จุดประกาย CSR ภาคอีสาน พัฒนาชุมชน-สังคมกู้วิกฤติ
สุวัฒน์ ทองธนากุล
"โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค" สำหรับกลุ่มภาคอีสาน 19 จังหวัด เสร็จสิ้นการจัดห้องเรียนสัญจรหรือ ซีเอสอาร์ แคมปัส ตามแผน
โครงการนี้ สถาบันไทยพัฒน์ แคท เทเลคอม ดีแทค และโตโยต้า ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม และกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility : CSR) และการเสวนาเรื่อง "CSR ถิ่นแคนแดนอีสาน" การจัดงานที่ จ.ขอนแก่น เป็นจุดสุดท้ายมีผู้เข้าร่วมทั้งจากภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม นับร้อยคน
ดร.พิพัฒน์ ยอมพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เล่าว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมความรู้ CSR ในภูมิภาค 75 จังหวัด (ยกเว้น กทม.) ในเดือนกรกฎาคม จะเคลื่อนทีมโครงการนี้ไปยัง 17 จังหวัด ภาคเหนือและจะสรุปผลในวันที่ 25 ก.ค.นี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่
การสรุปภาพรวมผลการระดมสมองแนวนโยบายซีเอสอาร์ภาคอีสาน พบว่า การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นนโยบายซีเอสอาร์ที่ชาวอีสานเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการมากที่สุดถึง 44% รองลงมาคือ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (23%) และอันดับ 3 คือการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (17%) ที่เหลือเป็นเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม (9%) และการกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาล (7%)
การเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นตลอดจนการนำเสนอโมเดลซีเอสอาร์ เพื่อร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของประชาคมอีสาน พบว่าปัญหาของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนกำลังส่งผลกระทบต่อประชาชนคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ภาพสะท้อนดังกล่าวมาจากผู้ที่เข้าร่วมเสวนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนข้อมูลที่น่าสนใจจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ซึ่งมีเนื้อหาสรุปได้ว่า ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการพัฒนามุ่งสู่ความเจริญตามรอยของการพัฒนาเมืองใหญ่ จ.ขอนแก่น จึงถูกพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าลงทุน มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสรรพ เป็นแหล่งผลิตพลังงานที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีเขื่อนอุบลรัตน์เป็นแหล่งพัฒนาพลังงานกระแสไฟฟ้าที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการขุดพบก๊าซธรรมชาติภาคพื้นดินที่ใหญ่สุดของประเทศอีกด้วย
องค์ประกอบเช่น ทำให้ขอนแก่นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง ซึ่งนับจากนี้ไปการร่วมด้วยช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหาสังคม จะกลายเป็นภารกิจของประชาคมชาวขอนแก่นทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ยังได้ยกตัวอย่างการใช้แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรมของโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาโดยภาครัฐลำพัง ทำได้ไม่สำเร็จทั้งหมด รองผู้ว่าฯ ได้เสนอแนะว่า หากคนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชน นำหลักการของซีเอสอาร์มาประยุกต์ใช้ จะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้อย่างจริงจังยิ่งขึ้น
"อดีตสังคมไทยมีความเอื้ออาทรมาก แต่ช่วงหลังถดถอยไป ผมคิดว่า การดูแลสังคมจะต้องมาจากภาคประชาชนและภาคธุรกิจด้วย ลำพังภาครัฐคงทำได้ไม่ทั้งหมด เพราะสังคมเรามีปัญหาเพิ่มมากขึ้น เช่น ในบางพื้นที่ของภาคอีสานพบว่า เด็กครึ่งชั้นเรียนมีปัญหา เด็ก ม.1 เริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศ ปัญหาสำคัญจึงเป็นเรื่องเด็กและการศึกษา" รองผู้ว่าฯ ขอนแก่น กล่าวทิ้งท้าย
สุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้า จ.ขอนแก่น กล่าวว่า แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม หรือซีเอสอาร์ เป็นหลักการที่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี หากคนในสังคมช่วยกันคนละเล็กละน้อยในการดูแลชุมชนหรือสังคมรอบตัว ก็จะทำให้ปัญหาลดน้อยลง เช่น ลูกจ้างเรียกร้องนายจ้างเสียสละ ลูกจ้างก็ต้องเสียสละด้วย มีความเอื้ออาทรต่อกัน ในสังคมไทยนับถือพุทธ ต้องมีธรรมะ ในหลักธรรมบอกว่าให้ลดละเลิกในสิ่งที่ผิดทั้งหลาย ซึ่งหากยึดหลักธรรมะก็เท่ากับมีซีเอสอาร์ในตัวอยู่แล้ว ยิ่งคนอีสาน ชอบงานบุญ เป็นเรื่องของสายเลือด เป็นวัฒนธรรม ทำให้คนอีสานทำซีเอสอาร์ได้ดี ฉะนั้น การทำความดีหรือซีเอสอาร์ จึงควรเริ่มที่ครอบครัว หากครอบครัวปลูกฝังดี คนในสังคมก็จะดีด้วย
ขณะที่ วิฑูรย์ กมลนฤเมธ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น มองว่า ปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในระดับภูมิภาคมีปัญหาค่อนข้างมาก ในสังคมโรงงานต่างจังหวัด การนำหลักซีเอสอาร์มาใช้ นักธุรกิจจะต้องรู้จักเสียสละ ต้องมีคำว่าพอให้เป็น
"นายจ้างต้องยอมเสียสละ ยอมเฉือนเนื้อตนเอง เอากำไรน้อยลง ให้ลูกน้องอยู่ได้ ขณะเดียวกันนายจ้างก็ต้องอยู่ได้ด้วย แม้ลูกจ้างอาจจะไม่พอใจ แต่ก็ต้องยอมลดความต้องการของตัวลงด้วย เพื่อให้องค์กรอยู่ได้ โดยที่นายจ้างต้องเสียสละก่อน" วิฑูรย์ กล่าว
ในการระดมสมองซีเอสอาร์ระดับจังหวัด พบว่าประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดของชาวขอนแก่น คือเรื่องของวิกฤติจราจรและแนวทางแก้ไข ซึ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนากลุ่มย่อยได้เสนอถึงปัญหาการจราจรที่กำลังรุกรานความสงบสุขของผู้ใช้รถใช้ถนนในจังหวัดขอนแก่น จึงมีการเสนอทางแก้โดยให้เข้มงวดในเรื่องวินัยจราจร ให้มีการจัดโครงการคาร์พูล จัดให้มีสถานีวิทยุรายงานสถานการณ์จราจรประจำจังหวัด ให้บริษัทเอกชนจัดรถรับส่งพนักงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังเรื่องวินัยจราจรตั้งแต่ในระดับโรงเรียน เป็นต้น
แนวทางซีเอสอาร์ของ จ.ขอนแก่น อีกเรื่องหนึ่งที่มีการนำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ คือโครงการเยาวชนต้นกล้า โดยปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเกษตร การปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ เพื่อย้ำเตือนเยาวชนให้ตระหนักในอาชีพดั้งเดิมของคนไทยได้สืบต่อถึงคนรุ่นหลัง อีกทั้งยังช่วยให้เยาวชนได้เรียนรู้การพัฒนาชุมชนและสังคมจากโรงเรียนในท้องถิ่นที่จะต้องบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โดยแบ่งกลุ่มการพัฒนาคน 3 วัย ได้แก่ วัยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการจัดกิจกรรมไว้ 5 ระดับ ได้แก่ กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนครองคู่ กิจกรรมเตรียมกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ในครรภ์ กิจกรรมการคิดสร้างสรรค์แต่เยาว์วัย กิจกรรมครอบครัวเสริมกายใจ และกิจกรรมผู้สูงวัยสายใยรัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อคนทั้งสามวัยหากทำได้สำเร็จและทำให้ครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง
กิจกรรมการลงพื้นที่ทั้งหมด 19 จังหวัด ของคณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสร้างจิตอาสาพัฒนาสังคม ตลอดจนการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ในภาคอีสานที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนี้ จะมีการรายงานสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายซีเอสอาร์ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบูรณาการร่วมกับแนวทางซีเอสอาร์ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไปอาจเกิดกระแสใหญ่ได้หากได้ผลจริงจัง
