การทำ CSR สามารถวัดผลได้หรือไม่? โครงการหรือกิจกรรมที่องค์กรจัดทำขึ้นสังคมได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด? กิจกรรมเพื่อสังคมที่มีอยู่ในสังคมมีความยั่งยืนมากน้อยเพียงใด? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องวัดผลในเมื่อเป็นเรื่องของ CSR? แล้วถ้าจะวัดผลควรจะวัดอย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่หลายๆองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่อง CSR มีความสงสัยไม่มากก็น้อย หากมองในสองสามปีที่ผ่านมามีกิจกรรม CSR เกิดขึ้นในสังคมเป็นจำนวนมาก แต่ผลสำเร็จที่คาดหวังไว้กลับไม่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ควรจะเป็น ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดผลกิจกรรม CSR ที่ควรจะเป็น นำไปสู่การมองที่ผลลัพธ์ (Outcome)
การเปลี่ยนโฟกัสจากผลผลิต(Output) ไปสู่ผลลัพธ์(Outcome) จะเป็นการส่งมอบผลประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวัดผลผลิต (Output) เป็นการวัดผลที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการสิ้นสุดลง เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) เพื่อวัดความสัมพันธ์ของทรัพยากรที่ใช้กับผลงานหรือผลผลิตที่ได้รับ
ส่วนการวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์ของงาน
ความแตกต่างเปรียบเทียบให้เห็นได้ในหลายกิจกรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปได้แก่ การจัดกิจกรรมสัมมนาหรือฝึกอบรมต่างๆการกำหนดตัวชี้วัดส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม อาจจะกำหนดไว้ที่ 100ท่าน หรือ 200ท่าน แตกต่างกันในแต่ละกิจกรรม การกำหนดตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นการวัดที่ผลผลิต (Output) เมื่อยอดผู้เข้าร่วมอบรมครบตามที่ได้กำหนดไว้ก็ถือว่ากิจกรรมหรือโครงการประสบผลสำเร็จแล้ว แต่ถ้าหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปก็จะเกิดคำถามว่า มีผู้เข้าร่วมสัมมนากี่ท่านที่ตั้งใจมาจริงๆไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกมอบหมายมา ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติต่อหรือประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด ประเด็นนี้ต่างหากที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการของการจัดสัมมนาหรือฝึกอบรม
อีกหนึ่งตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น การจัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อเข้าไปทำการรักษาผู้ป่วยที่ยากจนให้กับชุมชนต่างๆในท้องถิ่นที่ห่างไกล มีการจัดเตรียม หมอ ยา เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ครบถ้วนเพื่อเข้าไปรักษา ตรงนี้ถือว่าเป็น Input ของโครงการ มีกระบวนการต่างๆในการรักษา การกำหนดตัวชี้วัดส่วนใหญ่ที่ใช้ประเมินโครงการมักจะเป็นจำนวนผู้ที่เข้ามาขอรับการรักษา จำนวนชุมชนที่ต้องเข้าไปทำการรักษา ตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดผลผลิต (Output) ถึงแม้เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วผลของการดำเนินงานได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ความต้องการที่แท้จริงแล้วผู้ที่เข้ารับการรักษาล้วนต้องการที่จะหายป่วย แล้วสัดส่วนของผู้ที่หายป่วยมีมากน้อยเพียงใด ตรงนี้ต่างหากที่เป็นการวัดผลลัพธ์(Outcome) หากมองถึงวัตถุประสงค์ของโครงการแล้วการที่เข้าไปทำการรักษาก็เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยที่ขาดโอกาสหายป่วย
เพราะฉะนั้นการเคลื่อนโฟกัสจากการวัดผลผลิต(Output) จากจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษา หรือจำนวนชุมชนที่เข้าไปทำการรักษา ไปสู่การวัดผลลัพธ์(Outcome) เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา จำนวนผู้ที่หายป่วยจากการรักษา ถึงแม้การวัดผลลัพธ์ (Outcome) จะมีความยากมากกว่าการวัดผลผลิต (Output) ทำให้หลายองค์กรหลีกเลี่ยงที่จะวัด เพราะกลัวว่าเมื่อวัดแล้วจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ถึงแม้ว่าในบางครั้งการกำหนดตัวชี้วัดที่มีความท้าทาย ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ แต่อย่างน้อยก็ก่อให้เกิดการพัฒนาและคุณค่า ซึ่งให้ผลมากกว่าการเลือกตัวชี้วัดที่ผลออกมาดูดีสำเร็จได้อย่างง่ายดาย อาจจะยากและต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่สามารถยังประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการใช้ทรัพยากรขององค์กรได้อย่างคุ้มค่า
