รายงาน CSR ประเทศไทย
4 องค์กร ขับเคลื่อน CSR CAMPUS เผยแนวทาง CSR ประเทศไทย
หนุนสร้างพลังความร่วมมือขององค์กรธุรกิจ
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จัดเวที “รายงาน CSR ประเทศไทย” เผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี 2552 จากผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น กะเทาะข้อมูล CSR ระดับจังหวัดและภูมิภาค ที่ได้จากการเดินสายเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค ในโครงการ CSR Campus 75 จังหวัดทั่วไทย เป็นหนังสือ CSR 4 ภาค แจกให้แก่องค์กรธุรกิจที่สนใจ
นับตั้งแต่ที่ แคท ดีแทค และโตโยต้า ได้จับมือกับสถาบันไทยพัฒน์ ริเริ่มโครงการ CSR Campus เมื่อเดือนเมษายน ปี 2551 การเดินทางของ CSR Campus ในช่วงเวลา 5 เดือนกับการเยือนทุกจังหวัด มีทั้งผู้ประกอบการ นักธุรกิจ พนักงานขององค์กรต่างๆ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันทั้งสิ้นราว 4,000 คน ซึ่งนอกจากจะบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ CSR ให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีการรวบรวมผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม สรุปเป็นแนวทาง CSR ที่ได้จากการระดมสมองในแต่ละจังหวัด จัดทำเป็นหนังสือ CSR 4 ภาค เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการวางกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และช่วยให้สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจด้วย
คุณสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะทำงานโครงการ CSR ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวในเวที“รายงาน CSR ประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรม เดอะ แกรนด์ อยุธยา บางกอก ถนนรัชดาภิเษก ในวันนี้ (3 เม.ย. 52) ว่า “ประเทศเรายังมีกิจกรรมมากมายด้าน CSR ที่ต้องทำ หากความร่วมมือกันทำงานขององค์กรสามารถขยายไปยังหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและคนทั่วไปได้ ก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศ และที่สำคัญ การทำกิจกรรม CSR ต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชน และต้องทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จึงจะเกิดความยั่งยืน”
คุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความร่วมมือร่วมใจกันขององค์กร และความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินกิจกรรม CSR โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จึงสนับสนุนการจัด CSR Campus ทั้ง 75 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การร่วมคิดร่วมทำงานด้วยกัน ก่อให้เกิดพลังมหาศาลซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างเป็นพลวัตร ทั้งความคิดและการปฏิบัติ ลดการสูญเสียและตกหล่นของศักยภาพอันเนื่องมาจากการแข่งขัน ทำให้กิจกรรม CSR สามารถก้าวข้ามปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดในเรื่องของทุน เวลาและทรัพยากรบุคคลไปได้ เป็น White Ocean พื้นที่ของการสนับสนุนร่วมกันทำความดีเพื่อความสุขที่ยั่งยืน”
ด้านคุณวิเชียร เอมประเสริฐสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ร่วมให้ความเห็นว่า “เป็นที่น่ายินดีอย่างมาก ที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นผ่านโครงการ CSR Campus เพื่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในชุมชนนั้นๆ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้าน CSR ในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก อีกทั้งเรายังได้รับความร่วมมือจากผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตชิ้นส่วนโตโยต้าทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการนี้กว่า 500 คน”
“นอกจากนี้ โครงการ CSR Campus ยังเป็นการเสริมสร้างรากฐานความรู้เข้าใจในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกัน โดยในท้ายที่สุด โตโยต้าอยากจะเห็นทุกภาคส่วนมีการร่วมมือและรวมพลังกันเป็นกัลยาณมิตรที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมไทยร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป”
สำหรับผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปีนี้ จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เผยให้เห็นว่า แม้ในสภาพการณ์ที่หลายองค์กรได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน แต่แนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ พบว่า ร้อยละ 47 ระบุว่าจะทำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42 ทำเท่าเดิม และร้อยละ 10 จะทำลดลง ขณะที่ งบประมาณในการใช้ดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46 ระบุว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 32 จะใช้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 21 จะใช้ลดลง
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อพัฒนาการของ CSR ในประเทศไทย ผู้ประกอบการในส่วนกลาง ระบุว่า ร้อยละ 27 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 53 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 16 มีความก้าวหน้าดีมาก ขณะที่ ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค ระบุว่า ร้อยละ 45 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 40 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 12 มีความก้าวหน้าดีมาก