[Original Link]
"โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค" สำหรับกลุ่มภาคอีสาน 19 จังหวัด เสร็จสิ้นการจัดห้องเรียนสัญจรหรือ ซีเอสอาร์ แคมปัส ตามแผน
โครงการนี้ สถาบันไทยพัฒน์ แคท เทเลคอม ดีแทค และโตโยต้า ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม และกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility : CSR) และการเสวนาเรื่อง "CSR ถิ่นแคนแดนอีสาน" การจัดงานที่ จ.ขอนแก่น เป็นจุดสุดท้ายมีผู้เข้าร่วมทั้งจากภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม นับร้อยคน
ดร.พิพัฒน์ ยอมพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เล่าว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมความรู้ CSR ในภูมิภาค 75 จังหวัด (ยกเว้น กทม.) ในเดือนกรกฎาคม จะเคลื่อนทีมโครงการนี้ไปยัง 17 จังหวัด ภาคเหนือและจะสรุปผลในวันที่ 25 ก.ค.นี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่
การสรุปภาพรวมผลการระดมสมองแนวนโยบายซีเอสอาร์ภาคอีสาน พบว่า การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นนโยบายซีเอสอาร์ที่ชาวอีสานเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการมากที่สุดถึง 44% รองลงมาคือ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (23%) และอันดับ 3 คือการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (17%) ที่เหลือเป็นเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม (9%) และการกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาล (7%)
การเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นตลอดจนการนำเสนอโมเดลซีเอสอาร์ เพื่อร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของประชาคมอีสาน พบว่าปัญหาของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนกำลังส่งผลกระทบต่อประชาชนคนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ภาพสะท้อนดังกล่าวมาจากผู้ที่เข้าร่วมเสวนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนข้อมูลที่น่าสนใจจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ซึ่งมีเนื้อหาสรุปได้ว่า ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการพัฒนามุ่งสู่ความเจริญตามรอยของการพัฒนาเมืองใหญ่ จ.ขอนแก่น จึงถูกพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าลงทุน มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมสรรพ เป็นแหล่งผลิตพลังงานที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีเขื่อนอุบลรัตน์เป็นแหล่งพัฒนาพลังงานกระแสไฟฟ้าที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการขุดพบก๊าซธรรมชาติภาคพื้นดินที่ใหญ่สุดของประเทศอีกด้วย
องค์ประกอบเช่น ทำให้ขอนแก่นกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมเมือง ซึ่งนับจากนี้ไปการร่วมด้วยช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหาสังคม จะกลายเป็นภารกิจของประชาคมชาวขอนแก่นทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ยังได้ยกตัวอย่างการใช้แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรมของโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาโดยภาครัฐลำพัง ทำได้ไม่สำเร็จทั้งหมด รองผู้ว่าฯ ได้เสนอแนะว่า หากคนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชน นำหลักการของซีเอสอาร์มาประยุกต์ใช้ จะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้อย่างจริงจังยิ่งขึ้น
"อดีตสังคมไทยมีความเอื้ออาทรมาก แต่ช่วงหลังถดถอยไป ผมคิดว่า การดูแลสังคมจะต้องมาจากภาคประชาชนและภาคธุรกิจด้วย ลำพังภาครัฐคงทำได้ไม่ทั้งหมด เพราะสังคมเรามีปัญหาเพิ่มมากขึ้น เช่น ในบางพื้นที่ของภาคอีสานพบว่า เด็กครึ่งชั้นเรียนมีปัญหา เด็ก ม.1 เริ่มมีความสัมพันธ์ทางเพศ ปัญหาสำคัญจึงเป็นเรื่องเด็กและการศึกษา" รองผู้ว่าฯ ขอนแก่น กล่าวทิ้งท้าย
