เอกชนชูแนวทาง CSR เร่งด่วน กลไกฝ่าวิกฤติระยะสั้น (จบ)
ศรัญยู ตันติเสรี
ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ หลายบริษัทพยายามงัดกลยุทธ์ต่างๆ ในการฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับองค์กร มีบริษัทหลายแห่งที่วางแนวทางหรือมาตรการระยะสั้น โดยเฉพาะการใช้ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (บรรษัทบริบาล) ช่วยเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น
นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือ ปัญหาแรงงานด้วยการเลย์ออฟพนักงานขององค์กรต่างๆ แต่สำหรับโตโยต้าแม้จะมีการลดพนักงานในส่วนของซับคอนแทรคบ้าง แต่ในส่วนพนักงานประจำก็ต้องรักษาไว้ ด้วยการเปิดโครงการเร่งด่วน ภายใต้ชื่อ speacial program คือ ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการจัดโครงการฝึกอบรมให้กับบัณฑิตที่กำลังจะจบการศึกษา โดยโตโยต้าได้ส่งช่างและเทรนเนอร์เข้าไปฝึกอบรมให้
สำหรับวิชาที่เข้าไปช่วยในการฝึกอบรมนี้มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ
1. Bussiness Management by Toyota Way เป็นการให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งโตโยต้าไม่ได้มีความแข็งแกร่งเฉพาะด้านการผลิตเท่านั้น แต่ในด้านของบริหารจัดการ ไฟแนนซ์ และบริหารบุคคล ก็แข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งบริษัทจะนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับ
2. Productivity ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับระบบการผลิต โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติเช่นนี้ โดยใช้หลักการของ Toyota System
3. Practical Problem Solving เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเรื่องของการบริหาร ซึ่งโตโยต้าอยู่เมืองไทยมาถึง 40 ปีฝ่าวิกฤติและแก้ไขปัญหามามาก จึงต้องการถ่ายประสบการณ์นี้
4. QC Cycle อบรมในเรื่องของคุณภาพในโรงงานต่างๆ ว่ากว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นจะต้องมีระบบคุณภาพอย่างไรบ้าง
"เราทำเป็นไพล็อตโปรแกรมโดยจะเริ่มที่ธรรมศาสตร์เป็นแห่งแรกในวันที่ 11 มีนาคมนี้ ตามด้วยจุฬาและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางซีเอสอาร์แบบเร่งด่วน ที่เราต้องการรักษาทรัพยากรบุคคล พร้อมๆ กับการช่วยเหลือสังคมนั่นคือบัณฑิตที่กำลังจะจบใหม่"
บางจากเปิดพื้นที่ขายของในปั๊มฟรี
วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บางจากปิโตรเลียม บอกว่า บางจากยึดหลักดำเนินธุรกิจว่า สังคมอยู่ได้บริษัทก็อยู่ได้ โครงการเร่งด่วนที่กำลังทำอยู่คือ สำรวจว่าขณะนี้มีแรงงานที่ตกงานแล้วกลับบ้านมากหรือไม่ และมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้สถานีบริการน้ำมันบางจาก เพื่อดึงให้คนเหล่านี้เข้ามาทำงานในปั๊ม หรือเปิดพื้นที่ให้เข้ามาค้าขายโดยไม่คิดค่าเช่าที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและเจรจากับเจ้าของปั๊ม
"เรามีเน็ตเวิร์คอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ พร้อมๆ กับการช่วยเหลือคนเหล่านี้ อย่างน้อยให้เขาพอมีรายได้ประทังชีวิตไปได้ ถึงเวลาเมื่อเศรษฐกิจดีค่อยขยับขยายหรือว่ากันใหม่ ตอนนี้เรากำลังดูว่าจุดไหนทำได้เราก็จะเร่งทำไปก่อน นอกจากนี้ก็กำลังดูว่าชุมชนที่อยู่รอบข้างโรงกลั่นมีคนตกงานเยอะหรือไม่ และจะมีแผนกไหนที่พอจะให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานในโรงกลั่น"
ไมเนอร์ เปิดสอนเตรียมตัวก่อนสมัครงาน
สุกิจ อุทินทุ รองประธานฝ่ายพัฒนาสังคม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บอกว่า ที่ผ่านมาก็ได้มีหลายโครงการเกี่ยวกับซีเอสอาร์ โดยใช้ธุรกิจของไมเนอร์ที่มีอยู่ เช่น โรงแรม ด้วยการจัดอีเวนท์ต่างๆ ล่าสุดที่จัดโครงการโปโลช้างโดยร่วมกับ ททท.ก็ได้มีการนำช้างเร่ร่อนเข้ามาร่วมโครงการนี้ และล่าสุดตนมีแนวคิดที่จะทำโครงการฝึกอบรมบัณฑิตในเรื่องของการสมัครงาน
"โครงการนี้เราเคยทำมาบ้างแล้ว และพอถึงในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ เรามองว่าช่วงนี้เหมาะสมที่จะนำโครงการนี้มาใช้ ที่ผ่านมามีบัณฑิตจบใหม่จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าสมัครงานจะต้องทำตัวอย่างไร ทั้งบุคลิกภาพ การดำเนินการ ซึ่งเรามีโปรเจคแนะแนวนี้อยู่ ในแต่ละปีเรามีการสัมภาษณ์นักศึกษาจบใหม่เหล่านี้ที่มาสมัครงานเป็นหมื่นๆ คน เราจะนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาถ่ายทอด ช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะสมอย่างยิ่ง"
