ซีเอสอาร์ในดวงใจองค์กร 4 ภาค
เหนือ-ใต้-อีสาน-กลาง หนุนแนวเพื่อสังคมเฉพาะถิ่น
องค์กรธุรกิจเดินหน้าทุ่มงบซีเอส อาร์ 47% ระบุแม้เศรษฐกิจตกต่ำ แต่ต้องทำเพิ่มขึ้น ขณะที่มีความสนใจ ทำรายงานซีเอสอาร์เพียง 20% ผู้ประ กอบการภาคเหนือสนใจศิลปวัฒนธรรม อีสานเน้นแนวทางอาชีพ ภาคกลางหนุน สังคมสิ่งแวดล้อม ภาคใต้เสริมความสะอาดน่าอยู่
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า “รายงาน CSR ประเทศไทย” จัดขึ้นโดยสถาบัน ไทยพัฒน์ฯ โดยได้รับความร่วมมือจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
โดยนอกจากได้มีการเผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี 2552 จาก ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีการนำข้อมูลที่สังเคราะห์ จากผลการระดมสมองที่ตกผลึกเป็นแนวทาง CSR โมเดลภูมิปัญญาท้องถิ่น 75 จังหวัดทั่วประเทศ จากการเดินทางสายเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค ในโครงการ CSR Campus มานำเสนอในงานครั้งนี้ด้วย
ผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจ กรรม CSR รวบรวมจาก 2 เวที ได้แก่ เวทีเสวนาทิศทางและวิสัยทัศน์ CSR ปี 2552 ซึ่งจัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมราว 400 คน และจากเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลักดันนโยบาย CSR ระดับประเทศ ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ เมื่อเดือน ธันวาคม 2551 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมราว 150 คน จาก 54 จังหวัดทั่วประเทศ
จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า แม้ในสภาพการณ์ที่หลายองค์กรได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่แนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ พบว่าร้อยละ 47 ระบุว่าจะทำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42 ทำเท่าเดิม และร้อยละ 10 จะทำลดลง ขณะที่งบประมาณในการใช้ดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46 ระบุว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 32 จะใช้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 21 จะใช้ลดลง
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อพัฒนาการของ CSR ในประเทศไทย ผู้ประกอบการ ในส่วนกลาง ระบุว่า ร้อยละ 27 เพิ่งเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ร้อยละ 53 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 16 มีความก้าวหน้าดีมาก ขณะที่ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค ระบุว่า ร้อยละ 45 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 40 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 12 มีความก้าวหน้าดีมาก
ส่วนคำถามเรื่องการจัดทำรายงาน CSR (หรือ Sustainability Report) ขององค์กร พบว่า องค์กรธุรกิจที่ยังไม่มีแนวคิดในการจัดทำรายงาน CSR มีอยู่ร้อยละ 54 สำหรับองค์กรที่กำลังจะทำในปีนี้ มีอยู่ร้อยละ 26 และที่ได้จัดทำแล้ว มีอยู่ร้อยละ 20 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการสำรวจความตื่นตัวในการทำ CSR ของภาคธุรกิจในแต่ละภูมิภาค พบว่า ร้อยละ 45 มีความตื่นตัวน้อย ร้อยละ 42 มีความตื่นตัวในระดับปานกลาง และร้อยละ 12 มีความตื่นตัวมาก ส่วนผลการสำรวจเรื่องเนื้อหา CSR ที่ต้องการในเวทีภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ CSR อย่างเป็นระบบมากสุด ร้อยละ 20 ต้องการวิธีการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR และร้อยละ 11 ต้องการความรู้ CSR เบื้องต้น
แนวนโยบายด้านซีเอสอาร์ในปี 2552 มีจุดเน้นด้านเศรษฐกิจร้อยละ 5 การศึกษาร้อยละ 19 สิ่งแวดล้อมร้อยละ 36 สังคมร้อยละ 37 อีกทั้งยังมีความคิดเห็นว่า แนวโน้มด้านซีเอสอาร์ใน 3 ปีข้างหน้าควรเน้นไปที่เศรษฐกิจร้อยละ 13 สังคมร้อยละ 23 สิ่งแวดล้อมร้อยละ 29 และการศึกษาร้อยละ 35
ด้านข้อมูล CSR ในแต่ละภูมิภาค ที่เป็นการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมโครง การ CSR Campus จำนวน 4,000 คนใน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้เลือก “ธรรมชาติ-ศิลปวัฒนธรรม” เป็นประ เด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเกษตรปลอดภัย
กลุ่มจังหวัดภาคอีสาน 19 จังหวัด จะเน้น “อาชีพ-แหล่งผลิต” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งการแก้ไขภาวะโลกร้อน
ส่วนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 25 จังหวัด จะมุ่งลดผลกระทบ “สังคม-สิ่งแวดล้อม” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ สิ่งแวด ล้อมและสุขภาวะ ความเป็นอยู่และความ ปลอดภัยในการบริโภค การฟื้นฟูธรรมชาติ การเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนประเด็นเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ และ ชุมชน ขณะที่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด ชูสังคม “สะอาด-น่าอยู่” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหามลภาวะจากขยะน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
สำหรับรายละเอียดแนวทางการพัฒนา CSR ในแต่ละจังหวัด ทางโครงการฯ ได้จัดทำเป็นหนังสือ CSR 4 ภาค บทสรุปแห่งการเดินทางของโครงการ CSR Campus องค์กรธุรกิจใดที่สนใจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางกิจกรรมความ รับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และใช้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร สามารถ ติดต่อขอรับได้ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร โทร. 0-2104-3508 หรือบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) สำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด (CSR Office) โทร.0-2202-8000 และบจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สำนักงานวางแผนส่งเสริมสังคม โทร. 0-2386-1393-5
