ตลท. หนุน CSR เพิ่มเครดิต บจ.
ดัน"กิจการดี"รับลงทุนยุคทุนนิยมเสื่อม
นงค์นาถ ห่านวิไล
ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. (The Securities Exchange of Thailand) ยุคใหม่ต้องเป็นตลาดทุนที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ลำพังการสร้างให้เกิดบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หรือ CG ซึ่งมีหัวใจสำคัญ คือสร้างสภาพความสามารถในการแข่งขันสูง และมีเสถียรภาพ โดยเน้นแนวปฏิบัติด้วยการมีจริยธรรมและความสัตย์ซื่อ ความสามารถและภูมิปัญญา นั้น อาจไม่เพียงพอ ท่ามกลาง ระบบทุนนิยมที่กำลังเสื่อมคลาย นอกจากความเก่ง แล้วความดี ได้กลายเป็นองค์ประกอบใหม่ ที่องค์กรต่างๆ ต้องคำนึงถึงในลำดับแรกๆ
ปี 2552 นี้ ตลท. จึงให้ความสำคัญ เรื่องความดีขององค์กร โดยผ่านหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) ทั้งส่วนตลาดหลักทรัพย์เองและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ บจ. ต่างๆ โดยส่วนของ ตลท. การเดินหน้าแผนปฏิบัติการ CSR ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน และพร้อมรุกไปข้างหน้าอย่างเต็มรูปแบบ
ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ตลท.ทำ CSR ครบทั้ง 3 ประเภท คือ CSR in process เน้นการมีส่วนร่วมของ พนง. ในการปฏิบัติงานต่อ stake holders ด้วยความรับผิดชอบ CSR After Process เป็นการทำ CSR ที่นอกเหนือจากกระบวนการทำงานของ ตลท. และการทำ CSR As process โดยการจัดตั้ง มูลนิธิ ตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นมา ซึ่งจัดสรรเงิน 30% จากกำไรในแต่ละปีเข้ากองทุนมูลนิธิดังกล่าว โดยปีที่ผ่านมา คิดเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาท
เน้น CSR in Process
ทั้งนี้ ตลท.ให้ความสำคัญ CSR in Process หรือการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ ให้ทุกขั้นตอนของการทำงานต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการทำงานของ ตลท. เน้นความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งพนักงาน คู่ค้า สังคม และชุมชนภายนอก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ
“CSR In process นั้นเป็นเสมือนภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง” ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว และว่า ที่ผ่านมา ตลท.เน้นเรื่องของ CG มาตลอด ซึ่งยังคงต้องดำเนินการต่อไป แต่เรื่อง CSR จะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับสถาบันวิชาการอย่างสถาบันไทยพัฒน์ ในการเพิ่มเติมองค์ความรู้และสร้างแบบแผนที่ถูกต้อง ในการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน CSR ดำเนินไปพร้อมๆ กับการทำงานขององค์กร
"โครงการหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญ ของ CSR In process ก็คือ โครงการ CSR Day ที่ออกแบบการทำ CSR ให้พนักงานเข้าใจเรื่องของการทำงานส่วนนี้ในกระบวนการธุรกิจได้ทุกวันทุกเวลา และให้เข้าใจว่า CSR ไม่ได้หมายถึงการบริจาคเท่านั้น" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวและว่า โครงการนี้ดำเนินการผ่านไปแล้ว 3 รุ่นๆ ละประมาณ 30 คน เมื่อครบ 10 รุ่นจะมี พนง.ผ่านการหล่อหลอมให้มีความลึกซึ้งเรื่องของยุทธศาสตร์และแนวปฏิบัติ CSR ได้กว่า 300 คน
กรรมการและผู้จัดการ ตลท. กล่าวถึงการทำ CSR After Process และ CSR as process ด้วยว่า ในส่วนนี้ ตลท. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิ ตลท. ซึ่งในปี 2552 ดำเนินการ 5 ด้าน ด้วยกัน คือ ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้ความสำคัญมากสุด ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬาและการส่งเสริม CG ของ stake holders ในตลาดทุน
ในด้านการศึกษา ตลท.ทำให้สอดคล้องกับภารกิจ นั่นคือ การปลูกฝังให้ เยาวชน เข้าใจเรื่องการบริหารเงิน การพัฒนาเยาวชนให้เข้าสู่ตลาดหุ้นด้วยความรู้ ผ่านหลายโครงการเช่น โครงการเงินทองของมีค่า โครงการ Youth Education และ Young Financial Star Competition (YFS) ฯลฯ
