17 จังหวัดภาคเหนือชู CSR วิถีล้านนา
สุวัฒน์ ทองธนากุล
โครงการ “CSR Campus” ทำมาถึงภาค 2 แล้ว คือ ภาคเหนือ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ หน่วยงานที่ดำเนินโครงการนี้ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจคือ ดีแทค โตโยต้า และแคทเทเลคอม มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดกิจกรรมสัญจรเพื่อยกระดับความรู้และจิตสำนึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรความรู้ต่างๆ หรือ CSR
แผนระดับชาติครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายดั่งผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน 76 จังหวัด
ภูมิภาคแรกที่ทำไปแล้ว คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และกิจกรรมที่เพิ่งสร้างเสร็จไปล่าสุด จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการจัดเสวนาเรื่อง "CSR ถิ่นล้านนา" มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งจากภาคธุรกิจและภาครัฐ รวมทั้งภาคประชาสังคมประมาณ 170 คน
ในเวทีประชุมครั้งนี้ เพื่อสรุปภาพรวมผลการระดมสมองแนวนโยบายซีเอสอาร์ภาคเหนือ หลังจากที่ได้มีการเดินสายเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ประกอบการ และตัวแทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทั่วภาคเหนือจนครบทุกจังหวัด โดยผลจากการระดมสมองพบว่า การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นนโยบายซีเอสอาร์ที่ชาวเหนือเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการมากที่สุดถึง 46% รองลงมา คือ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (26%) และอันดับ 3 คือ การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (14%) ที่เหลือเป็นเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฎิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม (10%) และการกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาล (4%)
ซีเอสอาร์เป็นคำใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับชาวเชียงใหม่
คุณณรงค์ ตนานุวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวในนามของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการเสวนาเรื่อง "CSR กับพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรมดี ลดวิกฤติสังคม" ว่า แม้เราจะเพิ่งได้ยินคำว่าซีเอสอาร์ ซึ่งถือว่าเป็นคำใหม่ แต่โดยเนื้อหาแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับชาวเชียงใหม่ เพราะทั้งในธุรกิจและในสังคมเชียงใหม่ ถือว่ามีเรื่องนี้อยู่แล้ว ตัวอย่างหนึ่งของซีเอสอาร์ในระดับธุรกิจ คือ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเงิน
ในระดับสังคม คือ การฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงใหม่ ที่เป็นคนมีอัธยาศัยไมตรีอ่อนน้อมถ่อมตนให้คงอยู่กับสังคมเชียงใหม่ เพราะจากผลการสำรวจหลายแหล่งพบว่า คนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่นั้น ชอบคน ไม่ได้ชอบวัตถุ ทุกวันนี้ การท่องเที่ยวและการพัฒนามุ่งใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมจนสึกหรอไปมาก แต่ไม่ได้เติมเต็มวัฒนธรรมที่ถูกใช้ให้แข็งแรงขึ้นตามไปด้วย
ซีเอสอาร์เป็นเครื่องมือสร้างความเจริญของสังคม
คุณเฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ ในฐานะขององค์กรภาคประชาชน 46 องค์กร ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังและพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน ให้คงอยู่เป็นมรดกและขุมทรัพย์ของเชียงใหม่ กล่าวว่า ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ควรคำนึงถึง 3 องค์ประกอบในการประกอบการ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคม ให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดความสุขและความยั่งยืน
จากการทำงานภายใต้ภาคีคนฮักเจียงใหม่มากว่า 3 ปี พบว่า ภารกิจของภาคีที่ได้ดำเนินการอยู่ นักธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าเป็นการต่อต้านการพัฒนา ต่อต้านความเจริญ ทั้งนี้ เราคงต้องกลับไปดูนิยามของความเจริญหรือการพัฒนาว่าวัดจากอะไร หากจะกำหนดว่า คือ การวัดจากตัวเลขเม็ดเงินรายได้หรือตัวเลขจีดีพีในทางเศรษฐกิจอย่างเดียว กรอบการวัดนี้ ถือว่าไม่ครบถ้วนถูกต้อง เพราะการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ ย้ำว่า ความเจริญของสังคมนั้น มิได้มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยลำพัง แต่ต้องมาจากการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติ และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมด้วย กล่าวคือ จะต้องดำเนินไปพร้อมกันอย่างสมดุลในทั้งสามด้าน จึงจะเรียกว่าเป็นความเจริญโดยแท้
