ในช่วงที่ผ่านมา องค์กรหลายแห่งได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน หน่วยงาน หรือแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินเรื่องของ CSR โดยตรง ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย คือ มีพนักงานบางส่วนที่ยังไม่รู้ และไม่เข้าใจว่า CSR คืออะไร และเกิดคำถามขึ้นภายในใจว่า ทำไมจะต้องทำ CSR ? ทำ CSR แล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
และถึงแม้ว่าบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง CSR มาบ้างแต่ก็คิดว่า CSR เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง และเมื่อมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ตนเองจะต้องรับรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วม ยิ่งไปกว่านั้น หากหน่วยงานหรือแผนกที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง CSR นั้น ไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจ และให้พนักงานเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำ CSR และรับรู้ถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จในการดำเนิน CSR ขององค์กร และต่อการบรรลุถึงเป้าประสงค์ด้าน CSR โดยรวม
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จาก Department สู่ Alignment จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยแทนที่จะให้เป็นเรื่องเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ แผนกใดแผนกหนึ่ง CSR ควรจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกระดับ ทุกแผนก ตลอดจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
องค์กรจะต้องมีการสื่อสารให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับบนไปจนถึงพนักงานระดับล่าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการทำ CSR ขององค์กรมากขึ้น เพราะเมื่อพิจารณา CSR ในมิตินี้ในระดับปัจเจก ก็หมายถึง การทำหน้าที่อย่างรับผิดชอบ หรือหากพิจารณาในระดับองค์กร ก็หมายถึง การดำเนินธุรกิจแสวงหากำไรอย่างรับผิดชอบ ดังนั้นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่แท้จริง จึงเกี่ยวข้องกับทุกคนในทุกส่วนงาน ทุกแผนก ทุกฝ่ายขององค์กร
เมื่อพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และได้มีส่วนร่วมในการทำ CSR ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะส่งผลกลับสู่พนักงานไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการปลูกฝังให้พนักงานมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และทำงานในหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ รวมไปถึงการช่วยเหลือชุมชน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ในขณะเดียวกันองค์กรก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน องค์กรสามารถดำเนินโครงการ CSR ได้ประสบผลสำเร็จ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรเองและต่อสังคม มากไปกว่านั้น นอกจากการเป็นองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในด้านการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังทำให้เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ ความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน
และถึงแม้ว่าบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง CSR มาบ้างแต่ก็คิดว่า CSR เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง และเมื่อมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ตนเองจะต้องรับรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วม ยิ่งไปกว่านั้น หากหน่วยงานหรือแผนกที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง CSR นั้น ไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจ และให้พนักงานเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำ CSR และรับรู้ถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผลสำเร็จในการดำเนิน CSR ขององค์กร และต่อการบรรลุถึงเป้าประสงค์ด้าน CSR โดยรวม
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม จาก Department สู่ Alignment จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยแทนที่จะให้เป็นเรื่องเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ แผนกใดแผนกหนึ่ง CSR ควรจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกระดับ ทุกแผนก ตลอดจนถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
องค์กรจะต้องมีการสื่อสารให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับบนไปจนถึงพนักงานระดับล่าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการทำ CSR ขององค์กรมากขึ้น เพราะเมื่อพิจารณา CSR ในมิตินี้ในระดับปัจเจก ก็หมายถึง การทำหน้าที่อย่างรับผิดชอบ หรือหากพิจารณาในระดับองค์กร ก็หมายถึง การดำเนินธุรกิจแสวงหากำไรอย่างรับผิดชอบ ดังนั้นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่แท้จริง จึงเกี่ยวข้องกับทุกคนในทุกส่วนงาน ทุกแผนก ทุกฝ่ายขององค์กร
เมื่อพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และได้มีส่วนร่วมในการทำ CSR ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะส่งผลกลับสู่พนักงานไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการปลูกฝังให้พนักงานมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และทำงานในหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ รวมไปถึงการช่วยเหลือชุมชน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ในขณะเดียวกันองค์กรก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน องค์กรสามารถดำเนินโครงการ CSR ได้ประสบผลสำเร็จ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรเองและต่อสังคม มากไปกว่านั้น นอกจากการเป็นองค์กรที่ประสบผลสำเร็จในด้านการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังทำให้เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ ความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน
No comments:
Post a Comment