[Original Link]
องค์กรธุรกิจเดินหน้าทุ่มงบซีเอส อาร์ 47% ระบุแม้เศรษฐกิจตกต่ำ แต่ต้องทำเพิ่มขึ้น ขณะที่มีความสนใจ ทำรายงานซีเอสอาร์เพียง 20% ผู้ประ กอบการภาคเหนือสนใจศิลปวัฒนธรรม อีสานเน้นแนวทางอาชีพ ภาคกลางหนุน สังคมสิ่งแวดล้อม ภาคใต้เสริมความสะอาดน่าอยู่
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า “รายงาน CSR ประเทศไทย” จัดขึ้นโดยสถาบัน ไทยพัฒน์ฯ โดยได้รับความร่วมมือจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
โดยนอกจากได้มีการเผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี 2552 จาก ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีการนำข้อมูลที่สังเคราะห์ จากผลการระดมสมองที่ตกผลึกเป็นแนวทาง CSR โมเดลภูมิปัญญาท้องถิ่น 75 จังหวัดทั่วประเทศ จากการเดินทางสายเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค ในโครงการ CSR Campus มานำเสนอในงานครั้งนี้ด้วย
ผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจ กรรม CSR รวบรวมจาก 2 เวที ได้แก่ เวทีเสวนาทิศทางและวิสัยทัศน์ CSR ปี 2552 ซึ่งจัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมราว 400 คน และจากเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลักดันนโยบาย CSR ระดับประเทศ ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ เมื่อเดือน ธันวาคม 2551 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมราว 150 คน จาก 54 จังหวัดทั่วประเทศ
จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า แม้ในสภาพการณ์ที่หลายองค์กรได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่แนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ พบว่าร้อยละ 47 ระบุว่าจะทำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42 ทำเท่าเดิม และร้อยละ 10 จะทำลดลง ขณะที่งบประมาณในการใช้ดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46 ระบุว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 32 จะใช้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 21 จะใช้ลดลง
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อพัฒนาการของ CSR ในประเทศไทย ผู้ประกอบการ ในส่วนกลาง ระบุว่า ร้อยละ 27 เพิ่งเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ร้อยละ 53 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 16 มีความก้าวหน้าดีมาก ขณะที่ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค ระบุว่า ร้อยละ 45 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 40 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 12 มีความก้าวหน้าดีมาก
ส่วนคำถามเรื่องการจัดทำรายงาน CSR (หรือ Sustainability Report) ขององค์กร พบว่า องค์กรธุรกิจที่ยังไม่มีแนวคิดในการจัดทำรายงาน CSR มีอยู่ร้อยละ 54 สำหรับองค์กรที่กำลังจะทำในปีนี้ มีอยู่ร้อยละ 26 และที่ได้จัดทำแล้ว มีอยู่ร้อยละ 20 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการสำรวจความตื่นตัวในการทำ CSR ของภาคธุรกิจในแต่ละภูมิภาค พบว่า ร้อยละ 45 มีความตื่นตัวน้อย ร้อยละ 42 มีความตื่นตัวในระดับปานกลาง และร้อยละ 12 มีความตื่นตัวมาก ส่วนผลการสำรวจเรื่องเนื้อหา CSR ที่ต้องการในเวทีภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ CSR อย่างเป็นระบบมากสุด ร้อยละ 20 ต้องการวิธีการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR และร้อยละ 11 ต้องการความรู้ CSR เบื้องต้น
แนวนโยบายด้านซีเอสอาร์ในปี 2552 มีจุดเน้นด้านเศรษฐกิจร้อยละ 5 การศึกษาร้อยละ 19 สิ่งแวดล้อมร้อยละ 36 สังคมร้อยละ 37 อีกทั้งยังมีความคิดเห็นว่า แนวโน้มด้านซีเอสอาร์ใน 3 ปีข้างหน้าควรเน้นไปที่เศรษฐกิจร้อยละ 13 สังคมร้อยละ 23 สิ่งแวดล้อมร้อยละ 29 และการศึกษาร้อยละ 35
ด้านข้อมูล CSR ในแต่ละภูมิภาค ที่เป็นการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมโครง การ CSR Campus จำนวน 4,000 คนใน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้เลือก “ธรรมชาติ-ศิลปวัฒนธรรม” เป็นประ เด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเกษตรปลอดภัย
กลุ่มจังหวัดภาคอีสาน 19 จังหวัด จะเน้น “อาชีพ-แหล่งผลิต” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งการแก้ไขภาวะโลกร้อน
ส่วนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 25 จังหวัด จะมุ่งลดผลกระทบ “สังคม-สิ่งแวดล้อม” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ สิ่งแวด ล้อมและสุขภาวะ ความเป็นอยู่และความ ปลอดภัยในการบริโภค การฟื้นฟูธรรมชาติ การเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนประเด็นเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ และ ชุมชน ขณะที่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด ชูสังคม “สะอาด-น่าอยู่” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหามลภาวะจากขยะน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
สำหรับรายละเอียดแนวทางการพัฒนา CSR ในแต่ละจังหวัด ทางโครงการฯ ได้จัดทำเป็นหนังสือ CSR 4 ภาค บทสรุปแห่งการเดินทางของโครงการ CSR Campus องค์กรธุรกิจใดที่สนใจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางกิจกรรมความ รับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และใช้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร สามารถ ติดต่อขอรับได้ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร โทร. 0-2104-3508 หรือบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) สำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด (CSR Office) โทร.0-2202-8000 และบจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สำนักงานวางแผนส่งเสริมสังคม โทร. 0-2386-1393-5
[Original Link]