ส่วนของ ศิลปวัฒนธรรม เน้นสนับสนุนทักษะดนตรีแก่เยาวชน และสืบสานวัฒนธรรมไทย ผ่านโครงการมากมาย อาทิเช่น โครงการ เซ็ทเทรดเยาวชนดนตรี โครงการ เชิดชูคนทำดีเพื่อสังคม ขณะที่CSR ด้านกีฬา เน้นพัฒนาทักษะให้เยาวชนหนุนงบในการสร้างสนามกีฬาและอุปกรณ์ หนุนนักกีฬาทีมชาติไทย ฯลฯ ทางด้านการส่งเสริม CSR ของ Stakeholders ตลท.โฟกัสที่บริษัทจดทะเบียนให้มี CSR ที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส นำไปสู่การเติบโตแบบยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดทุนไทย
หนุน บจ.เพิ่มมูลค่าธุรกิจจาก CSR
ภัทรียา กล่าวว่า ในส่วนของการส่งเสริม CSR บริษัทจดทะเบียน (บจ.) นั้น ดำเนินงานภายใต้ สถาบันกองทุนพัฒนาตลาดทุน โดยการส่งเสริม CSR ของ บจ. ในตลาดทุนเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยมีสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
แผนปฏิบัติการ ในส่วนนี้ออกมาในรูปแบบ การสร้างองค์ความรู้ และสร้างการรับรู้ (awareness) ด้าน CSR และสร้างเครือข่ายต่างๆ โดยมีนโยบายและกลยุทธ์ ในปีนี้ คือการทำงานร่วมกับผู้บริหาร บจ. เพื่อให้มองเห็น "มูลค่าเพิ่ม จาก CSR" โดยใช้เวทีของ" หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน หรือหลักสูตร วตท. ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถทางธุรกิจ ตลาดทุน ซึ่งในอนาคต หลักสูตรนี้ จะมีเรื่องของ CSR Academy ด้วย ขณะเดียวกัน มีโครงการ ร่วมกับบริษัท บจ. ตั้ง CSR Club เพื่อเป็นเวที ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจัดกิจกรรม CSR ร่วมกัน เพื่อให้ ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ได้เห็นคุณค่าของ CSR โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจถดถอย โลกของทุนนิยมที่กำลังมีปัญหา นักลงทุนจะต้องพิจารณา ลงทุน รอบคอบมากขึ้น
ชี้นักลงทุนให้ความสำคัญ CSR มากขึ้น
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ มองว่า กรอบการพิจารณาการลงทุน นอกจากมองปัจจัยหลักๆ ในเรื่องผลตอบแทนแล้ว เรื่องของ CG และ CSR จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยขณะนี้ มีกองทุนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญเรื่อง CSR แล้ว เช่น ไอเอ็นจี และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุน บจ. เห็นความสำคัญของCSRนั้น ทางสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้ ร่วมมือกับ สถาบันไทยพัฒน์ และ ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) จัดโครงการ CSR Day ให้ บจ.ต่างๆ เข้าใจและเห็นคุณค่าของการ ทำ CSR in Process เพื่อทุกสมาชิกในองค์กรสามารถทำ CSR ได้ในกระบวนการของธุรกิจทุกวัน โดยโครงการนี้ บจ. เข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีผู้สนใจแล้ว 25 บริษัท โดยธนาคาร เกียรตินาคิน เป็นบริษัทแรกที่จะมีพิธีเปิดตัวโครงการวันที่ 15 พ.ค.นี้
"โครงการนี้เราจะต่อยอดให้มี CSR Day Credit วิธีการก็คือบริษัทที่เข้าร่วมจะได้บันทึกเป็นจำนวนวันของการจัด CSR Day เช่น 10 ครั้ง อาจเป็น 10 แต้ม ทำเป็นปฏิทินสะสมเครดิต ไว้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่เป็นรูปธรรมของการนำCSRไปสู่พนักงานขององค์กร" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์กล่าว
นอกจากนี้ ตลท.ยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ เรียกว่า CSRI Forum เดือนละครั้ง ทั้งยังร่วมกับ กลต. เพื่อให้ บจ. เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ใน Annual Report ซึ่งถือเป็นการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลของ บจ.มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันยังได้ใช้แนวคิดในการให้รางวัลกับผู้ทำดีโดยการยกย่องเชิดชู ผ่านรางวัล CSR Awards เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับสังคมภาคธุรกิจ
"การขับเคลื่อน CSR กับ บจ. จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีความยั่งยืน เดินหน้ากิจการต่อไปท่ามกลางความท้าทายที่จะมีมากขึ้นๆ ในอนาคต" กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว
