หอฯ ภูเก็ต วอนลงทุนคู่ซีเอสอาร์
ชี้สิ่งแวดล้อมน่าห่วง ขอเจ้าภาพร่วมฟื้น
ศรัญยู ตันติเสรี
ศรัญยู ตันติเสรี
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เสื่อมโทรมลงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชน โดยเฉพาะวิถีการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะการเติบโตทางทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น ที่บางแห่งมาพร้อมเทคโนโลยีส่งผลให้ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมถูกกลืน กระทั่งสูญหาย ส่งผลให้เกิดปัญหากับชุมชนตามมามากมาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากภาคธุรกิจในฐานะผู้ใช้ทรัพยากร จึงต้องเกิดการกระตุ้น เพื่อให้องค์กรธุรกิจร่วมรับผิดชอบต่อสังคม CSR (Corporate Social Responsibility) มากขึ้นในขณะนี้
ในการระดมสมองเกี่ยวกับแนวคิด "ซีเอสอาร์" ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะนำไปสู่โมเดลการสร้างสรรค์โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ภาคส่วนต่างๆ จะนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกันดูแลสังคมนั้น มีผู้บริหารจากภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาสังคมเข้าร่วม ที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อเร็วๆ นี้
เอี่ยม ถาวรว่องวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต เปิดประเด็นว่า ในภาคใต้นั้น "ภูเก็ต" ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก ถึง 4 ล้านคน ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ธุรกิจที่ทำรายได้ถือเป็นหน้าเป็นตาและทำให้จังหวัดภูเก็ตขยายตัวก็คือ ท่องเที่ยวและโรงแรม แต่การขยายตัวดังกล่าวกลับพบว่า เกิดปัญหาขึ้นมากมายที่จังหวัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษ ขยะ และการจราจร ซึ่งปัญหาดังกล่าวจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข
“ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาถึง 4 ล้านคนต่อปี และมีคนพักอยู่ 1 ล้านคน ลองคิดดูว่าจำนวนคนที่ทะลักเข้ามานั้นขนาดไหน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงตามมากมาย ตอนนี้ต้องบอกว่าเป็นปัญหาใหญ่ของภูเก็ต โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วง ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ และผมคิดว่าจุดนี้แหละที่ภาคเอกชนหรือนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในภูเก็ตต้องทำ CSR”
ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ยังให้ความเห็นอีกว่า การที่ต้องการให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตปกครองพิเศษนั้น ความเห็นส่วนตัวตนมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรมคือ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีการกำหนดระเบียบควบคุมเรื่องการลงทุน พร้อมกับให้ภาคธุรกิจช่วยหันมามองเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ คำนึงเรื่องของการทำ CSR หรือใช้หลัก CSR เข้ามาช่วยเหลือชุมชน เพราะเชื่อว่าภาคเอกชนสามารถทำได้เนื่องจากมีความเข้มแข็ง
ขณะที่ อรอนงค์ สุวัณณาคาร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ทุกวันนี้บทบาทของสภาอุตฯ จังหวัดภูเก็ตให้การสนับสนุนเรื่องของการลงทุน และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสะอาด ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ไม่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และสามารถกำกับดูแลได้ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทที่มีการทำ CSR อยู่แล้ว เห็นได้จากการคำนึงถึงสังคมและชุมชน ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ขณะที่บางบริษัทอาจยังไม่เข้าใจเรื่องของ CSR เพียงพอ
“สภาอุตฯ ที่นี่มีสมาชิก 50 ราย มีหลากหลาย เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก และน้ำดื่ม ทั้ง 50 ราย อาจบอกได้ว่าเขามีการ CSR อยู่แล้ว เพราะมีมาตรฐานในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของเราที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากร เราเชื่อว่าสิ่งนี้แหละที่เรียกว่าการขับเคลื่อน CSR โดยต้องขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับ อบต. อบจ. ไปจนถึงภาคใหญ่อย่างระดับจังหวัด รวมทั้งการขับเคลื่อนจากภาคเอกชน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน”
ด้าน ภูมิกิตต์ รักแต่งาม อุปนายกฝ่ายแผนและพัฒนาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ไม่อยากเห็น ซีเอสอาร์ เป็นแค่แฟชั่น เพราะเรื่องของ CSR ตอนนี้ มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
