เปิดโมเดล CSR ชาวใต้ เน้นสังคม ‘สะอาด-น่าอยู่’
พร้อมเคลื่อนขบวน CSR Campus ภาคกลาง ปลาย ส.ค. นี้
หลังจากที่โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) ได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ “บรรษัทบริบาล” (Corporate Social Responsibility – CSR) ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในภาคเหนือเสร็จสิ้นไปแล้ว 36 จังหวัด สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งพันธมิตร บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) และบจ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก็ได้เปิดเวทีให้ความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ใน 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและค้นหาแนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดภายใต้โมเดล “THAI CSR” ซึ่งผลจากการระดมสมอง CSR ของจังหวัดในภาคใต้ ปรากฏว่ามีประเด็น CSR หลัก ได้แก่ ประเด็นเรื่องความสะอาด-การจัดการขยะ และประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิต-สภาพแวดล้อม
เน้นเมืองสะอาด-จัดการขยะ
CSR ที่เกี่ยวข้องกับความสะอาดและการจัดการกับขยะมีด้วยกันถึง 8 จังหวัด ได้แก่ "เมืองตรังเมืองสะอาด" ของ จ.ตรัง ซึ่งเสนอกิจกรรมที่จะปลูกจิตสำนึกตั้งแต่ในระดับครอบครัว สถานศึกษา องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการช่วยเหลือดูแลรักษาความสะอาดของจังหวัดตรัง การเพิ่มจุดทิ้งขยะ ถังแยกขยะ และการให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการลดจำนวนขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้จากขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
"ยะลาเมืองน่าอยู่คู่ความสะอาด" ของ จ.ยะลา ที่เน้นการทำความสะอาดในบ้านเรือน แหล่งท่องเที่ยว และศาสนสถาน การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่เพื่อสืบทอดให้ลูกหลาน ตลอดจนการร่วมกันฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ยะลาเป็นจังหวัดที่มีความสะอาด มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในสถานการณ์ที่วิกฤต และประชาชนมีสุขภาพดี และโครงการ "ร่วมใจพัฒนาบ้านเกิด" ด้วยการพัฒนาอาชีพที่อยู่ในความสนใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม สร้างสำนึกให้รู้จักพัฒนาชุมชนที่ตนอยู่อาศัย
"การแก้ปัญหาขยะและน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว" ของ จ.ภูเก็ต ที่ต้องการให้ชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะ การนำขยะที่ยังใช้ได้นำกลับมาใช้ใหม่ และการทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกวิธี โดยละเว้นการทิ้งลงแม่น้ำลำคลองหรือทะเล เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของจังหวัดให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว ทำให้บ้านเมืองมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และน่าอยู่ยิ่งขึ้น
"การสร้างจิตสำนึกรักษ์เมืองพังงา" ของ จ.พังงา ที่จะส่งเสริมให้คนในจังหวัดพังงา ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรส่วนท้องถิ่น อย่างเป็นกระบวนการในรูปแบบต่างๆ เช่น การอบรม สื่อวิทยุ ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับรณรงค์ ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนสำนึกในการทำหน้าที่ของตนเองในองค์กรว่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคมในด้านใดบ้าง ชาวพังงาจะได้มีจิตสำนึกและคำนึงถึงส่วนรวมมากขึ้น เมืองพังงาก็จะสะอาด สวยงาม น่าอยู่
"โครงการคลองสวยน้ำใส" ของ จ.นครศรีธรรมราช ที่มุ่งฟื้นแม่น้ำคูคลองของจังหวัดที่ตื้นเขิน สกปรก ใช้งานไม่ได้ ให้เป็นลำคลองใสสะอาด เป็นที่อาศัยเพาะพันธุ์ของปลา ปู กุ้ง หอย และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ด้วยการกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ ดำเนินการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางริมคลอง รวมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนและชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง การจัดประกวดความสะอาดในแต่ละชุมชน ตลอดจนการกำกับดูแลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