สุรพล ทวีแสงสกุลไทย ประธานหอการค้า จ.ขอนแก่น กล่าวว่า แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม หรือซีเอสอาร์ เป็นหลักการที่สอนให้ทุกคนเป็นคนดี หากคนในสังคมช่วยกันคนละเล็กละน้อยในการดูแลชุมชนหรือสังคมรอบตัว ก็จะทำให้ปัญหาลดน้อยลง เช่น ลูกจ้างเรียกร้องนายจ้างเสียสละ ลูกจ้างก็ต้องเสียสละด้วย มีความเอื้ออาทรต่อกัน ในสังคมไทยนับถือพุทธ ต้องมีธรรมะ ในหลักธรรมบอกว่าให้ลดละเลิกในสิ่งที่ผิดทั้งหลาย ซึ่งหากยึดหลักธรรมะก็เท่ากับมีซีเอสอาร์ในตัวอยู่แล้ว ยิ่งคนอีสาน ชอบงานบุญ เป็นเรื่องของสายเลือด เป็นวัฒนธรรม ทำให้คนอีสานทำซีเอสอาร์ได้ดี ฉะนั้น การทำความดีหรือซีเอสอาร์ จึงควรเริ่มที่ครอบครัว หากครอบครัวปลูกฝังดี คนในสังคมก็จะดีด้วย
ขณะที่ วิฑูรย์ กมลนฤเมธ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น มองว่า ปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในระดับภูมิภาคมีปัญหาค่อนข้างมาก ในสังคมโรงงานต่างจังหวัด การนำหลักซีเอสอาร์มาใช้ นักธุรกิจจะต้องรู้จักเสียสละ ต้องมีคำว่าพอให้เป็น
"นายจ้างต้องยอมเสียสละ ยอมเฉือนเนื้อตนเอง เอากำไรน้อยลง ให้ลูกน้องอยู่ได้ ขณะเดียวกันนายจ้างก็ต้องอยู่ได้ด้วย แม้ลูกจ้างอาจจะไม่พอใจ แต่ก็ต้องยอมลดความต้องการของตัวลงด้วย เพื่อให้องค์กรอยู่ได้ โดยที่นายจ้างต้องเสียสละก่อน" วิฑูรย์ กล่าว
ในการระดมสมองซีเอสอาร์ระดับจังหวัด พบว่าประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดของชาวขอนแก่น คือเรื่องของวิกฤติจราจรและแนวทางแก้ไข ซึ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนากลุ่มย่อยได้เสนอถึงปัญหาการจราจรที่กำลังรุกรานความสงบสุขของผู้ใช้รถใช้ถนนในจังหวัดขอนแก่น จึงมีการเสนอทางแก้โดยให้เข้มงวดในเรื่องวินัยจราจร ให้มีการจัดโครงการคาร์พูล จัดให้มีสถานีวิทยุรายงานสถานการณ์จราจรประจำจังหวัด ให้บริษัทเอกชนจัดรถรับส่งพนักงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังเรื่องวินัยจราจรตั้งแต่ในระดับโรงเรียน เป็นต้น
แนวทางซีเอสอาร์ของ จ.ขอนแก่น อีกเรื่องหนึ่งที่มีการนำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ คือโครงการเยาวชนต้นกล้า โดยปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเกษตร การปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ เพื่อย้ำเตือนเยาวชนให้ตระหนักในอาชีพดั้งเดิมของคนไทยได้สืบต่อถึงคนรุ่นหลัง อีกทั้งยังช่วยให้เยาวชนได้เรียนรู้การพัฒนาชุมชนและสังคมจากโรงเรียนในท้องถิ่นที่จะต้องบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โดยแบ่งกลุ่มการพัฒนาคน 3 วัย ได้แก่ วัยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีการจัดกิจกรรมไว้ 5 ระดับ ได้แก่ กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนครองคู่ กิจกรรมเตรียมกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ในครรภ์ กิจกรรมการคิดสร้างสรรค์แต่เยาว์วัย กิจกรรมครอบครัวเสริมกายใจ และกิจกรรมผู้สูงวัยสายใยรัก ซึ่งจะส่งผลดีต่อคนทั้งสามวัยหากทำได้สำเร็จและทำให้ครอบครัวอบอุ่นและเข้มแข็ง
กิจกรรมการลงพื้นที่ทั้งหมด 19 จังหวัด ของคณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสร้างจิตอาสาพัฒนาสังคม ตลอดจนการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ในภาคอีสานที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนี้ จะมีการรายงานสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายซีเอสอาร์ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบูรณาการร่วมกับแนวทางซีเอสอาร์ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไปอาจเกิดกระแสใหญ่ได้หากได้ผลจริงจัง
[Original Link]