การเปลี่ยนโฟกัสจากผลผลิต(Output) ไปสู่ผลลัพธ์(Outcome) จะเป็นการส่งมอบผลประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวัดผลผลิต (Output) เป็นการวัดผลที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการสิ้นสุดลง เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพ (Efficiency) เพื่อวัดความสัมพันธ์ของทรัพยากรที่ใช้กับผลงานหรือผลผลิตที่ได้รับ
ส่วนการวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์ของงาน
ความแตกต่างเปรียบเทียบให้เห็นได้ในหลายกิจกรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปได้แก่ การจัดกิจกรรมสัมมนาหรือฝึกอบรมต่างๆการกำหนดตัวชี้วัดส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม อาจจะกำหนดไว้ที่ 100ท่าน หรือ 200ท่าน แตกต่างกันในแต่ละกิจกรรม การกำหนดตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นการวัดที่ผลผลิต (Output) เมื่อยอดผู้เข้าร่วมอบรมครบตามที่ได้กำหนดไว้ก็ถือว่ากิจกรรมหรือโครงการประสบผลสำเร็จแล้ว แต่ถ้าหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปก็จะเกิดคำถามว่า มีผู้เข้าร่วมสัมมนากี่ท่านที่ตั้งใจมาจริงๆไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกมอบหมายมา ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติต่อหรือประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด ประเด็นนี้ต่างหากที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการของการจัดสัมมนาหรือฝึกอบรม
อีกหนึ่งตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น การจัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อเข้าไปทำการรักษาผู้ป่วยที่ยากจนให้กับชุมชนต่างๆในท้องถิ่นที่ห่างไกล มีการจัดเตรียม หมอ ยา เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ครบถ้วนเพื่อเข้าไปรักษา ตรงนี้ถือว่าเป็น Input ของโครงการ มีกระบวนการต่างๆในการรักษา การกำหนดตัวชี้วัดส่วนใหญ่ที่ใช้ประเมินโครงการมักจะเป็นจำนวนผู้ที่เข้ามาขอรับการรักษา จำนวนชุมชนที่ต้องเข้าไปทำการรักษา ตัวชี้วัดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดผลผลิต (Output) ถึงแม้เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วผลของการดำเนินงานได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ความต้องการที่แท้จริงแล้วผู้ที่เข้ารับการรักษาล้วนต้องการที่จะหายป่วย แล้วสัดส่วนของผู้ที่หายป่วยมีมากน้อยเพียงใด ตรงนี้ต่างหากที่เป็นการวัดผลลัพธ์(Outcome) หากมองถึงวัตถุประสงค์ของโครงการแล้วการที่เข้าไปทำการรักษาก็เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยที่ขาดโอกาสหายป่วย
เพราะฉะนั้นการเคลื่อนโฟกัสจากการวัดผลผลิต(Output) จากจำนวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวนผู้ที่เข้ารับการรักษา หรือจำนวนชุมชนที่เข้าไปทำการรักษา ไปสู่การวัดผลลัพธ์(Outcome) เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ที่เข้าร่วมสัมมนา จำนวนผู้ที่หายป่วยจากการรักษา ถึงแม้การวัดผลลัพธ์ (Outcome) จะมีความยากมากกว่าการวัดผลผลิต (Output) ทำให้หลายองค์กรหลีกเลี่ยงที่จะวัด เพราะกลัวว่าเมื่อวัดแล้วจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ถึงแม้ว่าในบางครั้งการกำหนดตัวชี้วัดที่มีความท้าทาย ผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ แต่อย่างน้อยก็ก่อให้เกิดการพัฒนาและคุณค่า ซึ่งให้ผลมากกว่าการเลือกตัวชี้วัดที่ผลออกมาดูดีสำเร็จได้อย่างง่ายดาย อาจจะยากและต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่สามารถยังประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นการใช้ทรัพยากรขององค์กรได้อย่างคุ้มค่า
No comments:
Post a Comment