ดูแล้วกลายเป็นเรื่องของแฟชั่น ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น การทำ CSR ไม่ใช่แค่ครั้งคราว แต่เป็นเรื่องของระยะยาวและความยั่งยืน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นเรื่องของการทำความดี ซึ่งการทำความดีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน จากนั้นก็จะขยายไปสู่คนอื่นเองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับองค์กรที่ต้องเริ่มทำ CSR หรือทำความดีจากภายในองค์กรก่อน จากนั้นค่อยขยายไปสู่ภายนอก หรือไปสู่สังคมและชุมชนต่อไป
ขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชน ซึ่งเน้นขับเคลื่อนโครงการซีเอสอาร์ในขณะนี้ โดย พีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการฝ่าย CSR ดีแทค กล่าวว่าแต่ละปีบริษัทจะมีการทำ CSR มากกว่าร้อยโครงการ โดยเริ่มต้นจากโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เน้นภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยล่าสุดได้เปิดตัวโครงการ “ทางด่วนข้อมูลการเกษตร” (Farmer Information Superhighway) ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหนุนนำการพัฒนาด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ โดยลูกค้าแฮปปี้และดีแทคที่สนใจใช้บริการรับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรสามารถสมัครผ่านบริการ หมายเลข *1677 ฟรี ผ่านทาง SMS วันละ 4-6 ข้อความ โดยเลือกหมวดที่เราสนใจได้มีทั้งหมด 3 หมวดคือ
ข้อมูลทุ่งรวงทอง สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกข้าว ข้อมูลสำคัญสำหรับชาวนา ข้อมูลสวนเงินไร่ทอง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ สำคัญสำหรับชาวไร่ และข้อมูลปศุสัตว์เศรษฐี สำหรับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจและการทำประมง “เราพยายามผสมผสานในสิ่งที่เรามีและเชี่ยวชาญนั่นก็คือเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะประโยชน์ที่เกิดกับเกษตรกรเพราะเราเชื่อว่า ภาคเกษตรเป็นคำตอบที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และดีแทคพร้อมที่จะเป็นต้นแบบการทำ CSR ให้กับองค์กรธุรกิจอื่นๆ“
สำหรับการสัมมนาซีเอสอาร์ระดับภาคครั้งนี้ ยังได้สรุปรวมการระดมความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ จากทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ จัดโดย สถาบันไทยพัฒน์, แคท เทเลคอม, ดีแทค, โตโยต้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามโครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน โดยจัดขึ้นทั่วประเทศ 76 จังหวัด ด้วยการเปิดห้องเรียนให้กับบรรดาเจ้าของกิจการหลากหลายสาขาอาชีพ ในพื้นที่ นักธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยในช่วงที่ผ่านมาโครงการนี้ได้มีการระดมสมองในภาคอีสานและภาคเหนือไปแล้ว และล่าสุดได้ขับเคลื่อนมาสู่ภาคใต้และจัดสัมมนาระดับภาคขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต
[Original Link]
ในการระดมสมองเกี่ยวกับแนวคิด "ซีเอสอาร์" ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะนำไปสู่โมเดลการสร้างสรรค์โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ภาคส่วนต่างๆ จะนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกันดูแลสังคมนั้น มีผู้บริหารจากภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาสังคมเข้าร่วม ที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อเร็วๆ นี้
เอี่ยม ถาวรว่องวงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต เปิดประเด็นว่า ในภาคใต้นั้น "ภูเก็ต" ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มาก ถึง 4 ล้านคน ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ธุรกิจที่ทำรายได้ถือเป็นหน้าเป็นตาและทำให้จังหวัดภูเก็ตขยายตัวก็คือ ท่องเที่ยวและโรงแรม แต่การขยายตัวดังกล่าวกลับพบว่า เกิดปัญหาขึ้นมากมายที่จังหวัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษ ขยะ และการจราจร ซึ่งปัญหาดังกล่าวจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข
“ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาถึง 4 ล้านคนต่อปี และมีคนพักอยู่ 1 ล้านคน ลองคิดดูว่าจำนวนคนที่ทะลักเข้ามานั้นขนาดไหน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงตามมากมาย ตอนนี้ต้องบอกว่าเป็นปัญหาใหญ่ของภูเก็ต โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วง ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ และผมคิดว่าจุดนี้แหละที่ภาคเอกชนหรือนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในภูเก็ตต้องทำ CSR”
ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ยังให้ความเห็นอีกว่า การที่ต้องการให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตปกครองพิเศษนั้น ความเห็นส่วนตัวตนมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรมคือ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีการกำหนดระเบียบควบคุมเรื่องการลงทุน พร้อมกับให้ภาคธุรกิจช่วยหันมามองเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ คำนึงเรื่องของการทำ CSR หรือใช้หลัก CSR เข้ามาช่วยเหลือชุมชน เพราะเชื่อว่าภาคเอกชนสามารถทำได้เนื่องจากมีความเข้มแข็ง
