pay it forward ผลลัพธ์ จากพลัง CSR DAY
ศรัญญู ตันติเสรี
ถึงวันนี้เชื่อแน่ว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจ CSR (Corporate Social Responsibility) ได้แผ่ขยายวงกว้างออกไปอย่างทั่วถึง เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า องค์กรใดที่ตั้งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของ ธรรมาภิบาล ด้วยการปลูกฝังให้พนักงานทุกคนรู้จักคำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรนั้นจะสามารถเติบโตและอยู่ร่วมกับชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ โครงการ CSR DAY จึงถือกำเนิดขึ้น ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงานต่อกิจกรรม CSR ขององค์กร เพราะการดำเนินงานด้าน CSR จะประสบผลสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าเกิดจากการขับเคลื่อนงานโดยผู้บริหารเพียงกลุ่มเดียว แต่การขับเคลื่อน CSR ให้สัมฤทธิ์ผลจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากพนักงานในทุกระดับอย่างแข็งขัน
สำหรับ CSR DAY มีจุดมุ่งหมายที่จะรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้จัดกิจกรรมวันซีเอสอาร์ หรือ CSR DAY ขึ้นในสถานประกอบการ ด้วยการสนับสนุนขององค์กรธุรกิจชั้นนำ ที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยมีสถาบันไทยพัฒน์เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ CSR และเวทีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่พนักงานในสถานประกอบการที่สนใจ เพื่อสร้างให้เกิดช่องทางของการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ขององค์กร ในอันที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนงาน CSR ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างเป็นผลสำเร็จ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR ในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง บอกว่า ถึงวันนี้ โครงการ CSR DAY ถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก โดยสถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าไปฝึกอบรมและทำกิจกรรมให้แล้วถึง 55 แห่ง ที่สำคัญสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการนี้ ก็คือไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำกิจกรรมของคนใดคนหนึ่ง แต่ถูกยกระดับขึ้นมาสู่การเป็น CSR องค์กรไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังเกิดเครือข่ายการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว ได้รับประสบการณ์ดีๆ ก็อยากที่จะอาสารับเป็นเจ้าภาพจัดวัน CSR DAY ให้กับบริษัทอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นผลลัพธ์ของการทำให้เกิดจิตสำนึกแห่งการแบ่งปันองค์กรอื่นได้มีวัน CSR DAY ด้วย เรียกว่า pay it forward ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญ
“CSR DAY ถูกนำไปบอกต่อ จนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแบบเป็นทอดๆ ยกตัวอย่าง บริษัทที่แรกเราเข้าไปทำให้ พอเขาประสบผลสำเร็จ เขาก็จะมีการเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรต่อไป เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทที่สองก็เข้าไปสนับสนุนบริษัทที่สาม เป็นทอดๆ แบบนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ”
ทั้งนี้หลังจากที่เดินหน้าทำ CSR DAY ไปสักระยะหนึ่งแล้ว สถาบันไทยพัฒน์ ได้เสนอองค์กรต่างๆ ให้ทำโครงการต่อเนื่อง หรือ CSR Agent เพราะในองค์กรบางแห่งมีพนักงานจำนวนมาก บางแห่งเป็นหมื่นคน บางครั้งการขับเคลื่อนอาจทำได้ยาก
ดังนั้นหากมี CSR Agent ซึ่งเป็นการก่อตั้งโดยพนักงานกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นตัวแทนช่วยขับเคลื่อนการทำ CSR ในองค์กรได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง
[Original Link]
ถึงวันนี้เชื่อแน่ว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจ CSR (Corporate Social Responsibility) ได้แผ่ขยายวงกว้างออกไปอย่างทั่วถึง เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า องค์กรใดที่ตั้งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของ ธรรมาภิบาล ด้วยการปลูกฝังให้พนักงานทุกคนรู้จักคำว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรนั้นจะสามารถเติบโตและอยู่ร่วมกับชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ โครงการ CSR DAY จึงถือกำเนิดขึ้น ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงานต่อกิจกรรม CSR ขององค์กร เพราะการดำเนินงานด้าน CSR จะประสบผลสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าเกิดจากการขับเคลื่อนงานโดยผู้บริหารเพียงกลุ่มเดียว แต่การขับเคลื่อน CSR ให้สัมฤทธิ์ผลจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากพนักงานในทุกระดับอย่างแข็งขัน
สำหรับ CSR DAY มีจุดมุ่งหมายที่จะรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้จัดกิจกรรมวันซีเอสอาร์ หรือ CSR DAY ขึ้นในสถานประกอบการ ด้วยการสนับสนุนขององค์กรธุรกิจชั้นนำ ที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยมีสถาบันไทยพัฒน์เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ CSR และเวทีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่พนักงานในสถานประกอบการที่สนใจ เพื่อสร้างให้เกิดช่องทางของการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ขององค์กร ในอันที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนงาน CSR ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างเป็นผลสำเร็จ
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR ในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง บอกว่า ถึงวันนี้ โครงการ CSR DAY ถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก โดยสถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าไปฝึกอบรมและทำกิจกรรมให้แล้วถึง 55 แห่ง ที่สำคัญสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการนี้ ก็คือไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำกิจกรรมของคนใดคนหนึ่ง แต่ถูกยกระดับขึ้นมาสู่การเป็น CSR องค์กรไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังเกิดเครือข่ายการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้แล้ว ได้รับประสบการณ์ดีๆ ก็อยากที่จะอาสารับเป็นเจ้าภาพจัดวัน CSR DAY ให้กับบริษัทอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นผลลัพธ์ของการทำให้เกิดจิตสำนึกแห่งการแบ่งปันองค์กรอื่นได้มีวัน CSR DAY ด้วย เรียกว่า pay it forward ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญ
“CSR DAY ถูกนำไปบอกต่อ จนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแบบเป็นทอดๆ ยกตัวอย่าง บริษัทที่แรกเราเข้าไปทำให้ พอเขาประสบผลสำเร็จ เขาก็จะมีการเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรต่อไป เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทที่สองก็เข้าไปสนับสนุนบริษัทที่สาม เป็นทอดๆ แบบนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ”
ทั้งนี้หลังจากที่เดินหน้าทำ CSR DAY ไปสักระยะหนึ่งแล้ว สถาบันไทยพัฒน์ ได้เสนอองค์กรต่างๆ ให้ทำโครงการต่อเนื่อง หรือ CSR Agent เพราะในองค์กรบางแห่งมีพนักงานจำนวนมาก บางแห่งเป็นหมื่นคน บางครั้งการขับเคลื่อนอาจทำได้ยาก
ดังนั้นหากมี CSR Agent ซึ่งเป็นการก่อตั้งโดยพนักงานกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นตัวแทนช่วยขับเคลื่อนการทำ CSR ในองค์กรได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง
[Original Link]