ซีเอสอาร์ ไม่ใช่การสร้างภาพ
ขณะที่ รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ขยายความเรื่องซีเอสอาร์ให้เห็นว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่เรียกว่า ซีเอสอาร์นี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจ แต่เป็นภารกิจของทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ภาควิชาการ ที่นอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบในด้านการจัดการศึกษาและการทำวิจัยแล้ว ยังรวมถึงการให้บริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เหล่านี้ ล้วนถือว่าเป็นเรื่องของซีเอสอาร์ทั้งสิ้น “ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตทางสังคมอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการไม่ยอมรับความแตกต่างกันทางความคิด ปัญหาเด็กวัยรุ่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภครายวัน การนำซีเอสอาร์มาใช้เสริมสร้างพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรมดี เพื่อลดวิกฤติสังคม ถือเป็นภาระเร่งด่วนที่ต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ”
ซีเอสอาร์ต้องเกิดจากเนื้อแท้ ไม่ใช่การสร้างภาพ ไม่ใช่เครื่องมือทำการตลาด เพื่อให้สินค้าขายดี หรือใช้ปั้นตัวเลขรายได้ ซีเอสอาร์จะต้องเกิดจากความริเริ่มที่จะแบ่งปันสิ่งดีๆ สู่สังคมตั้งแต่ทีแรก การได้มาซึ่งการยอมรับหรือการเพิ่มขึ้นของยอดขายผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลพลอยได้ตามมา มิใช่การคิดจะเอาตั้งแต่แรกเริ่มของการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ซึ่งผิดเจตนารมณ์ ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์สามารถที่จะสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ได้ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะของการสนับสนุนสิ่งดีๆ ให้เป็นที่รับรู้ ให้เป็นที่เข้าใจแก่ประชาชน ซึ่งตรงกับหลักการสื่อสารมวลชน 4 ประการ ได้แก่ การทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ รณรงค์ให้ผู้คนทำในสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ และเชิญชวนให้คนในสังคมร่วมกันทำความดี รศ.สดศรี ได้สรุปทิ้งท้ายว่า หัวใจของการทำซีเอสอาร์ อยู่ที่ การคำนึงถึงผู้อื่นเป็นที่ตั้ง
ใช้ซีเอสอาร์ พัฒนาเชียงใหม่เมืองน่าอยู่
สำหรับการระดมสมองซีเอสอาร์ระดับจังหวัด พบว่ามีประเด็นที่ได้รับความสนใจอยู่หลายประเด็นด้วยกัน อาทิ การพัฒนาให้เป็นเชียงใหม่ Green Fest ด้วยการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้มีผลผลิตที่สะอาดและปลอดภัย ทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ การดูแลภูมิทัศน์เมืองเชียงใหม่ ด้วยการจัดระเบียบป้ายโฆษณาไม่ให้บดบังทัศนียภาพสถานที่เชิงศิลปวัฒนธรรม และมีรูปแบบที่บ่งบอกถึงความเป็นล้านนา การรณรงค์การท่องเที่ยวรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยสโลแกน “อิ่มบุญ อิ่มใจ ไร้มลพิษ” เริ่มตั้งแต่การสักการะพระยากาวิละ ผู้เป็นพ่อเมืองเชียงใหม่ ปั่นจักรยานไหว้พระ 9 วัด (กิจกรรมวันอาทิตย์) ไหว้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ไหว้ศาลหลักเมือง ทัวร์ถนนคนเดิน ที่ได้ทั้งการเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพไปด้วยในตัว
ในการลงพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยคณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสร้างจิตอาสาพัฒนาสังคม ตลอดจนการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนี้ จะมีการรายงานสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายซีเอสอาร์ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบูรณาการร่วมกับแนวทางซีเอสอาร์ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไป
แต่ทั้งนี้ผู้บริหารภาครัฐก็จะต้องมีจิตสำนึก CSR ในการคิดและทำงานเพื่อไปสู่ทิศทางที่ดีดังกล่าว เพื่อทำให้ความคาดหวังนั้น “เป็นจริง”
