โรดโชว์ CSR Campus
ปลุกกระแส ความรับผิดชอบธุรกิจภาคอีสาน
หลังจากเปิดตัวโครงการ CSR Campus ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิพัฒนาชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีภาคเอกชนอย่าง กสทฯ ดีแทค และโตโยต้า ในการกระจายความรู้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ออกสู่ภูมิภาค และสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายในการเดินสายโรดโชว์ให้ความรู้ทั่วประเทศภายในปลายปี 2551 นี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งถือเป็นจังหวัดสุดท้ายในการเยือนพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
โดยโครงการได้เลือกพื้นที่ใน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคแรกในการเดินสายครั้งนี้ โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาถือเป็นการปิดฉากการเดินสายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลจากการสัมมนาทั้ง 19 จังหวัด พบว่า นอกจากความตื่นตัวของธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับแนวคิด CSR ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็กในระดับภูมิภาคแล้ว ในแต่ละจังหวัดยังมีการระดมสมองเพื่อหาประเด็นทางสังคม ซึ่งจะกลายเป็นยุทธศาสตร์ CSR ในระดับจังหวัด ซึ่งเป็นการต่อยอดแผนพัฒนาจังหวัดส่วนใหญ่จะมองแต่เพียงมิติเศรษฐกิจ แต่การระดมสมองครั้งนี้จะเป็นผนวกรวมมิติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดมีความยั่งยืนขึ้น ขณะเดียวกันยังเชื่อว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นคนให้สนใจเรื่อง CSR
อย่างที่ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า "ภาคธุรกิจให้ความสนใจมาก ทุกจังหวัดคนไม่มั่นใจเหมือนกันหมด แต่มาร่วมด้วยความอยากรู้ว่าซีเอสอาร์คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับตัวเองหรือไม่ พอหลังจากที่ฟังการบรรยายจบจะรู้ว่าเวลาที่ทำซีเอสอาร์จะสื่อสารอย่างไร ทุกคนจะรู้สึกว่าซีเอสอาร์ไม่ใช่ภาระหรือเรื่องใหม่ที่ต้องทำ แต่เป็นสิ่งที่เดิมเขาทำอยู่ การระดมสมองเป็นวิธีที่ดีที่สุดให้คนดึงศักยภาพของตนเองออกมา อาจจะยังไม่ครอบคลุมนัก แต่อย่างน้อยก็สะท้อนปัญหาและมีความคิดที่อยากจะแก้ไขปัญหาเพื่อส่วนรวม น่าจะเป็นซีเอสอาร์ที่เหมาะกับพื้นที่จริงๆ ไม่ต้องนำหลักการจากต่างประเทศเข้ามา เชื่อว่าคนที่เข้ามามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สามารถกลับไปขยายผลต่อได้ และมีความรู้ความเข้าใจซีเอสอาร์อย่างถูกต้อง"
กิจกรรมทุกจังหวัดคิดขึ้นมาจะมาจากความคิดของเขา ซึ่งเป็นกระบวนการของการสร้างความมีส่วนร่วมแบบหนึ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน โดยให้เริ่มจากตนเองก่อน อาจจะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว แต่คำว่าซีเอสอาร์เป็นการกระตุ้นให้คนอยากรู้ว่าคืออะไร และจะทำให้ซีเอสอาร์สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ที่ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในการทำ โครงการนี้
ดร.พิพัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า จะเห็นว่าประเด็นหลักที่ได้อันดับหนึ่งจะเหมือนกันหมดในทุกกลุ่มจังหวัด คือการร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการศึกษาซึ่งยังถือเป็นจุดอ่อนของการพัฒนาจังหวัดในภาคอีสาน ประเด็นต่อมาคือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่พยายามรื้อฟื้นขึ้นมาพูดกัน เพราะทุกภาคส่วนเริ่มเห็นความสำคัญของความเสียหายจากการประกอบการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการพยายามท่องเที่ยวที่พบว่าเป็นจุดเด่นหนึ่งของภาคอีสาน พอเอาเรื่อง ซีเอสอาร์ไปจับในหลายจังหวัดก็พยายามทำเรื่องซีเอสอาร์โดยใช้การท่องเที่ยวนำ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เขาพยายามผนวกเอาสิ่งที่เป็นของท้องถิ่นเข้ามาเป็นเรื่องซีเอสอาร์
"ในการโรดโชว์ครั้งนี้ผู้ที่เข้ามาร่วมงานมีตั้งแต่หน่วยงานรัฐบาล ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ สมาชิกของหอการค้าไทย และเนื่องจากมองว่ากรอบของการพัฒนาต้องมีภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เป้าหมายที่เชิญจึงมีทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักพลังงานจังหวัด เกษตรจังหวัด การไฟฟ้า การประปา เข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้เกิดการระดมสมองในหลายๆ ด้าน เหมือนเป็นข้อเสนอของเวทีประชาชนที่จะเสนอเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดที่สามารถผลักดันให้กลายเป็นวาระต่อไปในอนาคต" ดร.พิพัฒน์กล่าวในที่สุด
[Original Link]