"การพัฒนาชายหาดสงขลา" ของ จ.สงขลา ที่เน้นการสร้างความสะอาดของชายหาดด้วยการลดปริมาณขยะตามหน้าหาด มีจุดทิ้งขยะอย่างเพียงพอด้วยรูปแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะให้ถูกที่ ทำข้อตกลงกับโรงงานอุตสาหกรรมตามแนวหาดในการลดปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่ทะเลสาบให้ได้ราว 10-20% ภายในปีนี้ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ป้อมยาม และแสงส่องสว่างอย่างเพียงพอในจุดล่อแหลมรอบชายหาด และการขยายแนวท่องเที่ยวชายหาด นอกเหนือจากหาดสมิหลา เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนใช้สอยเพิ่มมากขึ้น สามารถลดมลภาวะในทะเลและในอากาศ สร้างชื่อเสียงของทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับจังหวัดที่มีความสะอาดและปลอดภัยในการเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยว
"การดูแลสภาพแวดล้อม (ร่วมมือร่วมใจ) กำจัดขยะ" ของ จ.ระนอง ที่มุ่งปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมรู้จักการทิ้งขยะ ประเภทขยะ ด้วยการเดินรณรงค์และประชุมชี้แจง จัดหาอุปกรณ์คัดแยกขยะ (ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย) หามาตรการกำหนดเขตควบคุมพื้นที่ปลอดขยะ และมีแหล่งกำจัดขยะที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ระนองเป็นจังหวัดที่สะอาด งามตา ไร้มลพิษ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย
"ขยะสร้างคุณค่า" ของ จ.ปัตตานี ด้วยการรณรงค์ให้เยาวชนเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำขยะในโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก จูงใจและสร้างความตระหนักให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการช่วยลดขยะโดยรวม "การส่งเสริมสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย" ที่มุ่งให้เกิดความปลอดภัยในด้านสุขภาพ ลดค่าใช้จ่าย และช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต การควบคุมดูแลกระบวนการผลิต มีการตรวจและให้ใบรับรองผลผลิต ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
ห่วงใยคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม
จังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมมีอยู่ด้วยกัน 6 จังหวัด ได้แก่ "การสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต" ของ จ.นราธิวาส ที่มุ่งให้ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสมีวิถีความเป็นอยู่ มีภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน มีการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐในการจัดฝึกอบรมแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนการจัดหาตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
"การพัฒนาประมงชายฝั่งแบบยั่งยืน" ของ จ.กระบี่ ที่จะดำเนินการสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำประมงชายฝั่ง เน้นการทำประมงแบบพื้นบ้าน ด้วยการใช้อุปกรณ์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปะการัง รวมทั้งร่วมกันรักษาและเพิ่มพื้นที่ของป่าชายเลนให้คงอยู่ โดยมีอาสาสมัครคอยตรวจตราและเฝ้าระวัง ถือเป็นแนวทางการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลและความสมดุลของธรรมชาติที่สามารถช่วยป้องกันภัยจากธรรมชาติ และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อีกด้วย
"การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมพร (การปลูกป่าชายเลน)" ของ จ.ชุมพร ที่จะมีการแบ่งกลุ่มพื้นที่รับผิดชอบปลูกป่าชายเลนโดยการสำรวจข้อมูลพื้นที่ปลูกป่า มีการแบ่งพื้นที่ปลูกป่าให้บริษัทเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพ มีการตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้ เกษตรจังหวัด วนอุทยาน เพื่อดำเนินการจัดอบรมปลูกจิตสำนึกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การปลูกป่าชายเลน การประกวดพื้นที่ป่าชายเลน การติดตามประเมินผลและรายงานผล เพื่อเป็นการอนุรักษ์พื้นที่จังหวัดชุมพร เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ สร้างความสามัคคีในชุมชน ให้ชุมพรเป็นจังหวัดน่าอยู่
