัตว์ สำนักงานเกษตรจังหวัด กลุ่มธุรกิจในเรื่องของการแปรรูปและส่งออกสินค้า ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ช่วยสนับสนุนสินค้าจากชุมชน โดยมุ่งหวังให้ประชากรในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น และเกิดความสามัคคีในกลุ่มและหมู่คณะ
นครพนม ชูท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ CSR ที่เมืองซึ่งขึ้นชื่อว่ามีพระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง จังหวัดนครพนมนั้น ได้มีการระดมสมองเพื่อเสนอแนวทาง CSR ของจังหวัด ได้แก่ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การบูรณะสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาว แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในหลายแห่งในหลายอำเภอ ให้มีความสมบูรณ์และสวยงาม แล้วดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลภายนอกได้รับทราบ จัดให้มีที่พัก ที่สะดวกหาง่าย ราคาไม่แพง และส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการจำหน่ายอาหารปลอดสารพิษในโรงแรมที่พักและแหล่งท่องเที่ยว จัดให้มีการเปิดร้านขายสินค้าโอท็อปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีการควบคุมราคาและคุณภาพให้เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ จะอาศัยความร่วมมือจากนักธุรกิจ ชุมชน และหน่วยราชการในการบูรณะและการประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาเมืองนครพนมให้มีชุมชนที่เข้มแข็งและสังคมที่น่าอยู่ รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
3 โครงการ CSR จากร้อยเอ็ด
คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดสัมมนา เผยแพร่ความรู้ CSR ที่ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมเปิดเวทีระดมความคิด เพื่อค้นหาแนวทาง CSR ของจังหวัด โดยมีอยู่ถึง 3 กลุ่มกิจกรรมที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ โครงการท่องเที่ยวทุ่งกุลา กินปลาเผา เล่าตำนานอาณาจักรเจนละ ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน เพื่อมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในท้องถิ่น โครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่เน้นการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อรักษาสุขภาพอนามัยของตัวเกษตรกรเอง โดยจะอาศัยเกษตรจังหวัดเป็นผู้นำและมีการสนับสนุนโครงการโดยภาคเอกชน และโครงการลดโลกร้อนด้วยตัวคุณ ที่เน้นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้คนในครอบครัวและองค์กรคัดแยกขยะที่สามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินโครงการ เพื่อมุ่งหวังที่จะลดปริมาณขยะและสร้างเป็นรายได้เสริมในอีกทางหนึ่ง
“อารยธรรมสร้างสุข” CSR เมืองตักศิลา
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ CSR สู่อีสาน ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มแรก ได้มาสิ้นสุดลงที่มหาสารคามดินแดนพุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร มีการเปิดเวทีระดมสมองเพื่อค้นหาธีม CSR เพื่อนำไปสูการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ ปรากฏว่าโครงการที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ โครงการอารยธรรมสร้างสุข ที่จะระดมอาสาสมัครซึ่งมีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรม มาส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ด้วยการจัดค่ายธรรมะแก่เยาวชนและประชาชนที่สนใจ โดยอาศัยความร่วมมือจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมสลับกับการฝึกปฏิบัติธรรม ขณะที่ส่วนงานราชการจะสนับสนุนในเรื่องของสถานที่ และภาคธุรกิจจะสนับสนุนในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังที่จะให้เยาวชนและประชาชนได้รับการฝึกฝนกล่อมเกลาจิตใจ เพื่อยกระดับให้ชาวจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองแห่งความสุข
เดินหน้าอีก 12 จังหวัดอีสาน มิ.ย. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ในอีก 12 จังหวัดอีสานที่เหลือ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ ณ ห้องศรีรัตนะ โรงแรมเกษสิริ และจ.ชัยภูมิ ณ ห้องไพลิน โรงแรมเลิศนิมิตร ในวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน จ.อุบลราชธานี ณ ห้องราชพฤกษ์ A โรงแรมลายทอง และจ.เลย ณ ห้องฟ้ามุ้ย โรงแรมเลยออร์คิด ในวันอังคารที่ 10 มิถุนายน จ.อำนาจเจริญ ณ ห้องฝ้ายขิด โรงแรมฝ้ายขิด และจ.หนองบัวลำภู ณ ห้องชวนพิศแกรนด์ โรงแรมณัฐพงษ์แกรนด์ ในวันพุธที่ 11 มิถุนายน จ.มุกดาหาร ณ ห้องสร้อยสุวรรณา โรงแรมมุกดาหารแกรนด์ และจ.หนองคาย ณ ห้องเพียงใจ โรงแรมหนองคายแกรนด์ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน จ.ยโสธร ณ ห้องไพลิน โรงแรมเจ.พี.เอ็มเมอรัลด์ และจ.อุดรธานี ณ ห้องเจริญศรี 5 โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ ในวันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน จ.นครราชสีมา ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน
ทั้งนี้ กองคาราวาน CSR Campus จะมาจัดงานสัมมนาใหญ่ปิดภารกิจการเดินสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.ขอนแก่น ณ ห้องศรีจันทร์ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส ในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน โดยจะมีการนำเอาบทสรุปทั้ง 19 จังหวัดอีสาน มารายงานต่อที่ประชุมสัมมนานี้ สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
สำนักประสานงานโครงการ CSR Campus
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