[Original Link]
นงค์นาถ ห่านวิไล
ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. (The Securities Exchange of Thailand) ยุคใหม่ต้องเป็นตลาดทุนที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ลำพังการสร้างให้เกิดบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หรือ CG ซึ่งมีหัวใจสำคัญ คือสร้างสภาพความสามารถในการแข่งขันสูง และมีเสถียรภาพ โดยเน้นแนวปฏิบัติด้วยการมีจริยธรรมและความสัตย์ซื่อ ความสามารถและภูมิปัญญา นั้น อาจไม่เพียงพอ ท่ามกลาง ระบบทุนนิยมที่กำลังเสื่อมคลาย นอกจากความเก่ง แล้วความดี ได้กลายเป็นองค์ประกอบใหม่ ที่องค์กรต่างๆ ต้องคำนึงถึงในลำดับแรกๆ
ปี 2552 นี้ ตลท. จึงให้ความสำคัญ เรื่องความดีขององค์กร โดยผ่านหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) ทั้งส่วนตลาดหลักทรัพย์เองและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ บจ. ต่างๆ โดยส่วนของ ตลท. การเดินหน้าแผนปฏิบัติการ CSR ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน และพร้อมรุกไปข้างหน้าอย่างเต็มรูปแบบ
ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ตลท.ทำ CSR ครบทั้ง 3 ประเภท คือ CSR in process เน้นการมีส่วนร่วมของ พนง. ในการปฏิบัติงานต่อ stake holders ด้วยความรับผิดชอบ CSR After Process เป็นการทำ CSR ที่นอกเหนือจากกระบวนการทำงานของ ตลท. และการทำ CSR As process โดยการจัดตั้ง มูลนิธิ ตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นมา ซึ่งจัดสรรเงิน 30% จากกำไรในแต่ละปีเข้ากองทุนมูลนิธิดังกล่าว โดยปีที่ผ่านมา คิดเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาท
เน้น CSR in Process
ทั้งนี้ ตลท.ให้ความสำคัญ CSR in Process หรือการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ ให้ทุกขั้นตอนของการทำงานต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการทำงานของ ตลท. เน้นความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งพนักงาน คู่ค้า สังคม และชุมชนภายนอก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ
“CSR In process นั้นเป็นเสมือนภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร ให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง” ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว และว่า ที่ผ่านมา ตลท.เน้นเรื่องของ CG มาตลอด ซึ่งยังคงต้องดำเนินการต่อไป แต่เรื่อง CSR จะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมกับสถาบันวิชาการอย่างสถาบันไทยพัฒน์ ในการเพิ่มเติมองค์ความรู้และสร้างแบบแผนที่ถูกต้อง ในการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน CSR ดำเนินไปพร้อมๆ กับการทำงานขององค์กร
"โครงการหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญ ของ CSR In process ก็คือ โครงการ CSR Day ที่ออกแบบการทำ CSR ให้พนักงานเข้าใจเรื่องของการทำงานส่วนนี้ในกระบวนการธุรกิจได้ทุกวันทุกเวลา และให้เข้าใจว่า CSR ไม่ได้หมายถึงการบริจาคเท่านั้น" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวและว่า โครงการนี้ดำเนินการผ่านไปแล้ว 3 รุ่นๆ ละประมาณ 30 คน เมื่อครบ 10 รุ่นจะมี พนง.ผ่านการหล่อหลอมให้มีความลึกซึ้งเรื่องของยุทธศาสตร์และแนวปฏิบัติ CSR ได้กว่า 300 คน
กรรมการและผู้จัดการ ตลท. กล่าวถึงการทำ CSR After Process และ CSR as process ด้วยว่า ในส่วนนี้ ตลท. จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิ ตลท. ซึ่งในปี 2552 ดำเนินการ 5 ด้าน ด้วยกัน คือ ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้ความสำคัญมากสุด ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬาและการส่งเสริม CG ของ stake holders ในตลาดทุน
ในด้านการศึกษา ตลท.ทำให้สอดคล้องกับภารกิจ นั่นคือ การปลูกฝังให้ เยาวชน เข้าใจเรื่องการบริหารเงิน การพัฒนาเยาวชนให้เข้าสู่ตลาดหุ้นด้วยความรู้ ผ่านหลายโครงการเช่น โครงการเงินทองของมีค่า โครงการ Youth Education และ Young Financial Star Competition (YFS) ฯลฯ