"โครงการสำนึกรักษ์ทะเลน้อย" ของ จ.พัทลุง ที่เสนอให้ประกาศเป็นวาระประชาชน เพื่อสร้างให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ในการร่วมกันบำบัดน้ำทิ้งจากครัวเรือน และร่วมกันพัฒนาต่อยอดให้พื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ประชาชนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น
"การสร้างสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน" ของ จ.สตูล ด้วยการปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดภาวะโลกร้อน โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อทำให้จังหวัดสตูลเป็นที่รู้จักมากขึ้น อันจะทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นตามไปด้วย
"ชีววิถีเศรษฐกิจพอเพียง (ถังพิทักษ์เมืองคนดี)" ของ จ.สุราษฎร์ธานี ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมในเรื่องเกษตรอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ถังและอุปกรณ์ในการกรองและทำจุลินทรีย์แห้งมาใช้เป็นตัวหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีการประชาสัมพันธ์ในทุกครัวเรือน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ ลดต้นทุน ลดมลพิษ และยังได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
ลุยกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปลาย ส.ค. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ต่อในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จ.สระบุรี ณ ห้องเดอะบอส โรงแรมสระบุรีอินน์ และจ.สุพรรณบุรี ณ ห้องบุษราคัม โรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์ ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม จ.ลพบุรี ณ ห้องท้าวทองกีบม้า โรงแรมลพบุรีอินน์ และจ.กาญจนบุรี ณ ห้องขุนแผน โรงแรมริเวอร์แคว ในวันอังคารที่ 26 สิงหาคม จ.สิงห์บุรี ณ ห้องอโนชา โรงแรมสิงห์บุรีพาเลซ และจ.ราชบุรี ณ ห้องกาสะลอง โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์โฮเท็ล ในวันพุธที่ 27 สิงหาคม จ.ชัยนาท ณ ห้องประชุมนำชัย โรงแรมนำชัย และจ.นครปฐม ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเวล ในวันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228
หลังจากที่โครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค (CSR Campus) ได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ “บรรษัทบริบาล” (Corporate Social Responsibility – CSR) ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในภาคเหนือเสร็จสิ้นไปแล้ว 36 จังหวัด สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งพันธมิตร บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) และบจ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก็ได้เปิดเวทีให้ความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ใน 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและค้นหาแนวทางการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัดภายใต้โมเดล “THAI CSR” ซึ่งผลจากการระดมสมอง CSR ของจังหวัดในภาคใต้ ปรากฏว่ามีประเด็น CSR หลัก ได้แก่ ประเด็นเรื่องความสะอาด-การจัดการขยะ และประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิต-สภาพแวดล้อม
เน้นเมืองสะอาด-จัดการขยะ
CSR ที่เกี่ยวข้องกับความสะอาดและการจัดการกับขยะมีด้วยกันถึง 8 จังหวัด ได้แก่ "เมืองตรังเมืองสะอาด" ของ จ.ตรัง ซึ่งเสนอกิจกรรมที่จะปลูกจิตสำนึกตั้งแต่ในระดับครอบครัว สถานศึกษา องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการช่วยเหลือดูแลรักษาความสะอาดของจังหวัดตรัง การเพิ่มจุดทิ้งขยะ ถังแยกขยะ และการให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการลดจำนวนขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้จากขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
"ยะลาเมืองน่าอยู่คู่ความสะอาด" ของ จ.ยะลา ที่เน้นการทำความสะอาดในบ้านเรือน แหล่งท่องเที่ยว และศาสนสถาน การอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่เพื่อสืบทอดให้ลูกหลาน ตลอดจนการร่วมกันฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ยะลาเป็นจังหวัดที่มีความสะอาด มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในสถานการณ์ที่วิกฤต และประชาชนมีสุขภาพดี และโครงการ "ร่วมใจพัฒนาบ้านเกิด" ด้วยการพัฒนาอาชีพที่อยู่ในความสนใจ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม สร้างสำนึกให้รู้จักพัฒนาชุมชนที่ตนอยู่อาศัย