ขณะที่ อรอนงค์ สุวัณณาคาร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ทุกวันนี้บทบาทของสภาอุตฯ จังหวัดภูเก็ตให้การสนับสนุนเรื่องของการลงทุน และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสะอาด ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ไม่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และสามารถกำกับดูแลได้ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทที่มีการทำ CSR อยู่แล้ว เห็นได้จากการคำนึงถึงสังคมและชุมชน ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ขณะที่บางบริษัทอาจยังไม่เข้าใจเรื่องของ CSR เพียงพอ
“สภาอุตฯ ที่นี่มีสมาชิก 50 ราย มีหลากหลาย เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก และน้ำดื่ม ทั้ง 50 ราย อาจบอกได้ว่าเขามีการ CSR อยู่แล้ว เพราะมีมาตรฐานในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของเราที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากร เราเชื่อว่าสิ่งนี้แหละที่เรียกว่าการขับเคลื่อน CSR โดยต้องขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับ อบต. อบจ. ไปจนถึงภาคใหญ่อย่างระดับจังหวัด รวมทั้งการขับเคลื่อนจากภาคเอกชน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน”
ด้าน ภูมิกิตต์ รักแต่งาม อุปนายกฝ่ายแผนและพัฒนาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ไม่อยากเห็น ซีเอสอาร์ เป็นแค่แฟชั่น เพราะเรื่องของ CSR ตอนนี้ มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
ดูแล้วกลายเป็นเรื่องของแฟชั่น ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น การทำ CSR ไม่ใช่แค่ครั้งคราว แต่เป็นเรื่องของระยะยาวและความยั่งยืน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นเรื่องของการทำความดี ซึ่งการทำความดีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน จากนั้นก็จะขยายไปสู่คนอื่นเองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับองค์กรที่ต้องเริ่มทำ CSR หรือทำความดีจากภายในองค์กรก่อน จากนั้นค่อยขยายไปสู่ภายนอก หรือไปสู่สังคมและชุมชนต่อไป
ขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชน ซึ่งเน้นขับเคลื่อนโครงการซีเอสอาร์ในขณะนี้ โดย พีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการฝ่าย CSR ดีแทค กล่าวว่าแต่ละปีบริษัทจะมีการทำ CSR มากกว่าร้อยโครงการ โดยเริ่มต้นจากโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เน้นภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยล่าสุดได้เปิดตัวโครงการ “ทางด่วนข้อมูลการเกษตร” (Farmer Information Superhighway) ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารหนุนนำการพัฒนาด้านการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ โดยลูกค้าแฮปปี้และดีแทคที่สนใจใช้บริการรับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรสามารถสมัครผ่านบริการ หมายเลข *1677 ฟรี ผ่านทาง SMS วันละ 4-6 ข้อความ โดยเลือกหมวดที่เราสนใจได้มีทั้งหมด 3 หมวดคือ
ข้อมูลทุ่งรวงทอง สำหรับผู้ที่สนใจการปลูกข้าว ข้อมูลสำคัญสำหรับชาวนา ข้อมูลสวนเงินไร่ทอง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ สำคัญสำหรับชาวไร่ และข้อมูลปศุสัตว์เศรษฐี สำหรับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจและการทำประมง “เราพยายามผสมผสานในสิ่งที่เรามีและเชี่ยวชาญนั่นก็คือเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะประโยชน์ที่เกิดกับเกษตรกรเพราะเราเชื่อว่า ภาคเกษตรเป็นคำตอบที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และดีแทคพร้อมที่จะเป็นต้นแบบการทำ CSR ให้กับองค์กรธุรกิจอื่นๆ“
สำหรับการสัมมนาซีเอสอาร์ระดับภาคครั้งนี้ ยังได้สรุปรวมการระดมความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ จากทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ จัดโดย สถาบันไทยพัฒน์, แคท เทเลคอม, ดีแทค, โตโยต้า ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามโครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน โดยจัดขึ้นทั่วประเทศ 76 จังหวัด ด้วยการเปิดห้องเรียนให้กับบรรดาเจ้าของกิจการหลากหลายสาขาอาชีพ ในพื้นที่ นักธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยในช่วงที่ผ่านมาโครงการนี้ได้มีการระดมสมองในภาคอีสานและภาคเหนือไปแล้ว และล่าสุดได้ขับเคลื่อนมาสู่ภาคใต้และจัดสัมมนาระดับภาคขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต
[Original Link]