เร่งสางระบบซีเอสอาร์ไทย
เพิ่ม 50 พันธมิตรสู้เวทีโลก
สถาบันไทยพัฒน์ลุย “CSR DAY” เฟส 2 วางเป้า บมจ. 50 รายร่วมเป็นพันธมิตร เน้น สางแนวคิด “สร้างภาพ” หนุนนัก ซีเอสอาร์ตัวจริง เผย “Low Carbon Society” ดันประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้น แท่นซีเอสอาร์ยอดฮิต กดปุ่ม “Green Concept” เดินหน้าหนุนศักยภาพภาคธุรกิจตามเงื่อนไขเวทีการค้าโลก
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิ บูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยผ่าน “สยามธุรกิจ” ว่า ในปี 2553 ถือเป็นปีแห่งการ Repositioning ใน วงการซีเอสอาร์ของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของซีเอสอาร์ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนและชัดเจน ของแต่ละกิจกรรม มากกว่าการทำ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ โดยมุ่งหวังให้ แต่ละองค์กรเล็งเห็นความสำคัญของซีเอสอาร์และชูขึ้นเป็นพันธกิจที่สำคัญขององค์กร
โดยซีเอสอาร์ที่แท้จริงจะเป็นหนึ่งในการรองรับมาตรฐานทางการค้าในเวทีโลก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีบทบาท มากขึ้น “ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องยอม รับว่า ซีเอสอาร์คือเรื่องที่ขาดไม่ได้ นอกเหนือจากการทำงานของสถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อยากให้ภาครัฐและสังคมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะซีเอสอาร์เป็นแนวทางที่รองรับมาตรฐานต่างๆ ที่จะเข้มข้นขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลก แต่การทำซีเอสอาร์ ต้องมีความจริงจังตั้งใจ และต้องไม่ใช่แค่การลูบหน้าปะจมูก ในทางกลับกันต้องสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาให้ได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว คาดว่าปัญหาอย่างกรณีมาบตาพุด ก็จะมีแนวทางแก้ไขที่ดีขึ้น”
สำหรับรูปแบบกิจกรรมซีเอสอาร์ที่จะได้รับความนิยมมากในปีนี้ ดร.พิพัฒน์ ระบุว่า จะให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญของสังคมโลก ขณะที่กิจกรรมส่งเสริมด้านการศึกษา เป็นกิจกรรมที่เกือบทุกองค์กรทั้งรูปแบบ บมจ. และบจ. มีการ จัดทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนธีมสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านซีเอสอาร์ของสถาบันฯในปีนี้ จะอยู่ที่เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายใต้ “Green Concept”
“ในด้านการส่งเสริมและพัฒนา ซีเอสอาร์ในประเทศไทย ปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ จะดำเนินโครงการ CSR DAY เฟส 2 โดยตั้งเป้าหมาย บมจ. และบจ.ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 ราย ซึ่งปีนี้ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ.บางจากปิโตรเลียม และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ร่วมสนับสนุนงบประมาณและการร่วมแบ่งปันความรู้พร้อมประสบการณ์ สู่เส้นทางที่ถูกต้องในการทำซีเอสอาร์ โดยหัวใจสำคัญคือ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อซีเอสอาร์และการมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชน โดยบริษัทสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะ ที่งบประมาณในการจัดกิจกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000-50,000 บาทต่อครั้ง/วัน”
สำหรับผลของการดำเนินกิจกรรม CSR DAY ในปีที่ผ่านมา ดร.พิพัฒน์ เปิดเผยว่า มีบริษัทต่างๆ เข้าร่วม 78 แห่ง แบ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน 50 แห่ง และองค์กรธุรกิจทั่วไปอีก 28 แห่ง จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50 ราย แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาคธุรกิจทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งมีโครงการที่เกิดขึ้นจากการระดมสมองของพนักงานเกิดขึ้นประมาณ 8,000 กิจกรรม และมีหลายกิจกรรมที่บริษัทเลือกมาใช้เป็นโครงการหลักทางด้านซีเอสอาร์ โดยแต่ละปีสถาบันฯ ตั้งเป้าการจัดกิจกรรม CSR DAY ประมาณ 10% ของบริษัทจดทะเบียน
[Original Link]