"การแก้ปัญหาขยะและน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว" ของ จ.ภูเก็ต ที่ต้องการให้ชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะ การนำขยะที่ยังใช้ได้นำกลับมาใช้ใหม่ และการทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกวิธี โดยละเว้นการทิ้งลงแม่น้ำลำคลองหรือทะเล เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของจังหวัดให้เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว ทำให้บ้านเมืองมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และน่าอยู่ยิ่งขึ้น
"การสร้างจิตสำนึกรักษ์เมืองพังงา" ของ จ.พังงา ที่จะส่งเสริมให้คนในจังหวัดพังงา ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หน่วยราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรส่วนท้องถิ่น อย่างเป็นกระบวนการในรูปแบบต่างๆ เช่น การอบรม สื่อวิทยุ ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับรณรงค์ ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนสำนึกในการทำหน้าที่ของตนเองในองค์กรว่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคมในด้านใดบ้าง ชาวพังงาจะได้มีจิตสำนึกและคำนึงถึงส่วนรวมมากขึ้น เมืองพังงาก็จะสะอาด สวยงาม น่าอยู่
"โครงการคลองสวยน้ำใส" ของ จ.นครศรีธรรมราช ที่มุ่งฟื้นแม่น้ำคูคลองของจังหวัดที่ตื้นเขิน สกปรก ใช้งานไม่ได้ ให้เป็นลำคลองใสสะอาด เป็นที่อาศัยเพาะพันธุ์ของปลา ปู กุ้ง หอย และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ด้วยการกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ ดำเนินการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางริมคลอง รวมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนและชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง การจัดประกวดความสะอาดในแต่ละชุมชน ตลอดจนการกำกับดูแลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
"การพัฒนาชายหาดสงขลา" ของ จ.สงขลา ที่เน้นการสร้างความสะอาดของชายหาดด้วยการลดปริมาณขยะตามหน้าหาด มีจุดทิ้งขยะอย่างเพียงพอด้วยรูปแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะให้ถูกที่ ทำข้อตกลงกับโรงงานอุตสาหกรรมตามแนวหาดในการลดปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่ทะเลสาบให้ได้ราว 10-20% ภายในปีนี้ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ป้อมยาม และแสงส่องสว่างอย่างเพียงพอในจุดล่อแหลมรอบชายหาด และการขยายแนวท่องเที่ยวชายหาด นอกเหนือจากหาดสมิหลา เพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนใช้สอยเพิ่มมากขึ้น สามารถลดมลภาวะในทะเลและในอากาศ สร้างชื่อเสียงของทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับจังหวัดที่มีความสะอาดและปลอดภัยในการเดินทางมาพักผ่อนท่องเที่ยว
"การดูแลสภาพแวดล้อม (ร่วมมือร่วมใจ) กำจัดขยะ" ของ จ.ระนอง ที่มุ่งปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมรู้จักการทิ้งขยะ ประเภทขยะ ด้วยการเดินรณรงค์และประชุมชี้แจง จัดหาอุปกรณ์คัดแยกขยะ (ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย) หามาตรการกำหนดเขตควบคุมพื้นที่ปลอดขยะ และมีแหล่งกำจัดขยะที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ระนองเป็นจังหวัดที่สะอาด งามตา ไร้มลพิษ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย
"ขยะสร้างคุณค่า" ของ จ.ปัตตานี ด้วยการรณรงค์ให้เยาวชนเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำขยะในโรงเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก จูงใจและสร้างความตระหนักให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการช่วยลดขยะโดยรวม "การส่งเสริมสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย" ที่มุ่งให้เกิดความปลอดภัยในด้านสุขภาพ ลดค่าใช้จ่าย และช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ผลิต การควบคุมดูแลกระบวนการผลิต มีการตรวจและให้ใบรับรองผลผลิต ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
ห่วงใยคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อม