[Original Link]
ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ หลายบริษัทพยายามงัดกลยุทธ์ต่างๆ ในการฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับองค์กร มีบริษัทหลายแห่งที่วางแนวทางหรือมาตรการระยะสั้น โดยเฉพาะการใช้ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (บรรษัทบริบาล) ช่วยเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น
นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือ ปัญหาแรงงานด้วยการเลย์ออฟพนักงานขององค์กรต่างๆ แต่สำหรับโตโยต้าแม้จะมีการลดพนักงานในส่วนของซับคอนแทรคบ้าง แต่ในส่วนพนักงานประจำก็ต้องรักษาไว้ ด้วยการเปิดโครงการเร่งด่วน ภายใต้ชื่อ speacial program คือ ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการจัดโครงการฝึกอบรมให้กับบัณฑิตที่กำลังจะจบการศึกษา โดยโตโยต้าได้ส่งช่างและเทรนเนอร์เข้าไปฝึกอบรมให้
สำหรับวิชาที่เข้าไปช่วยในการฝึกอบรมนี้มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ
1. Bussiness Management by Toyota Way เป็นการให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งโตโยต้าไม่ได้มีความแข็งแกร่งเฉพาะด้านการผลิตเท่านั้น แต่ในด้านของบริหารจัดการ ไฟแนนซ์ และบริหารบุคคล ก็แข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งบริษัทจะนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับ
2. Productivity ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับระบบการผลิต โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติเช่นนี้ โดยใช้หลักการของ Toyota System
3. Practical Problem Solving เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเรื่องของการบริหาร ซึ่งโตโยต้าอยู่เมืองไทยมาถึง 40 ปีฝ่าวิกฤติและแก้ไขปัญหามามาก จึงต้องการถ่ายประสบการณ์นี้
4. QC Cycle อบรมในเรื่องของคุณภาพในโรงงานต่างๆ ว่ากว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นจะต้องมีระบบคุณภาพอย่างไรบ้าง
"เราทำเป็นไพล็อตโปรแกรมโดยจะเริ่มที่ธรรมศาสตร์เป็นแห่งแรกในวันที่ 11 มีนาคมนี้ ตามด้วยจุฬาและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางซีเอสอาร์แบบเร่งด่วน ที่เราต้องการรักษาทรัพยากรบุคคล พร้อมๆ กับการช่วยเหลือสังคมนั่นคือบัณฑิตที่กำลังจะจบใหม่"
บางจากเปิดพื้นที่ขายของในปั๊มฟรี
วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บางจากปิโตรเลียม บอกว่า บางจากยึดหลักดำเนินธุรกิจว่า สังคมอยู่ได้บริษัทก็อยู่ได้ โครงการเร่งด่วนที่กำลังทำอยู่คือ สำรวจว่าขณะนี้มีแรงงานที่ตกงานแล้วกลับบ้านมากหรือไม่ และมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้สถานีบริการน้ำมันบางจาก เพื่อดึงให้คนเหล่านี้เข้ามาทำงานในปั๊ม หรือเปิดพื้นที่ให้เข้ามาค้าขายโดยไม่คิดค่าเช่าที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและเจรจากับเจ้าของปั๊ม
"เรามีเน็ตเวิร์คอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ พร้อมๆ กับการช่วยเหลือคนเหล่านี้ อย่างน้อยให้เขาพอมีรายได้ประทังชีวิตไปได้ ถึงเวลาเมื่อเศรษฐกิจดีค่อยขยับขยายหรือว่ากันใหม่ ตอนนี้เรากำลังดูว่าจุดไหนทำได้เราก็จะเร่งทำไปก่อน นอกจากนี้ก็กำลังดูว่าชุมชนที่อยู่รอบข้างโรงกลั่นมีคนตกงานเยอะหรือไม่ และจะมีแผนกไหนที่พอจะให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานในโรงกลั่น"
ไมเนอร์ เปิดสอนเตรียมตัวก่อนสมัครงาน
สุกิจ อุทินทุ รองประธานฝ่ายพัฒนาสังคม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บอกว่า ที่ผ่านมาก็ได้มีหลายโครงการเกี่ยวกับซีเอสอาร์ โดยใช้ธุรกิจของไมเนอร์ที่มีอยู่ เช่น โรงแรม ด้วยการจัดอีเวนท์ต่างๆ ล่าสุดที่จัดโครงการโปโลช้างโดยร่วมกับ ททท.ก็ได้มีการนำช้างเร่ร่อนเข้ามาร่วมโครงการนี้ และล่าสุดตนมีแนวคิดที่จะทำโครงการฝึกอบรมบัณฑิตในเรื่องของการสมัครงาน
"โครงการนี้เราเคยทำมาบ้างแล้ว และพอถึงในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ เรามองว่าช่วงนี้เหมาะสมที่จะนำโครงการนี้มาใช้ ที่ผ่านมามีบัณฑิตจบใหม่จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าสมัครงานจะต้องทำตัวอย่างไร ทั้งบุคลิกภาพ การดำเนินการ ซึ่งเรามีโปรเจคแนะแนวนี้อยู่ ในแต่ละปีเรามีการสัมภาษณ์นักศึกษาจบใหม่เหล่านี้ที่มาสมัครงานเป็นหมื่นๆ คน เราจะนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาถ่ายทอด ช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะสมอย่างยิ่ง"
[Original Link]