หลังจากเปิดตัวโครงการ CSR Campus ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิพัฒนาชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีภาคเอกชนอย่าง กสทฯ ดีแทค และโตโยต้า ในการกระจายความรู้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ออกสู่ภูมิภาค และสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายในการเดินสายโรดโชว์ให้ความรู้ทั่วประเทศภายในปลายปี 2551 นี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งถือเป็นจังหวัดสุดท้ายในการเยือนพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
โดยโครงการได้เลือกพื้นที่ใน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคแรกในการเดินสายครั้งนี้ โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาถือเป็นการปิดฉากการเดินสายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลจากการสัมมนาทั้ง 19 จังหวัด พบว่า นอกจากความตื่นตัวของธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับแนวคิด CSR ซึ่งยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับธุรกิจขนาดกลางและเล็กในระดับภูมิภาคแล้ว ในแต่ละจังหวัดยังมีการระดมสมองเพื่อหาประเด็นทางสังคม ซึ่งจะกลายเป็นยุทธศาสตร์ CSR ในระดับจังหวัด ซึ่งเป็นการต่อยอดแผนพัฒนาจังหวัดส่วนใหญ่จะมองแต่เพียงมิติเศรษฐกิจ แต่การระดมสมองครั้งนี้จะเป็นผนวกรวมมิติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดมีความยั่งยืนขึ้น ขณะเดียวกันยังเชื่อว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นคนให้สนใจเรื่อง CSR
อย่างที่ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า "ภาคธุรกิจให้ความสนใจมาก ทุกจังหวัดคนไม่มั่นใจเหมือนกันหมด แต่มาร่วมด้วยความอยากรู้ว่าซีเอสอาร์คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกับตัวเองหรือไม่ พอหลังจากที่ฟังการบรรยายจบจะรู้ว่าเวลาที่ทำซีเอสอาร์จะสื่อสารอย่างไร ทุกคนจะรู้สึกว่าซีเอสอาร์ไม่ใช่ภาระหรือเรื่องใหม่ที่ต้องทำ แต่เป็นสิ่งที่เดิมเขาทำอยู่ การระดมสมองเป็นวิธีที่ดีที่สุดให้คนดึงศักยภาพของตนเองออกมา อาจจะยังไม่ครอบคลุมนัก แต่อย่างน้อยก็สะท้อนปัญหาและมีความคิดที่อยากจะแก้ไขปัญหาเพื่อส่วนรวม น่าจะเป็นซีเอสอาร์ที่เหมาะกับพื้นที่จริงๆ ไม่ต้องนำหลักการจากต่างประเทศเข้ามา เชื่อว่าคนที่เข้ามามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สามารถกลับไปขยายผลต่อได้ และมีความรู้ความเข้าใจซีเอสอาร์อย่างถูกต้อง"
กิจกรรมทุกจังหวัดคิดขึ้นมาจะมาจากความคิดของเขา ซึ่งเป็นกระบวนการของการสร้างความมีส่วนร่วมแบบหนึ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน โดยให้เริ่มจากตนเองก่อน อาจจะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว แต่คำว่าซีเอสอาร์เป็นการกระตุ้นให้คนอยากรู้ว่าคืออะไร และจะทำให้ซีเอสอาร์สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ที่ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งในการทำ โครงการนี้
ดร.พิพัฒน์ยังกล่าวด้วยว่า จะเห็นว่าประเด็นหลักที่ได้อันดับหนึ่งจะเหมือนกันหมดในทุกกลุ่มจังหวัด คือการร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคม โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการศึกษาซึ่งยังถือเป็นจุดอ่อนของการพัฒนาจังหวัดในภาคอีสาน ประเด็นต่อมาคือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่พยายามรื้อฟื้นขึ้นมาพูดกัน เพราะทุกภาคส่วนเริ่มเห็นความสำคัญของความเสียหายจากการประกอบการ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการพยายามท่องเที่ยวที่พบว่าเป็นจุดเด่นหนึ่งของภาคอีสาน พอเอาเรื่อง ซีเอสอาร์ไปจับในหลายจังหวัดก็พยายามทำเรื่องซีเอสอาร์โดยใช้การท่องเที่ยวนำ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เขาพยายามผนวกเอาสิ่งที่เป็นของท้องถิ่นเข้ามาเป็นเรื่องซีเอสอาร์
"ในการโรดโชว์ครั้งนี้ผู้ที่เข้ามาร่วมงานมีตั้งแต่หน่วยงานรัฐบาล ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ สมาชิกของหอการค้าไทย และเนื่องจากมองว่ากรอบของการพัฒนาต้องมีภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เป้าหมายที่เชิญจึงมีทั้งอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักพลังงานจังหวัด เกษตรจังหวัด การไฟฟ้า การประปา เข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้เกิดการระดมสมองในหลายๆ ด้าน เหมือนเป็นข้อเสนอของเวทีประชาชนที่จะเสนอเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดที่สามารถผลักดันให้กลายเป็นวาระต่อไปในอนาคต" ดร.พิพัฒน์กล่าวในที่สุด
[Original Link]