[Original Link]
โครงการ “CSR Campus” ทำมาถึงภาค 2 แล้ว คือ ภาคเหนือ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ หน่วยงานที่ดำเนินโครงการนี้ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจคือ ดีแทค โตโยต้า และแคทเทเลคอม มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดกิจกรรมสัญจรเพื่อยกระดับความรู้และจิตสำนึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรความรู้ต่างๆ หรือ CSR
แผนระดับชาติครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายดั่งผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน 76 จังหวัด
ภูมิภาคแรกที่ทำไปแล้ว คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และกิจกรรมที่เพิ่งสร้างเสร็จไปล่าสุด จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการจัดเสวนาเรื่อง "CSR ถิ่นล้านนา" มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งจากภาคธุรกิจและภาครัฐ รวมทั้งภาคประชาสังคมประมาณ 170 คน
ในเวทีประชุมครั้งนี้ เพื่อสรุปภาพรวมผลการระดมสมองแนวนโยบายซีเอสอาร์ภาคเหนือ หลังจากที่ได้มีการเดินสายเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ประกอบการ และตัวแทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม ทั่วภาคเหนือจนครบทุกจังหวัด โดยผลจากการระดมสมองพบว่า การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นนโยบายซีเอสอาร์ที่ชาวเหนือเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการมากที่สุดถึง 46% รองลงมา คือ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (26%) และอันดับ 3 คือ การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม (14%) ที่เหลือเป็นเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฎิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม (10%) และการกำกับดูแลกิจการหรือบรรษัทภิบาล (4%)
ซีเอสอาร์เป็นคำใหม่ แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับชาวเชียงใหม่
คุณณรงค์ ตนานุวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวในนามของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการเสวนาเรื่อง "CSR กับพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรมดี ลดวิกฤติสังคม" ว่า แม้เราจะเพิ่งได้ยินคำว่าซีเอสอาร์ ซึ่งถือว่าเป็นคำใหม่ แต่โดยเนื้อหาแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับชาวเชียงใหม่ เพราะทั้งในธุรกิจและในสังคมเชียงใหม่ ถือว่ามีเรื่องนี้อยู่แล้ว ตัวอย่างหนึ่งของซีเอสอาร์ในระดับธุรกิจ คือ การให้ความรู้แก่พนักงานในองค์กรให้รู้จักวิธีบริหารจัดการเงิน
ในระดับสังคม คือ การฟื้นฟูวัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงใหม่ ที่เป็นคนมีอัธยาศัยไมตรีอ่อนน้อมถ่อมตนให้คงอยู่กับสังคมเชียงใหม่ เพราะจากผลการสำรวจหลายแหล่งพบว่า คนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่นั้น ชอบคน ไม่ได้ชอบวัตถุ ทุกวันนี้ การท่องเที่ยวและการพัฒนามุ่งใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมจนสึกหรอไปมาก แต่ไม่ได้เติมเต็มวัฒนธรรมที่ถูกใช้ให้แข็งแรงขึ้นตามไปด้วย
ซีเอสอาร์เป็นเครื่องมือสร้างความเจริญของสังคม
คุณเฉลิมพล แซมเพชร ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ ในฐานะขององค์กรภาคประชาชน 46 องค์กร ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังและพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน ให้คงอยู่เป็นมรดกและขุมทรัพย์ของเชียงใหม่ กล่าวว่า ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ควรคำนึงถึง 3 องค์ประกอบในการประกอบการ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคม ให้มีความสมดุลซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดความสุขและความยั่งยืน
