การทำความดี ไม่ต้อง เดี๋ยว
โดย ดร.ฐานกูล รัศมีสุขานนท์
รองคณะบดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
การคืนกำไรสู่สังคมหรือประเด็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : Corporate Social Responsibility) ปัจจุบันกำลังมีบทบาทมากขึ้นในสังคมไทย หากแต่ในขณะนี้ องค์กรธุรกิจมีแนวคิดในการทำ CSR แบบใดมากกว่ากัน ระหว่างทำเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมอันจะส่งผลในการสร้างความยั่งยืนขององค์กร หรือเป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์เท่านั้น ในปัจจุบันแทบทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐเอง ต่างต้องตระหนักและสำนึกถึงบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้มีการจัดการอบรมขึ้นอยู่เสมอซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นครั้งที่ 2
สำหรับครั้งที่ 1 ในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งผู้เขียนได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายร่วมกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) พร้อมกับ รศ.ดร.ศิษฎ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ สำหรับโครงการ CSR Campus ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บจม. กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) บจม. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งนี้นั้นต้องการส่งเสริมความรู้ในเรื่อง CSR เพื่อให้สอดรับกับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และเป็นการสร้างโอกาสในการทำงานเพื่อสังคมภายใต้วิกฤต
สำหรับการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "CSR Campus ประจำปี พ.ศ.2552" ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบไปด้วยหัวหน้าส่วนราชการ พนักงานภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงนักศึกษาในพื้นที่ทั้งจาก จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส จังหวัดละ 70-80 คน โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดวิธีการทำ CSR เชิงระบบ ที่คำนึงถึงตัวบ่งชี้ความสำเร็จทั้งในระดับปัจจัยนำเข้า (input) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) อันเป็นประโยชน์ต่อการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR ขององค์กร โดยเริ่มจากการให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของพลเมืองที่ทุกคนพึงปฏิบัติ อันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำด้วยความรับผิดชอบ หากในส่วนของความเป็นพลเมืองบรรษัทที่ต้องทำหน้าที่เยี่ยงพลเมืองของบรรดาองค์กรธุรกิจ สถานประกอบการ หรือกิจการที่แสวงหากำไร จะต้องกระทำไปโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น และเพื่อยังประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม และรวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เข้าร่วม ซึ่งจากการสังเกตการณ์และได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นไม่จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนต้องตระหนักและมีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามการคืนกำไรต่อสังคม หรือ CSR นั้นทุกพื้นที่จำเป็นต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยจิตวิญญาณในการการตอบแทนกลับต่อสังคมอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์เพียงเพื่อบอกกับลูกค้าว่า "เราเป็นองค์กรที่ดี" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษด้วยแล้ว CSR จะช่วยให้การทำธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชนด้วยศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ปล่อยให้ชุมชนเดินอยู่อย่างโดดเดี่ยว...
[ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์]
รองคณะบดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
การคืนกำไรสู่สังคมหรือประเด็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR : Corporate Social Responsibility) ปัจจุบันกำลังมีบทบาทมากขึ้นในสังคมไทย หากแต่ในขณะนี้ องค์กรธุรกิจมีแนวคิดในการทำ CSR แบบใดมากกว่ากัน ระหว่างทำเพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมอันจะส่งผลในการสร้างความยั่งยืนขององค์กร หรือเป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์เท่านั้น ในปัจจุบันแทบทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐเอง ต่างต้องตระหนักและสำนึกถึงบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงได้มีการจัดการอบรมขึ้นอยู่เสมอซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นครั้งที่ 2
สำหรับครั้งที่ 1 ในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งผู้เขียนได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายร่วมกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) พร้อมกับ รศ.ดร.ศิษฎ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ สำหรับโครงการ CSR Campus ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บจม. กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) บจม. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ดีแทค) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งนี้นั้นต้องการส่งเสริมความรู้ในเรื่อง CSR เพื่อให้สอดรับกับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และเป็นการสร้างโอกาสในการทำงานเพื่อสังคมภายใต้วิกฤต
สำหรับการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "CSR Campus ประจำปี พ.ศ.2552" ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบไปด้วยหัวหน้าส่วนราชการ พนักงานภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงนักศึกษาในพื้นที่ทั้งจาก จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส จังหวัดละ 70-80 คน โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดวิธีการทำ CSR เชิงระบบ ที่คำนึงถึงตัวบ่งชี้ความสำเร็จทั้งในระดับปัจจัยนำเข้า (input) ผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (outcome) และผลกระทบ (impact) อันเป็นประโยชน์ต่อการวัดและประเมินผลกิจกรรม CSR ขององค์กร โดยเริ่มจากการให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของพลเมืองที่ทุกคนพึงปฏิบัติ อันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำด้วยความรับผิดชอบ หากในส่วนของความเป็นพลเมืองบรรษัทที่ต้องทำหน้าที่เยี่ยงพลเมืองของบรรดาองค์กรธุรกิจ สถานประกอบการ หรือกิจการที่แสวงหากำไร จะต้องกระทำไปโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น และเพื่อยังประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม และรวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เข้าร่วม ซึ่งจากการสังเกตการณ์และได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นไม่จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนต้องตระหนักและมีส่วนร่วมด้วย
อย่างไรก็ตามการคืนกำไรต่อสังคม หรือ CSR นั้นทุกพื้นที่จำเป็นต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยจิตวิญญาณในการการตอบแทนกลับต่อสังคมอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์เพียงเพื่อบอกกับลูกค้าว่า "เราเป็นองค์กรที่ดี" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษด้วยแล้ว CSR จะช่วยให้การทำธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชนด้วยศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ปล่อยให้ชุมชนเดินอยู่อย่างโดดเดี่ยว...
[ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์]