อีเมล info@csrcampus.com
ซีเอสอาร์ หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) กำลังได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เนื่องจากไม่เพียงแต่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับโครงการซีเอสอาร์ ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในจังหวัดเล็กใหญ่ทั่วไทยก็กำลังให้ความสนใจหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับซีเอสอาร์เช่นกัน
โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค หรือ CSR Campus ซึ่งสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บจม. กสท โทรคมนาคม บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) และบจ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย นำทีมนักวิชาการไปเปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับนักธุรกิจและประชาสังคมภาคอีสาน ในกลุ่มแรก เมื่อปลายพฤษภาคมที่ผ่านมารวม 7 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ สกลนคร มหาสารคาม นครพนม และร้อยเอ็ด พบปรากฎการณ์ที่น่าสนใจและก่อประโยชน์ต่อการสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจกับประชาสังคม เพื่อร่วมกันดูแลสังคมแห่งดินแดนดอกคูน
เมืองปราสาทหินบุรีรัมย์ มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์
สำหรับ ภาพรวมการอบรมและเสวนาเชิงปฏิบัติการ CSR Campus ที่บุรีรัมย์ มีผู้นำเสนอกิจกรรม CSR ขององค์กรเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหลายเรื่อง แต่แนวทาง CSR ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่เห็นร่วมกัน คือ โครงการเกษตรอินทรีย์ บุรีรัมย์นำชีวิตยืนยาวข้าวไทย โดยโครงการยกจุดเด่นของจังหวัดที่เคยมีชื่อเสียงด้านการทำเกษตรอินทรีย์ให้กลับมาได้รับความนิยม ด้วยกระบวนการจัดตั้งกลุ่มนำร่องในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบครบวงจรให้ทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัด เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมแนะนำให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยบางส่วน มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และดูแลทางด้านการตลาดให้มีกลุ่มรับซื้อและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน กรมวิชาการเกษตร รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป มุ่งหวังที่จะให้มีความปลอดภัยในการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
เมืองช้างร่วมชูโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก
ส่วนเมืองช้าง จ.สุรินทร์นั้น การระดมสมองเพื่อค้นหาแนวทาง CSR ของจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏว่าโครงการที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก ที่ยกเรื่องอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีรสชาติดี และข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงเป็นจุดเด่น โดยอาศัยการรวมพลังของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ในจังหวัดให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน มีการส่งเสริมเชิดชูเกียรติกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนโดยมุ่งหวังที่จะให้มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการประกอบอาชีพให้เกิดความยั่งยืน เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่ม และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้กับจังหวัดในอีกทางหนึ่ง
กาฬสินธุ์ เสนอโครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก
สำหรับแนวทาง CSR ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างสรรค์ร่วมกันจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ โครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก เนื่องจากจุดเด่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ในเรื่องของผ้าไหมแพรวาที่มีชื่อเสียงและมีการผลิตที่แพร่หลาย ทำให้มีเศษผ้าไหมจำนวนมากถูกทิ้งโดยมิได้ใช้ประโยชน์ โครงการนี้จึงมุ่งส่งเสริมให้มีการนำเศษผ้าดังกล่าวไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่ทำการเรียนการสอนในเรื่องของดอกไม้ประดิษฐ์ พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบไปสอนนักเรียนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและมีความสวยงามในการประดิษฐ์ จากนั้นก็จะรับซื้อและนำไปวางขายเป็นสินค้าโอท็อปประจำชุมชน มุ่งหวังให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้เสริมของครอบครัว เกิดความรักความสามัคคีในกลุ่ม ตลอดจนรักษาผ้าไหมแพรวาให้คงอยู่คู่เมืองกาฬสินธุ์สืบต่อไป
สกลนคร ขอแนวร่วมเพิ่มความรู้เลี้ยงโคขุน
การสัมมนา CSR Campus ที่ จ.สกลนคร ได้มีการระดมสมองกับผู้ร่วมสัมมนาในหลากหลายวิชาชีพ รวมถึงนักธุรกิจที่มีจิตอาสาเพื่อสังคม ร่วมกันคิดค้นแนวทาง CSR ของจังหวัดสกลนคร ที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการเลี้ยงโคขุนเพื่อเกษตรและชุมชน ที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเลี้ยงโคขุนในรูปแบบของสหกรณ์ รวมกลุ่มกันเป็นสมาชิก จัดหาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้ยืมภายในกลุ่ม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงโคขุน และ ดำเนินการรับซื้อคืนเพื่อจัดจำหน่าย โดยจะเก็บเงินส่วนหนึ่งจากการขายเข้าสู่กองทุนเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินกองทุนในกลุ่ม โครงการนี้จะอาศัยความร่วมมือจากกรมปศุสัตว์ สำนักงานเกษตรจังหวัด กลุ่มธุรกิจในเรื่องของการแปรรูปและส่งออกสินค้า ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ช่วยสนับสนุนสินค้าจากชุมชน โดยมุ่งหวังให้ประชากรในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น และเกิดความสามัคคีในกลุ่มและหมู่คณะ