สถาบันไทยพัฒน์ลุย “CSR DAY” เฟส 2 วางเป้า บมจ. 50 รายร่วมเป็นพันธมิตร เน้น สางแนวคิด “สร้างภาพ” หนุนนัก ซีเอสอาร์ตัวจริง เผย “Low Carbon Society” ดันประเด็นสิ่งแวดล้อมขึ้น แท่นซีเอสอาร์ยอดฮิต กดปุ่ม “Green Concept” เดินหน้าหนุนศักยภาพภาคธุรกิจตามเงื่อนไขเวทีการค้าโลก
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิ บูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยผ่าน “สยามธุรกิจ” ว่า ในปี 2553 ถือเป็นปีแห่งการ Repositioning ใน วงการซีเอสอาร์ของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของซีเอสอาร์ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนและชัดเจน ของแต่ละกิจกรรม มากกว่าการทำ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ โดยมุ่งหวังให้ แต่ละองค์กรเล็งเห็นความสำคัญของซีเอสอาร์และชูขึ้นเป็นพันธกิจที่สำคัญขององค์กร
โดยซีเอสอาร์ที่แท้จริงจะเป็นหนึ่งในการรองรับมาตรฐานทางการค้าในเวทีโลก โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีบทบาท มากขึ้น “ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องยอม รับว่า ซีเอสอาร์คือเรื่องที่ขาดไม่ได้ นอกเหนือจากการทำงานของสถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว อยากให้ภาครัฐและสังคมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะซีเอสอาร์เป็นแนวทางที่รองรับมาตรฐานต่างๆ ที่จะเข้มข้นขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลก แต่การทำซีเอสอาร์ ต้องมีความจริงจังตั้งใจ และต้องไม่ใช่แค่การลูบหน้าปะจมูก ในทางกลับกันต้องสร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาให้ได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว คาดว่าปัญหาอย่างกรณีมาบตาพุด ก็จะมีแนวทางแก้ไขที่ดีขึ้น”
สำหรับรูปแบบกิจกรรมซีเอสอาร์ที่จะได้รับความนิยมมากในปีนี้ ดร.พิพัฒน์ ระบุว่า จะให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความร่วมมือในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญของสังคมโลก ขณะที่กิจกรรมส่งเสริมด้านการศึกษา เป็นกิจกรรมที่เกือบทุกองค์กรทั้งรูปแบบ บมจ. และบจ. มีการ จัดทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนธีมสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านซีเอสอาร์ของสถาบันฯในปีนี้ จะอยู่ที่เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายใต้ “Green Concept”
“ในด้านการส่งเสริมและพัฒนา ซีเอสอาร์ในประเทศไทย ปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ จะดำเนินโครงการ CSR DAY เฟส 2 โดยตั้งเป้าหมาย บมจ. และบจ.ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 50 ราย ซึ่งปีนี้ได้รับการสนับสนุนจาก บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ.บางจากปิโตรเลียม และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ร่วมสนับสนุนงบประมาณและการร่วมแบ่งปันความรู้พร้อมประสบการณ์ สู่เส้นทางที่ถูกต้องในการทำซีเอสอาร์ โดยหัวใจสำคัญคือ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อซีเอสอาร์และการมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชน โดยบริษัทสามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะ ที่งบประมาณในการจัดกิจกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000-50,000 บาทต่อครั้ง/วัน”
สำหรับผลของการดำเนินกิจกรรม CSR DAY ในปีที่ผ่านมา ดร.พิพัฒน์ เปิดเผยว่า มีบริษัทต่างๆ เข้าร่วม 78 แห่ง แบ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน 50 แห่ง และองค์กรธุรกิจทั่วไปอีก 28 แห่ง จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50 ราย แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาคธุรกิจทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งมีโครงการที่เกิดขึ้นจากการระดมสมองของพนักงานเกิดขึ้นประมาณ 8,000 กิจกรรม และมีหลายกิจกรรมที่บริษัทเลือกมาใช้เป็นโครงการหลักทางด้านซีเอสอาร์ โดยแต่ละปีสถาบันฯ ตั้งเป้าการจัดกิจกรรม CSR DAY ประมาณ 10% ของบริษัทจดทะเบียน
[Original Link]