ส่วนของ ศิลปวัฒนธรรม เน้นสนับสนุนทักษะดนตรีแก่เยาวชน และสืบสานวัฒนธรรมไทย ผ่านโครงการมากมาย อาทิเช่น โครงการ เซ็ทเทรดเยาวชนดนตรี โครงการ เชิดชูคนทำดีเพื่อสังคม ขณะที่CSR ด้านกีฬา เน้นพัฒนาทักษะให้เยาวชนหนุนงบในการสร้างสนามกีฬาและอุปกรณ์ หนุนนักกีฬาทีมชาติไทย ฯลฯ ทางด้านการส่งเสริม CSR ของ Stakeholders ตลท.โฟกัสที่บริษัทจดทะเบียนให้มี CSR ที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส นำไปสู่การเติบโตแบบยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดทุนไทย
หนุน บจ.เพิ่มมูลค่าธุรกิจจาก CSR
ภัทรียา กล่าวว่า ในส่วนของการส่งเสริม CSR บริษัทจดทะเบียน (บจ.) นั้น ดำเนินงานภายใต้ สถาบันกองทุนพัฒนาตลาดทุน โดยการส่งเสริม CSR ของ บจ. ในตลาดทุนเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยมีสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
แผนปฏิบัติการ ในส่วนนี้ออกมาในรูปแบบ การสร้างองค์ความรู้ และสร้างการรับรู้ (awareness) ด้าน CSR และสร้างเครือข่ายต่างๆ โดยมีนโยบายและกลยุทธ์ ในปีนี้ คือการทำงานร่วมกับผู้บริหาร บจ. เพื่อให้มองเห็น "มูลค่าเพิ่ม จาก CSR" โดยใช้เวทีของ" หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน หรือหลักสูตร วตท. ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถทางธุรกิจ ตลาดทุน ซึ่งในอนาคต หลักสูตรนี้ จะมีเรื่องของ CSR Academy ด้วย ขณะเดียวกัน มีโครงการ ร่วมกับบริษัท บจ. ตั้ง CSR Club เพื่อเป็นเวที ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และจัดกิจกรรม CSR ร่วมกัน เพื่อให้ ผู้บริหารของบริษัทต่างๆ ได้เห็นคุณค่าของ CSR โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจถดถอย โลกของทุนนิยมที่กำลังมีปัญหา นักลงทุนจะต้องพิจารณา ลงทุน รอบคอบมากขึ้น
ชี้นักลงทุนให้ความสำคัญ CSR มากขึ้น
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ มองว่า กรอบการพิจารณาการลงทุน นอกจากมองปัจจัยหลักๆ ในเรื่องผลตอบแทนแล้ว เรื่องของ CG และ CSR จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยขณะนี้ มีกองทุนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญเรื่อง CSR แล้ว เช่น ไอเอ็นจี และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุน บจ. เห็นความสำคัญของCSRนั้น ทางสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ได้ ร่วมมือกับ สถาบันไทยพัฒน์ และ ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) จัดโครงการ CSR Day ให้ บจ.ต่างๆ เข้าใจและเห็นคุณค่าของการ ทำ CSR in Process เพื่อทุกสมาชิกในองค์กรสามารถทำ CSR ได้ในกระบวนการของธุรกิจทุกวัน โดยโครงการนี้ บจ. เข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีผู้สนใจแล้ว 25 บริษัท โดยธนาคาร เกียรตินาคิน เป็นบริษัทแรกที่จะมีพิธีเปิดตัวโครงการวันที่ 15 พ.ค.นี้
"โครงการนี้เราจะต่อยอดให้มี CSR Day Credit วิธีการก็คือบริษัทที่เข้าร่วมจะได้บันทึกเป็นจำนวนวันของการจัด CSR Day เช่น 10 ครั้ง อาจเป็น 10 แต้ม ทำเป็นปฏิทินสะสมเครดิต ไว้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่เป็นรูปธรรมของการนำCSRไปสู่พนักงานขององค์กร" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์กล่าว
นอกจากนี้ ตลท.ยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ เรียกว่า CSRI Forum เดือนละครั้ง ทั้งยังร่วมกับ กลต. เพื่อให้ บจ. เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ใน Annual Report ซึ่งถือเป็นการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลของ บจ.มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันยังได้ใช้แนวคิดในการให้รางวัลกับผู้ทำดีโดยการยกย่องเชิดชู ผ่านรางวัล CSR Awards เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับสังคมภาคธุรกิจ
"การขับเคลื่อน CSR กับ บจ. จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีความยั่งยืน เดินหน้ากิจการต่อไปท่ามกลางความท้าทายที่จะมีมากขึ้นๆ ในอนาคต" กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าว
[Original Link]