ส่วนคำถามเรื่องการจัดทำรายงาน CSR (หรือ Sustainability Report) ขององค์กร พบว่า องค์กรธุรกิจที่ยังไม่มีแนวคิดในการจัดทำรายงาน CSR มีอยู่ร้อยละ 54 สำหรับองค์กรที่กำลังจะทำในปีนี้ มีอยู่ร้อยละ 26 และที่ได้จัดทำแล้ว มีอยู่ร้อยละ 20 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการสำรวจความตื่นตัวในการทำ CSR ของภาคธุรกิจในแต่ละภูมิภาค พบว่า ร้อยละ 45 มีความตื่นตัวน้อย ร้อยละ 42 มีความตื่นตัวในระดับปานกลาง และร้อยละ 12 มีความตื่นตัวมาก ส่วนผลการสำรวจเรื่องเนื้อหา CSR ที่ต้องการในเวทีภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ CSR อย่างเป็นระบบมากสุด ร้อยละ 20 ต้องการวิธีการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR และร้อยละ 11 ต้องการความรู้ CSR เบื้องต้น
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเดินทางของ CSR Campus ในปีที่ผ่านมา ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง ทั้งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ CSR เบื้องต้นที่ถูกต้อง ได้แนวทางในการพัฒนากิจกรรม CSR ขององค์กรตนเอง ขณะเดียวกัน เราเองก็ได้เรียนรู้ถึงความต้องการและประเด็น CSR ของท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยการทำงานขับเคลื่อน CSR ประเทศไทยในลักษณะนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนา CSR ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และสอดคล้องกับวิถีของท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยการดำเนินงาน CSR จากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”
ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจที่มีความประสงค์จะขอรับหนังสือ CSR 4 ภาค บทสรุปแห่งการเดินทางของโครงการ CSR Campus 75 จังหวัด สามารถติดต่อขอรับได้ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร โทร. 02 104 3508 หรือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) สำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด (CSR Office) โทร. 02 202 8000 และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สำนักงานวางแผนส่งเสริมสังคม โทร. 02 386 1393-5 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228 อีเมล info@csrcampus.com
หนุนสร้างพลังความร่วมมือขององค์กรธุรกิจ
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จัดเวที “รายงาน CSR ประเทศไทย” เผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี 2552 จากผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น กะเทาะข้อมูล CSR ระดับจังหวัดและภูมิภาค ที่ได้จากการเดินสายเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค ในโครงการ CSR Campus 75 จังหวัดทั่วไทย เป็นหนังสือ CSR 4 ภาค แจกให้แก่องค์กรธุรกิจที่สนใจ
นับตั้งแต่ที่ แคท ดีแทค และโตโยต้า ได้จับมือกับสถาบันไทยพัฒน์ ริเริ่มโครงการ CSR Campus เมื่อเดือนเมษายน ปี 2551 การเดินทางของ CSR Campus ในช่วงเวลา 5 เดือนกับการเยือนทุกจังหวัด มีทั้งผู้ประกอบการ นักธุรกิจ พนักงานขององค์กรต่างๆ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันทั้งสิ้นราว 4,000 คน ซึ่งนอกจากจะบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ CSR ให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีการรวบรวมผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม สรุปเป็นแนวทาง CSR ที่ได้จากการระดมสมองในแต่ละจังหวัด จัดทำเป็นหนังสือ CSR 4 ภาค เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการวางกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และช่วยให้สามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจด้วย
คุณสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะทำงานโครงการ CSR ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวในเวที“รายงาน CSR ประเทศไทย” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรม เดอะ แกรนด์ อยุธยา บางกอก ถนนรัชดาภิเษก ในวันนี้ (3 เม.ย. 52) ว่า “ประเทศเรายังมีกิจกรรมมากมายด้าน CSR ที่ต้องทำ หากความร่วมมือกันทำงานขององค์กรสามารถขยายไปยังหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและคนทั่วไปได้ ก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศ และที่สำคัญ การทำกิจกรรม CSR ต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชน และต้องทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จึงจะเกิดความยั่งยืน”
คุณพีระพงษ์ กลิ่นละออ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความร่วมมือร่วมใจกันขององค์กร และความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินกิจกรรม CSR โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค จึงสนับสนุนการจัด CSR Campus ทั้ง 75 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การร่วมคิดร่วมทำงานด้วยกัน ก่อให้เกิดพลังมหาศาลซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างเป็นพลวัตร ทั้งความคิดและการปฏิบัติ ลดการสูญเสียและตกหล่นของศักยภาพอันเนื่องมาจากการแข่งขัน ทำให้กิจกรรม CSR สามารถก้าวข้ามปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดในเรื่องของทุน เวลาและทรัพยากรบุคคลไปได้ เป็น White Ocean พื้นที่ของการสนับสนุนร่วมกันทำความดีเพื่อความสุขที่ยั่งยืน”