นครพนม ชูท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ CSR ที่เมืองซึ่งขึ้นชื่อว่ามีพระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง จังหวัดนครพนมนั้น ได้มีการระดมสมองเพื่อเสนอแนวทาง CSR ของจังหวัด ได้แก่ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การบูรณะสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาว แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในหลายแห่งในหลายอำเภอ ให้มีความสมบูรณ์และสวยงาม แล้วดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลภายนอกได้รับทราบ จัดให้มีที่พัก ที่สะดวกหาง่าย ราคาไม่แพง และส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการจำหน่ายอาหารปลอดสารพิษในโรงแรมที่พักและแหล่งท่องเที่ยว จัดให้มีการเปิดร้านขายสินค้าโอท็อปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีการควบคุมราคาและคุณภาพให้เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ จะอาศัยความร่วมมือจากนักธุรกิจ ชุมชน และหน่วยราชการในการบูรณะและการประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อมุ่งหวังที่จะพัฒนาเมืองนครพนมให้มีชุมชนที่เข้มแข็งและสังคมที่น่าอยู่ รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
3 โครงการ CSR จากร้อยเอ็ด
คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดสัมมนา เผยแพร่ความรู้ CSR ที่ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมเปิดเวทีระดมความคิด เพื่อค้นหาแนวทาง CSR ของจังหวัด โดยมีอยู่ถึง 3 กลุ่มกิจกรรมที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ โครงการท่องเที่ยวทุ่งกุลา กินปลาเผา เล่าตำนานอาณาจักรเจนละ ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน เพื่อมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในท้องถิ่น โครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่เน้นการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อรักษาสุขภาพอนามัยของตัวเกษตรกรเอง โดยจะอาศัยเกษตรจังหวัดเป็นผู้นำและมีการสนับสนุนโครงการโดยภาคเอกชน และโครงการลดโลกร้อนด้วยตัวคุณ ที่เน้นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้คนในครอบครัวและองค์กรคัดแยกขยะที่สามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินโครงการ เพื่อมุ่งหวังที่จะลดปริมาณขยะและสร้างเป็นรายได้เสริมในอีกทางหนึ่ง
“อารยธรรมสร้างสุข” CSR เมืองตักศิลา
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ CSR สู่อีสาน ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มแรก ได้มาสิ้นสุดลงที่มหาสารคามดินแดนพุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร มีการเปิดเวทีระดมสมองเพื่อค้นหาธีม CSR เพื่อนำไปสูการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ ปรากฏว่าโครงการที่ได้รับคัดเลือก ได้แก่ โครงการอารยธรรมสร้างสุข ที่จะระดมอาสาสมัครซึ่งมีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรม มาส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ด้วยการจัดค่ายธรรมะแก่เยาวชนและประชาชนที่สนใจ โดยอาศัยความร่วมมือจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมสลับกับการฝึกปฏิบัติธรรม ขณะที่ส่วนงานราชการจะสนับสนุนในเรื่องของสถานที่ และภาคธุรกิจจะสนับสนุนในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งหวังที่จะให้เยาวชนและประชาชนได้รับการฝึกฝนกล่อมเกลาจิตใจ เพื่อยกระดับให้ชาวจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองแห่งความสุข
เดินหน้าอีก 12 จังหวัดอีสาน มิ.ย. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ในอีก 12 จังหวัดอีสานที่เหลือ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ ณ ห้องศรีรัตนะ โรงแรมเกษสิริ และจ.ชัยภูมิ ณ ห้องไพลิน โรงแรมเลิศนิมิตร ในวันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน จ.อุบลราชธานี ณ ห้องราชพฤกษ์ A โรงแรมลายทอง และจ.เลย ณ ห้องฟ้ามุ้ย โรงแรมเลยออร์คิด ในวันอังคารที่ 10 มิถุนายน จ.อำนาจเจริญ ณ ห้องฝ้ายขิด โรงแรมฝ้ายขิด และจ.หนองบัวลำภู ณ ห้องชวนพิศแกรนด์ โรงแรมณัฐพงษ์แกรนด์ ในวันพุธที่ 11 มิถุนายน จ.มุกดาหาร ณ ห้องสร้อยสุวรรณา โรงแรมมุกดาหารแกรนด์ และจ.หนองคาย ณ ห้องเพียงใจ โรงแรมหนองคายแกรนด์ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน จ.ยโสธร ณ ห้องไพลิน โรงแรมเจ.พี.เอ็มเมอรัลด์ และจ.อุดรธานี ณ ห้องเจริญศรี 5 โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ ในวันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน จ.นครราชสีมา ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน
ทั้งนี้ กองคาราวาน CSR Campus จะมาจัดงานสัมมนาใหญ่ปิดภารกิจการเดินสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.ขอนแก่น ณ ห้องศรีจันทร์ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส ในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน โดยจะมีการนำเอาบทสรุปทั้ง 19 จังหวัดอีสาน มารายงานต่อที่ประชุมสัมมนานี้ สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
สำนักประสานงานโครงการ CSR Campus
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
อีเมล info@csrcampus.com