CSR DAY เพื่อธุรกิจ เพื่อพนักงาน และเพื่อสังคม
อธิชา ชื่นใจ
ทีมเดลินิวส์ 38
ต้องยอมรับว่าวันนี้แทบจะไม่มีธุรกิจใดไม่รู้จักคำว่า ซีเอสอาร์ (CSR : Corporate Social Responsibility) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยตรง ๆ ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ โดยสังเกตได้จากโครงการตอบแทนสังคมที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ความจริงแล้วซีเอสอาร์มีอะไรมากกว่านั้น
และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดโครงการ CSR DAY ขึ้น โดยมีบริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดีแทค บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.บางจากปิโตรเลียม เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงด้วย
“โครงการ CSR DAY จะไม่เกิดขึ้นหากว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร และต้องคำนึงถึงสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร ด้วยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรออกไปสู่สังคม แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องของการให้เงินอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ” ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute: CSRI) ระบุ
ที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวด้วยว่า ซีเอสอาร์จะมีส่วนช่วยให้องค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน และผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจอย่างในขณะนี้ไปได้ ด้วยการปลูกฝังให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ต่อลูกค้า ต่อองค์กร รวมถึงรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมภายนอก ซึ่งนี่จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานภายในองค์กรและก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งต่อไป
โดยในปี พ.ศ. 2552 นี้ จะจัดโครงการ CSR DAY ให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนในเบื้องต้นจำนวน 50 บริษัท ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ระบุว่า หากโครงการนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 50 บริษัทที่ตั้งเป้าไว้ ก็อาจจะขยายเพิ่มเติมได้
“การจะมองว่าอะไรคือซีเอสอาร์นั้น เพียงแค่มีลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาและเรารีบรับสายและพร้อมให้บริการ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบของสังคมเช่นกัน ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบของซีเอสอาร์ที่แตกต่างกันออกไป” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ยกตัวอย่าง
แต่กิจกรรมนอกสถานที่ (outing) สำหรับพนักงานในการอาสาร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะ การปลูกป่า หรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้านอื่น ๆ ตามวันพิเศษที่องค์กรกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ จะไม่ใช่รูปแบบในโครงการ CSR DAY นี้
สำหรับโครงการ CSR DAY นั้นประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจซีเอสอาร์เบื้องต้นที่ถูกต้อง (learning session) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่พนักงาน (exercise session) และกิจกรรมระดมความคิดกลุ่ม (workshop session) เพื่อค้นหาซีเอสอาร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร
กิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นในสถานประกอบการที่มุ่งให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในกิจกรรม ซีเอสอาร์ขององค์กร โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้ทุก ๆ วันของการทำงานเป็นวันซีเอสอาร์
พีระพงษ์ กลิ่นลออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญซีเอสอาร์ ระบุว่า ในการจัดโครงการ CSR DAY ในแต่ละบริษัทนั้น จะใช้เวลาในการอบรมไม่เกิน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพื่อหาซีเอสอาร์ที่เหมาะสมร่วมกันในหมู่พนักงาน และระหว่างนั้นเราก็อาจจะพบผู้แทนซีเอสอาร์ (CSR Agent) ซึ่งจะมาเป็นผู้นำให้กับพนักงานในการจัดการซีเอสอาร์ และประสานงานกับผู้บริหารของบริษัท
“เราจะเข้าไปช่วยให้คำแนะนำบริษัทจดทะเบียนอื่น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ให้เข้าใจถึงเรื่องซีเอสอาร์อย่างถูกต้อง และเจาะลึกหลากหลายมิติให้แก่พนักงานในทุกระดับ และยังเป็นการพัฒนาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยท้ายสุดก็คือทำให้ทุก ๆ วันของการปฏิบัติงานของทุกองค์กรเป็นวันซีเอสอาร์ ซึ่งตรงกับปณิธานซีเอสอาร์ทำดีทุกวันของดีแทคเช่นกัน”
บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจัดกิจกรรม CSR DAY ในสถานประกอบการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วมโครงการ และไม่มีการจำกัดจำนวนคนในแต่ละครั้งเพื่อให้เกิดความทั่วถึงในการดำเนินกิจกรรม แต่ในเบื้องต้นจะจำกัดบริษัทละ 1 ครั้งก่อน เพื่อให้สามารถจัดสรรเวลาให้กับบริษัทอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึง
สถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ CSR Day สามารถ สอบถามไปได้ที่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม 0-2229-2394 และสถาบันไทยพัฒน์ 0-2930-5227 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.csrday.com