ด้านคุณวิเชียร เอมประเสริฐสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ร่วมให้ความเห็นว่า “เป็นที่น่ายินดีอย่างมาก ที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นผ่านโครงการ CSR Campus เพื่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในชุมชนนั้นๆ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับได้ว่าเป็นการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการด้าน CSR ในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก อีกทั้งเรายังได้รับความร่วมมือจากผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตชิ้นส่วนโตโยต้าทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการนี้กว่า 500 คน”
“นอกจากนี้ โครงการ CSR Campus ยังเป็นการเสริมสร้างรากฐานความรู้เข้าใจในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกัน โดยในท้ายที่สุด โตโยต้าอยากจะเห็นทุกภาคส่วนมีการร่วมมือและรวมพลังกันเป็นกัลยาณมิตรที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมไทยร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป”
สำหรับผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปีนี้ จากการตอบแบบสอบถามของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เผยให้เห็นว่า แม้ในสภาพการณ์ที่หลายองค์กรได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน แต่แนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ พบว่า ร้อยละ 47 ระบุว่าจะทำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42 ทำเท่าเดิม และร้อยละ 10 จะทำลดลง ขณะที่ งบประมาณในการใช้ดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ในปีนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46 ระบุว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 32 จะใช้เพิ่มขึ้น และร้อยละ 21 จะใช้ลดลง
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อพัฒนาการของ CSR ในประเทศไทย ผู้ประกอบการในส่วนกลาง ระบุว่า ร้อยละ 27 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 53 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 16 มีความก้าวหน้าดีมาก ขณะที่ ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค ระบุว่า ร้อยละ 45 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 40 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 12 มีความก้าวหน้าดีมาก
ส่วนคำถามเรื่องการจัดทำรายงาน CSR (หรือ Sustainability Report) ขององค์กร พบว่า องค์กรธุรกิจที่ยังไม่มีแนวคิดในการจัดทำรายงาน CSR มีอยู่ร้อยละ 54 สำหรับองค์กรที่กำลังจะทำในปีนี้ มีอยู่ร้อยละ 26 และที่ได้จัดทำแล้ว มีอยู่ร้อยละ 20 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการสำรวจความตื่นตัวในการทำ CSR ของภาคธุรกิจในแต่ละภูมิภาค พบว่า ร้อยละ 45 มีความตื่นตัวน้อย ร้อยละ 42 มีความตื่นตัวในระดับปานกลาง และร้อยละ 12 มีความตื่นตัวมาก ส่วนผลการสำรวจเรื่องเนื้อหา CSR ที่ต้องการในเวทีภูมิภาค พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ CSR อย่างเป็นระบบมากสุด ร้อยละ 20 ต้องการวิธีการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR และร้อยละ 11 ต้องการความรู้ CSR เบื้องต้น
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเดินทางของ CSR Campus ในปีที่ผ่านมา ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง ทั้งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ CSR เบื้องต้นที่ถูกต้อง ได้แนวทางในการพัฒนากิจกรรม CSR ขององค์กรตนเอง ขณะเดียวกัน เราเองก็ได้เรียนรู้ถึงความต้องการและประเด็น CSR ของท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยการทำงานขับเคลื่อน CSR ประเทศไทยในลักษณะนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนา CSR ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และสอดคล้องกับวิถีของท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยการดำเนินงาน CSR จากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”
ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจที่มีความประสงค์จะขอรับหนังสือ CSR 4 ภาค บทสรุปแห่งการเดินทางของโครงการ CSR Campus 75 จังหวัด สามารถติดต่อขอรับได้ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร โทร. 02 104 3508 หรือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) สำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด (CSR Office) โทร. 02 202 8000 และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สำนักงานวางแผนส่งเสริมสังคม โทร. 02 386 1393-5 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปิยเลขา ไหล่แท้ และ คุณจินตนา จันสน
โทรศัพท์ 02 930 5227 โทรสาร 02 930 5228 อีเมล info@csrcampus.com