คลี่ซีเอสอาร์สังคมอีสาน ผ่านโมเดล CSR Campus
เดินหน้าสู่ ‘ล้านนา’ อีก 17 จังหวัด
การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ CSR และส่งเสริมจิตอาสาเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) ซึ่ง บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) บจ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จับมือเดินสายเปิดห้องเรียนให้กับบรรดาเจ้าของกิจการหลากหลายสาขาอาชีพในพื้นที่ นักธุรกิจ พนักงานบริษัทห้างร้าน ธนาคาร รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ปรากฎว่ามีผู้สนใจร่วมเฉียดพันคนในภาคอีสานทั้ง 19 จังหวัด
ผลจากการระดมสมอง CSR ในแต่ละจังหวัดผ่านโมเดล CSR Campus สามารถรวบรวมประเด็น CSR ในสังคมอีสานได้ทั้งสิ้น 5 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่ และการแก้ไขภาวะโลกร้อน
ขอทำเรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์
CSR ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรอินทรีย์มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวัด ได้แก่ “โครงการเกษตรอินทรีย์ บุรีรัมย์นำชีวิตยืนยาวข้าวไทย” ของ จ.บุรีรัมย์ ที่มุ่งหวังให้มีความปลอดภัยในการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น “โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก” ของ จ.สุรินทร์ ที่ยกเรื่องอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีรสชาติดี และข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงเป็นจุดเด่นมาพัฒนาให้ไปในทิศทางเดียวกัน “โครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ของ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อรักษาสุขภาพอนามัยของตัวเกษตรกรเอง โดยจะอาศัยเกษตรจังหวัดเป็นผู้นำและมีการสนับสนุนโครงการโดยภาคเอกชน “โครงการพัฒนาให้ความรู้การปลูกข้าวห้อมมะลิ” ของ จ.ยโสธร ที่มุ่งหวังให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น “โครงการเกษตรอินทรีย์” ของ จ.ชัยภูมิ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ สนับสนุนงบประมาณหรือช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมให้เป็นอาชีพ และพัฒนากลุ่มให้เป็นสหกรณ์ในอนาคต
ฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม
สำหรับแนวทาง CSR ที่เน้นคุณค่าของแหล่งผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ได้แก่ “โครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก” ของ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของผ้าไหมแพรวาที่มีชื่อเสียงและมีการผลิตที่แพร่หลาย “โครงการเลี้ยงโคขุนเพื่อเกษตรและชุมชน” ของ จ.สกลนคร ที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเลี้ยงโคขุนในรูปแบบของสหกรณ์ “โครงการอารยธรรมสร้างสุข” ของ จ.มหาสารคาม ที่จะระดมอาสาสมัครซึ่งมีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรม มาส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ด้วยการจัดค่ายธรรมะแก่เยาวชนและประชาชนที่สนใจ เพื่อยกระดับให้ตักศิลาเป็นเมืองแห่งความสุข “โครงการฟื้นฟูคุณภาพแหล่งทำมาหากินและแหล่งต้นน้ำลำธาร” ของ จ.เลย โดยส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูคุณภาพของดินซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินหลัก พัฒนาแหล่งน้ำที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อคุณภาพชีวิต” ของ จ.อำนาจเจริญ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้ทุกด้าน มุ่งหวังให้เกิดความยั่งยืนในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น
จังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องท่องเที่ยว ได้แก่ “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น” ของ จ.นครพนม ที่มุ่งหวังจะพัฒนาเมืองให้มีชุมชนที่เข้มแข็งและสังคมที่น่าอยู่ รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน “โครงการท่องเที่ยวทุ่งกุลา กินปลาเผา เล่าตำนานอาณาจักรเจนละ” ของ จ.ร้อยเอ็ด ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน “โครงการยลอุบลชมวัฒนธรรม ไปได้ชิวๆ” ของ จ.อุบลราชธานี ที่มุ่งหวังให้เกิดการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ดั้งเดิมของจังหวัด เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวและเป็นการส่งเสริมรายได้ของจังหวัด “การท่องเที่ยววนเกษตร (เที่ยวไปชิมไป) เชิงอนุรักษ์ (มรดกโลก)” ของ จ.ศรีสะเกษ ที่ต้องการให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างวิถีเกษตรแบบปลอดสารพิษ นำมาซึ่งสุขภาพที่ดีและชื่อเสียงมาสู่จังหวัด “โครงการเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูหินลาดช่อฟ้า” ของ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเส้นทางความเป็นอยู่ของสหายที่ยังมีชีวิตอยู่ นำมาพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในการต่อสู้ทางความคิด ปลูกฝังให้เกิดความรักความผูกพันในถิ่นกำเนิด
พัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
ส่วนจังหวัดที่ต้องการใช้ CSR ในการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ได้แก่ “โครงการเมืองน่าอยู่อันดับหนึ่งของภาคอีสาน” ของ จ.หนองคาย ด้วยการฟื้นฟูและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พัฒนาการคมนาคมขนส่ง และพัฒนาประชาชนให้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา “โครงการพัฒนาคนชุมชนเข้มแข็ง” ของ จ.นครราชสีมา ที่หวังให้มีลานกิจกรรมสำหรับการแสดงออกอย่างอิสระและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเยาวชนและครอบครัวในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและด้านจริยธรรม “โครงการกินอยู่ในมุกดาหารปลอดภัย” ของ จ.มุกดาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคได้กินอยู่อย่างปลอดภัย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและบรรลุยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่อินโดจีน “โครงการแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัด” ของ จ.ขอนแก่น ที่เสนอให้มีการใช้รถร่วม (Car Pool) หรือรถสาธารณะในการเดินทาง มีการให้ความรู้เรื่องวินัยการจราจร จัดให้มีรายการวิทยุรายงานสภาพจราจรเพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่มีรถติดหรือรถหนาแน่น เพื่อการประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
เกาะกระแสโลกร้อน
สำหรับแนวทาง CSR ของจังหวัดที่เกาะกระแสโลกร้อนและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ “โครงการลดโลกร้อนด้วยตัวคุณ” ของ จ.ร้อยเอ็ด ที่เน้นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้คนในครอบครัวและองค์กรคัดแยกขยะที่สามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินงาน “โครงการรวมพลังวัยใสล้างภัยสิ่งแวดล้อม” ของ จ.อุดรธานี ที่ต้องการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของชุมชนและการเสริมสร้างจริยธรรมแก่เยาวชน
ตะลุย 17 จังหวัดล้านนา ก.ค. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ต่อใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จ.สุโขทัย ณ ห้องศรีจุฬาลักษ์ โรงแรมอนันดา และจ.ตาก ณ ห้องจอมพล โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ ในวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม จ.พิษณุโลก ณ ห้องกัลปพฤกษ์ โรงแรมเดอะแกรนด์ ริเวอร์ไซด์ และจ.กำแพงเพชร ณ ห้องวานารี โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว ในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม จ.พิจิตร ณ ห้องอารดา โรงแรมพิจิตรพลาซ่า และจ.อุทัยธานี ณ ห้องอุทัยริเวอร์เลค โรงแรมอุทัยริเวอร์เลค รีสอร์ท ในวันพุธที่ 9 กรกฎาคม จ.เพชรบูรณ์ ณ ห้องพรพรรค 1 โรงแรมเพชรบูรณ์พลาซ่า และจ.อ่างทอง ณ ห้องจิราภร โรงแรมอ่างทองโฮเต็ล ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม จ.อุตรดิตถ์ ณ ห้องคชสีห์-ไกรสีห์ โรงแรมสีหราช และจ.แพร่ ณ ห้องงาช้าง 2 โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ ในวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม จ.ลำปาง ณ ห้องกาสะลอง โรงแรมเวียงลคอน และจ.น่าน ณ ห้องไพลิน โรงแรมเทวราช ในวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม จ.ลำพูน ณ ห้องฝ้ายเงิน โรงแรมรีเจ้นท์เรซิเดนท์ และจ.พะเยา ณ ห้องประชุมโรงแรม โรงแรมพะเยานอร์ทเทิร์นเลค ในวันพุธที่ 23 กรกฎาคม จ.แม่ฮ่องสอน ณ ห้องบ้านเฟื่องฟ้า โรงแรมแม่ฮ่องสอนเม้าท์เท่นอินน์ และจ.เชียงราย ณ ห้องบุหงา โรงแรมลิตเติ้ลดัก ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม
ทั้งนี้ กองคาราวาน CSR Campus จะมาจัดงานสัมมนาใหญ่ปิดภารกิจการเดินสายภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ ณ ห้องพิงคพาเลซ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ ในวันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม โดยจะมีการนำเอาบทสรุปทั้ง 17 จังหวัดล้านนา มารายงานต่อที่ประชุมสัมมนานี้ สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
ผลจากการระดมสมอง CSR ในแต่ละจังหวัดผ่านโมเดล CSR Campus สามารถรวบรวมประเด็น CSR ในสังคมอีสานได้ทั้งสิ้น 5 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่ และการแก้ไขภาวะโลกร้อน
ขอทำเรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์
CSR ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรอินทรีย์มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวัด ได้แก่ “โครงการเกษตรอินทรีย์ บุรีรัมย์นำชีวิตยืนยาวข้าวไทย” ของ จ.บุรีรัมย์ ที่มุ่งหวังให้มีความปลอดภัยในการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพและทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น “โครงการเกษตรอินทรีย์ วิถีสุรินทร์สู่ครัวโลก” ของ จ.สุรินทร์ ที่ยกเรื่องอาหารซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีรสชาติดี และข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงเป็นจุดเด่นมาพัฒนาให้ไปในทิศทางเดียวกัน “โครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ของ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อรักษาสุขภาพอนามัยของตัวเกษตรกรเอง โดยจะอาศัยเกษตรจังหวัดเป็นผู้นำและมีการสนับสนุนโครงการโดยภาคเอกชน “โครงการพัฒนาให้ความรู้การปลูกข้าวห้อมมะลิ” ของ จ.ยโสธร ที่มุ่งหวังให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น “โครงการเกษตรอินทรีย์” ของ จ.ชัยภูมิ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ มีการฝึกอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ สนับสนุนงบประมาณหรือช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมให้เป็นอาชีพ และพัฒนากลุ่มให้เป็นสหกรณ์ในอนาคต
ฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม
สำหรับแนวทาง CSR ที่เน้นคุณค่าของแหล่งผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ได้แก่ “โครงการเศษไหมล้ำค่าแพรวาที่ระลึก” ของ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องของผ้าไหมแพรวาที่มีชื่อเสียงและมีการผลิตที่แพร่หลาย “โครงการเลี้ยงโคขุนเพื่อเกษตรและชุมชน” ของ จ.สกลนคร ที่ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเลี้ยงโคขุนในรูปแบบของสหกรณ์ “โครงการอารยธรรมสร้างสุข” ของ จ.มหาสารคาม ที่จะระดมอาสาสมัครซึ่งมีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรม มาส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ด้วยการจัดค่ายธรรมะแก่เยาวชนและประชาชนที่สนใจ เพื่อยกระดับให้ตักศิลาเป็นเมืองแห่งความสุข “โครงการฟื้นฟูคุณภาพแหล่งทำมาหากินและแหล่งต้นน้ำลำธาร” ของ จ.เลย โดยส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูคุณภาพของดินซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินหลัก พัฒนาแหล่งน้ำที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อคุณภาพชีวิต” ของ จ.อำนาจเจริญ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้ทุกด้าน มุ่งหวังให้เกิดความยั่งยืนในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น
จังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องท่องเที่ยว ได้แก่ “โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น” ของ จ.นครพนม ที่มุ่งหวังจะพัฒนาเมืองให้มีชุมชนที่เข้มแข็งและสังคมที่น่าอยู่ รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน “โครงการท่องเที่ยวทุ่งกุลา กินปลาเผา เล่าตำนานอาณาจักรเจนละ” ของ จ.ร้อยเอ็ด ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน “โครงการยลอุบลชมวัฒนธรรม ไปได้ชิวๆ” ของ จ.อุบลราชธานี ที่มุ่งหวังให้เกิดการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ดั้งเดิมของจังหวัด เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวและเป็นการส่งเสริมรายได้ของจังหวัด “การท่องเที่ยววนเกษตร (เที่ยวไปชิมไป) เชิงอนุรักษ์ (มรดกโลก)” ของ จ.ศรีสะเกษ ที่ต้องการให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างวิถีเกษตรแบบปลอดสารพิษ นำมาซึ่งสุขภาพที่ดีและชื่อเสียงมาสู่จังหวัด “โครงการเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูหินลาดช่อฟ้า” ของ จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเส้นทางความเป็นอยู่ของสหายที่ยังมีชีวิตอยู่ นำมาพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในการต่อสู้ทางความคิด ปลูกฝังให้เกิดความรักความผูกพันในถิ่นกำเนิด
พัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่
ส่วนจังหวัดที่ต้องการใช้ CSR ในการพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ได้แก่ “โครงการเมืองน่าอยู่อันดับหนึ่งของภาคอีสาน” ของ จ.หนองคาย ด้วยการฟื้นฟูและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พัฒนาการคมนาคมขนส่ง และพัฒนาประชาชนให้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา “โครงการพัฒนาคนชุมชนเข้มแข็ง” ของ จ.นครราชสีมา ที่หวังให้มีลานกิจกรรมสำหรับการแสดงออกอย่างอิสระและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเยาวชนและครอบครัวในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและด้านจริยธรรม “โครงการกินอยู่ในมุกดาหารปลอดภัย” ของ จ.มุกดาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคได้กินอยู่อย่างปลอดภัย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและบรรลุยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่อินโดจีน “โครงการแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัด” ของ จ.ขอนแก่น ที่เสนอให้มีการใช้รถร่วม (Car Pool) หรือรถสาธารณะในการเดินทาง มีการให้ความรู้เรื่องวินัยการจราจร จัดให้มีรายการวิทยุรายงานสภาพจราจรเพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่มีรถติดหรือรถหนาแน่น เพื่อการประหยัดเวลาและค่าเชื้อเพลิง
เกาะกระแสโลกร้อน
สำหรับแนวทาง CSR ของจังหวัดที่เกาะกระแสโลกร้อนและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ “โครงการลดโลกร้อนด้วยตัวคุณ” ของ จ.ร้อยเอ็ด ที่เน้นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้คนในครอบครัวและองค์กรคัดแยกขยะที่สามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินงาน “โครงการรวมพลังวัยใสล้างภัยสิ่งแวดล้อม” ของ จ.อุดรธานี ที่ต้องการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของชุมชนและการเสริมสร้างจริยธรรมแก่เยาวชน
ตะลุย 17 จังหวัดล้านนา ก.ค. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ต่อใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จ.สุโขทัย ณ ห้องศรีจุฬาลักษ์ โรงแรมอนันดา และจ.ตาก ณ ห้องจอมพล โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ ในวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม จ.พิษณุโลก ณ ห้องกัลปพฤกษ์ โรงแรมเดอะแกรนด์ ริเวอร์ไซด์ และจ.กำแพงเพชร ณ ห้องวานารี โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว ในวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม จ.พิจิตร ณ ห้องอารดา โรงแรมพิจิตรพลาซ่า และจ.อุทัยธานี ณ ห้องอุทัยริเวอร์เลค โรงแรมอุทัยริเวอร์เลค รีสอร์ท ในวันพุธที่ 9 กรกฎาคม จ.เพชรบูรณ์ ณ ห้องพรพรรค 1 โรงแรมเพชรบูรณ์พลาซ่า และจ.อ่างทอง ณ ห้องจิราภร โรงแรมอ่างทองโฮเต็ล ในวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม จ.อุตรดิตถ์ ณ ห้องคชสีห์-ไกรสีห์ โรงแรมสีหราช และจ.แพร่ ณ ห้องงาช้าง 2 โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ ในวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม จ.ลำปาง ณ ห้องกาสะลอง โรงแรมเวียงลคอน และจ.น่าน ณ ห้องไพลิน โรงแรมเทวราช ในวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม จ.ลำพูน ณ ห้องฝ้ายเงิน โรงแรมรีเจ้นท์เรซิเดนท์ และจ.พะเยา ณ ห้องประชุมโรงแรม โรงแรมพะเยานอร์ทเทิร์นเลค ในวันพุธที่ 23 กรกฎาคม จ.แม่ฮ่องสอน ณ ห้องบ้านเฟื่องฟ้า โรงแรมแม่ฮ่องสอนเม้าท์เท่นอินน์ และจ.เชียงราย ณ ห้องบุหงา โรงแรมลิตเติ้ลดัก ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม
ทั้งนี้ กองคาราวาน CSR Campus จะมาจัดงานสัมมนาใหญ่ปิดภารกิจการเดินสายภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ ณ ห้องพิงคพาเลซ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ ในวันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม โดยจะมีการนำเอาบทสรุปทั้ง 17 จังหวัดล้านนา มารายงานต่อที่ประชุมสัมมนานี้ สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228