[Original Link]
ทีมเดลินิวส์ 38
ต้องยอมรับว่าวันนี้แทบจะไม่มีธุรกิจใดไม่รู้จักคำว่า ซีเอสอาร์ (CSR : Corporate Social Responsibility) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยตรง ๆ ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ โดยสังเกตได้จากโครงการตอบแทนสังคมที่เกิดขึ้นมากมาย แต่ความจริงแล้วซีเอสอาร์มีอะไรมากกว่านั้น
และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดโครงการ CSR DAY ขึ้น โดยมีบริษัทที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดีแทค บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และ บมจ.บางจากปิโตรเลียม เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงด้วย
“โครงการ CSR DAY จะไม่เกิดขึ้นหากว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร และต้องคำนึงถึงสังคมไปพร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร ด้วยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรออกไปสู่สังคม แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องของการให้เงินอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเข้าใจ” ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute: CSRI) ระบุ
ที่ปรึกษาสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวด้วยว่า ซีเอสอาร์จะมีส่วนช่วยให้องค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน และผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจอย่างในขณะนี้ไปได้ ด้วยการปลูกฝังให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ ทั้งต่อตนเอง ต่อลูกค้า ต่อองค์กร รวมถึงรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมภายนอก ซึ่งนี่จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานภายในองค์กรและก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งต่อไป
โดยในปี พ.ศ. 2552 นี้ จะจัดโครงการ CSR DAY ให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนในเบื้องต้นจำนวน 50 บริษัท ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ระบุว่า หากโครงการนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 50 บริษัทที่ตั้งเป้าไว้ ก็อาจจะขยายเพิ่มเติมได้
“การจะมองว่าอะไรคือซีเอสอาร์นั้น เพียงแค่มีลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาและเรารีบรับสายและพร้อมให้บริการ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบของสังคมเช่นกัน ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบของซีเอสอาร์ที่แตกต่างกันออกไป” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ยกตัวอย่าง
แต่กิจกรรมนอกสถานที่ (outing) สำหรับพนักงานในการอาสาร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะ การปลูกป่า หรือการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้านอื่น ๆ ตามวันพิเศษที่องค์กรกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ จะไม่ใช่รูปแบบในโครงการ CSR DAY นี้
สำหรับโครงการ CSR DAY นั้นประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจซีเอสอาร์เบื้องต้นที่ถูกต้อง (learning session) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่พนักงาน (exercise session) และกิจกรรมระดมความคิดกลุ่ม (workshop session) เพื่อค้นหาซีเอสอาร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร
กิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นในสถานประกอบการที่มุ่งให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในกิจกรรม ซีเอสอาร์ขององค์กร โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้ทุก ๆ วันของการทำงานเป็นวันซีเอสอาร์
พีระพงษ์ กลิ่นลออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญซีเอสอาร์ ระบุว่า ในการจัดโครงการ CSR DAY ในแต่ละบริษัทนั้น จะใช้เวลาในการอบรมไม่เกิน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพื่อหาซีเอสอาร์ที่เหมาะสมร่วมกันในหมู่พนักงาน และระหว่างนั้นเราก็อาจจะพบผู้แทนซีเอสอาร์ (CSR Agent) ซึ่งจะมาเป็นผู้นำให้กับพนักงานในการจัดการซีเอสอาร์ และประสานงานกับผู้บริหารของบริษัท
“เราจะเข้าไปช่วยให้คำแนะนำบริษัทจดทะเบียนอื่น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ให้เข้าใจถึงเรื่องซีเอสอาร์อย่างถูกต้อง และเจาะลึกหลากหลายมิติให้แก่พนักงานในทุกระดับ และยังเป็นการพัฒนาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยท้ายสุดก็คือทำให้ทุก ๆ วันของการปฏิบัติงานของทุกองค์กรเป็นวันซีเอสอาร์ ซึ่งตรงกับปณิธานซีเอสอาร์ทำดีทุกวันของดีแทคเช่นกัน”
บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจัดกิจกรรม CSR DAY ในสถานประกอบการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วมโครงการ และไม่มีการจำกัดจำนวนคนในแต่ละครั้งเพื่อให้เกิดความทั่วถึงในการดำเนินกิจกรรม แต่ในเบื้องต้นจะจำกัดบริษัทละ 1 ครั้งก่อน เพื่อให้สามารถจัดสรรเวลาให้กับบริษัทอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึง
สถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ CSR Day สามารถ สอบถามไปได้ที่สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม 0-2229-2394 และสถาบันไทยพัฒน์ 0-2930-5227 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.csrday.com
[Original Link]