จังหวัดที่เน้นแนวทาง CSR ในเรื่องคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมมีอยู่ด้วยกัน 6 จังหวัด ได้แก่ "การสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต" ของ จ.นราธิวาส ที่มุ่งให้ประชาชนในจังหวัดนราธิวาสมีวิถีความเป็นอยู่ มีภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้น ด้วยการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน มีการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐในการจัดฝึกอบรมแรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนการจัดหาตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
"การพัฒนาประมงชายฝั่งแบบยั่งยืน" ของ จ.กระบี่ ที่จะดำเนินการสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำประมงชายฝั่ง เน้นการทำประมงแบบพื้นบ้าน ด้วยการใช้อุปกรณ์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปะการัง รวมทั้งร่วมกันรักษาและเพิ่มพื้นที่ของป่าชายเลนให้คงอยู่ โดยมีอาสาสมัครคอยตรวจตราและเฝ้าระวัง ถือเป็นแนวทางการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลและความสมดุลของธรรมชาติที่สามารถช่วยป้องกันภัยจากธรรมชาติ และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อีกด้วย
"การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมพร (การปลูกป่าชายเลน)" ของ จ.ชุมพร ที่จะมีการแบ่งกลุ่มพื้นที่รับผิดชอบปลูกป่าชายเลนโดยการสำรวจข้อมูลพื้นที่ปลูกป่า มีการแบ่งพื้นที่ปลูกป่าให้บริษัทเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพ มีการตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้ เกษตรจังหวัด วนอุทยาน เพื่อดำเนินการจัดอบรมปลูกจิตสำนึกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์การปลูกป่าชายเลน การประกวดพื้นที่ป่าชายเลน การติดตามประเมินผลและรายงานผล เพื่อเป็นการอนุรักษ์พื้นที่จังหวัดชุมพร เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ สร้างความสามัคคีในชุมชน ให้ชุมพรเป็นจังหวัดน่าอยู่
"โครงการสำนึกรักษ์ทะเลน้อย" ของ จ.พัทลุง ที่เสนอให้ประกาศเป็นวาระประชาชน เพื่อสร้างให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ในการร่วมกันบำบัดน้ำทิ้งจากครัวเรือน และร่วมกันพัฒนาต่อยอดให้พื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ประชาชนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น
"การสร้างสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน" ของ จ.สตูล ด้วยการปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดภาวะโลกร้อน โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อทำให้จังหวัดสตูลเป็นที่รู้จักมากขึ้น อันจะทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นตามไปด้วย
"ชีววิถีเศรษฐกิจพอเพียง (ถังพิทักษ์เมืองคนดี)" ของ จ.สุราษฎร์ธานี ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมในเรื่องเกษตรอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ถังและอุปกรณ์ในการกรองและทำจุลินทรีย์แห้งมาใช้เป็นตัวหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีการประชาสัมพันธ์ในทุกครัวเรือน เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ ลดต้นทุน ลดมลพิษ และยังได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
ลุยกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปลาย ส.ค. นี้
จากนี้ไป คณะวิทยากรจากสถาบันไทยพัฒน์ จะออกเดินสายค้นหาโมเดล CSR ต่อในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จ.สระบุรี ณ ห้องเดอะบอส โรงแรมสระบุรีอินน์ และจ.สุพรรณบุรี ณ ห้องบุษราคัม โรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์ ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม จ.ลพบุรี ณ ห้องท้าวทองกีบม้า โรงแรมลพบุรีอินน์ และจ.กาญจนบุรี ณ ห้องขุนแผน โรงแรมริเวอร์แคว ในวันอังคารที่ 26 สิงหาคม จ.สิงห์บุรี ณ ห้องอโนชา โรงแรมสิงห์บุรีพาเลซ และจ.ราชบุรี ณ ห้องกาสะลอง โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์โฮเท็ล ในวันพุธที่ 27 สิงหาคม จ.ชัยนาท ณ ห้องประชุมนำชัย โรงแรมนำชัย และจ.นครปฐม ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเวล ในวันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ csrcampus.com
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228