ผลสำรวจซีเอสอาร์ภาคเหนือ
เลือก ‘ธรรมชาติ-ศิลปวัฒนธรรม’
การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการระดมความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในเวทีการเผยแพร่ความรู้ด้านซีเอสอาร์ สู่ภูมิภาคที่คนภาคเหนือต้องการ คือการรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลเอาใจใส่ด้าน ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ
ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า การขับเคลื่อน CSR ในภาคเหนือ ถิ่นล้านนา ครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่มีการลงพื้นที่ทำ CSR Campus หรือการเปิดเวทีให้ความรู้ด้านซีเอสอาร์ ในจังหวัดภาคเหนือ โดยสรุปความต้องการสูงสุดอันดับแรกคือ การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งเมื่อคิดเป็นสัดส่วนมีความต้องการสูงถึง 46% รองลงมาคือเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สัดส่วน 26% อันดับ 3 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 14% อันดับ 4 การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 10% และการกำกับดูแลกิจการ (บรรษัทภิบาล) 4%
ทั้งนี้คนในภาคเหนือในทุกๆ ส่วนทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน ให้ความสนใจและตื่นตัวกันมากกับเรื่อง CSR และหลังจากที่ทำ CSR Campus ถิ่นล้านนาจบลงแล้ว ถ้าวัดระดับความเข้าใจของคนทั้ง 16 จังหวัด ถือว่ามีมากขึ้นซึ่งต่างจากก่อนที่ยังไม่ได้มีการจัด CSR Campus ที่ถือว่าระดับความเข้าใจในเรื่อง CSR ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ สำหรับการทำ CSR Campus ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 41 จังหวัด
นอกจากนี้ ผลจากการระดมสมอง CSR ของจังหวัดในภาคเหนือยังสามารถรวบรวมประเด็น CSR ได้ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเกษตรปลอดภัย โดย CSR ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอยู่ด้วยกัน 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ ลำพูน น่าน และสุโขทัย ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ขณะที่ CSR ที่เน้นการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม มีเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง สำหรับจังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องท่องเที่ยว คือ จังหวัดตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ส่วนจังหวัดที่ต้องการใช้ CSR ในการรณรงค์เรื่องเกษตรปลอดภัย ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ และพิจิตร
“จากการทำแคมปัสของภาคเหนือครั้งนี้ สิ่งที่สะท้อนออกมาคือผลลัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาคอีสานนั่นคือ ประชาชนต้องการความเร่งด่วนในทำซีเอสอาร์ โดยพุ่งเป้าที่เรื่องของการพัฒนาชุมชนและสังคม และประเด็นรองลงมาที่มีความสำคัญเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม นั่นแสดงให้เห็นว่าในบางจังหวัดอย่างเชียงใหม่ คนที่นี่มองว่าที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาที่เกิดขึ้นกลับได้ทำลายวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีความเห็นคล้ายคลึงกัน”
[Original Link]
การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการระดมความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในเวทีการเผยแพร่ความรู้ด้านซีเอสอาร์ สู่ภูมิภาคที่คนภาคเหนือต้องการ คือการรณรงค์เกี่ยวกับการดูแลเอาใจใส่ด้าน ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ
ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า การขับเคลื่อน CSR ในภาคเหนือ ถิ่นล้านนา ครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่มีการลงพื้นที่ทำ CSR Campus หรือการเปิดเวทีให้ความรู้ด้านซีเอสอาร์ ในจังหวัดภาคเหนือ โดยสรุปความต้องการสูงสุดอันดับแรกคือ การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งเมื่อคิดเป็นสัดส่วนมีความต้องการสูงถึง 46% รองลงมาคือเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สัดส่วน 26% อันดับ 3 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 14% อันดับ 4 การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 10% และการกำกับดูแลกิจการ (บรรษัทภิบาล) 4%
ทั้งนี้คนในภาคเหนือในทุกๆ ส่วนทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชน และประชาชน ให้ความสนใจและตื่นตัวกันมากกับเรื่อง CSR และหลังจากที่ทำ CSR Campus ถิ่นล้านนาจบลงแล้ว ถ้าวัดระดับความเข้าใจของคนทั้ง 16 จังหวัด ถือว่ามีมากขึ้นซึ่งต่างจากก่อนที่ยังไม่ได้มีการจัด CSR Campus ที่ถือว่าระดับความเข้าใจในเรื่อง CSR ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ สำหรับการทำ CSR Campus ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 41 จังหวัด
นอกจากนี้ ผลจากการระดมสมอง CSR ของจังหวัดในภาคเหนือยังสามารถรวบรวมประเด็น CSR ได้ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเกษตรปลอดภัย โดย CSR ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอยู่ด้วยกัน 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ ลำพูน น่าน และสุโขทัย ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ขณะที่ CSR ที่เน้นการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม มีเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง สำหรับจังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องท่องเที่ยว คือ จังหวัดตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ส่วนจังหวัดที่ต้องการใช้ CSR ในการรณรงค์เรื่องเกษตรปลอดภัย ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ และพิจิตร
“จากการทำแคมปัสของภาคเหนือครั้งนี้ สิ่งที่สะท้อนออกมาคือผลลัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาคอีสานนั่นคือ ประชาชนต้องการความเร่งด่วนในทำซีเอสอาร์ โดยพุ่งเป้าที่เรื่องของการพัฒนาชุมชนและสังคม และประเด็นรองลงมาที่มีความสำคัญเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม นั่นแสดงให้เห็นว่าในบางจังหวัดอย่างเชียงใหม่ คนที่นี่มองว่าที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาที่เกิดขึ้นกลับได้ทำลายวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีความเห็นคล้ายคลึงกัน”
[Original Link]