จากการทำงานภายใต้ภาคีคนฮักเจียงใหม่มากว่า 3 ปี พบว่า ภารกิจของภาคีที่ได้ดำเนินการอยู่ นักธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าเป็นการต่อต้านการพัฒนา ต่อต้านความเจริญ ทั้งนี้ เราคงต้องกลับไปดูนิยามของความเจริญหรือการพัฒนาว่าวัดจากอะไร หากจะกำหนดว่า คือ การวัดจากตัวเลขเม็ดเงินรายได้หรือตัวเลขจีดีพีในทางเศรษฐกิจอย่างเดียว กรอบการวัดนี้ ถือว่าไม่ครบถ้วนถูกต้อง เพราะการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ประธานภาคีคนฮักเจียงใหม่ ย้ำว่า ความเจริญของสังคมนั้น มิได้มาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยลำพัง แต่ต้องมาจากการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติ และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมด้วย กล่าวคือ จะต้องดำเนินไปพร้อมกันอย่างสมดุลในทั้งสามด้าน จึงจะเรียกว่าเป็นความเจริญโดยแท้
ซีเอสอาร์ ไม่ใช่การสร้างภาพ
ขณะที่ รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ขยายความเรื่องซีเอสอาร์ให้เห็นว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่เรียกว่า ซีเอสอาร์นี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจ แต่เป็นภารกิจของทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ภาควิชาการ ที่นอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบในด้านการจัดการศึกษาและการทำวิจัยแล้ว ยังรวมถึงการให้บริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เหล่านี้ ล้วนถือว่าเป็นเรื่องของซีเอสอาร์ทั้งสิ้น “ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตทางสังคมอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการไม่ยอมรับความแตกต่างกันทางความคิด ปัญหาเด็กวัยรุ่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภครายวัน การนำซีเอสอาร์มาใช้เสริมสร้างพลังความดี เพิ่มพื้นที่กิจกรรมดี เพื่อลดวิกฤติสังคม ถือเป็นภาระเร่งด่วนที่ต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ”
ซีเอสอาร์ต้องเกิดจากเนื้อแท้ ไม่ใช่การสร้างภาพ ไม่ใช่เครื่องมือทำการตลาด เพื่อให้สินค้าขายดี หรือใช้ปั้นตัวเลขรายได้ ซีเอสอาร์จะต้องเกิดจากความริเริ่มที่จะแบ่งปันสิ่งดีๆ สู่สังคมตั้งแต่ทีแรก การได้มาซึ่งการยอมรับหรือการเพิ่มขึ้นของยอดขายผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลพลอยได้ตามมา มิใช่การคิดจะเอาตั้งแต่แรกเริ่มของการทำกิจกรรมซีเอสอาร์ซึ่งผิดเจตนารมณ์ ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์สามารถที่จะสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ได้ แต่ต้องเป็นไปในลักษณะของการสนับสนุนสิ่งดีๆ ให้เป็นที่รับรู้ ให้เป็นที่เข้าใจแก่ประชาชน ซึ่งตรงกับหลักการสื่อสารมวลชน 4 ประการ ได้แก่ การทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ รณรงค์ให้ผู้คนทำในสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ และเชิญชวนให้คนในสังคมร่วมกันทำความดี รศ.สดศรี ได้สรุปทิ้งท้ายว่า หัวใจของการทำซีเอสอาร์ อยู่ที่ การคำนึงถึงผู้อื่นเป็นที่ตั้ง
ใช้ซีเอสอาร์ พัฒนาเชียงใหม่เมืองน่าอยู่
สำหรับการระดมสมองซีเอสอาร์ระดับจังหวัด พบว่ามีประเด็นที่ได้รับความสนใจอยู่หลายประเด็นด้วยกัน อาทิ การพัฒนาให้เป็นเชียงใหม่ Green Fest ด้วยการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้มีผลผลิตที่สะอาดและปลอดภัย ทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ การดูแลภูมิทัศน์เมืองเชียงใหม่ ด้วยการจัดระเบียบป้ายโฆษณาไม่ให้บดบังทัศนียภาพสถานที่เชิงศิลปวัฒนธรรม และมีรูปแบบที่บ่งบอกถึงความเป็นล้านนา การรณรงค์การท่องเที่ยวรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยสโลแกน “อิ่มบุญ อิ่มใจ ไร้มลพิษ” เริ่มตั้งแต่การสักการะพระยากาวิละ ผู้เป็นพ่อเมืองเชียงใหม่ ปั่นจักรยานไหว้พระ 9 วัด (กิจกรรมวันอาทิตย์) ไหว้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ไหว้ศาลหลักเมือง ทัวร์ถนนคนเดิน ที่ได้ทั้งการเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพไปด้วยในตัว
ในการลงพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยคณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสร้างจิตอาสาพัฒนาสังคม ตลอดจนการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่ได้สิ้นสุดไปแล้วนี้ จะมีการรายงานสรุปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายซีเอสอาร์ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบูรณาการร่วมกับแนวทางซีเอสอาร์ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไป
แต่ทั้งนี้ผู้บริหารภาครัฐก็จะต้องมีจิตสำนึก CSR ในการคิดและทำงานเพื่อไปสู่ทิศทางที่ดีดังกล่าว เพื่อทำให้ความคาดหวังนั้น “เป็นจริง”
[Original Link]