From Responsive to Creative
หากเราพิจารณา CSR ให้ลึกซึ้ง การมองเพียงแค่ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบผ่านๆ เมื่อเกิดปัญหาหรือผลเสียขึ้นแล้วค่อยมีการเข้าไปเยียวยา ฟื้นฟูและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดข้อเรียกร้องหรือปัญหาที่ตามมากับองค์กรและต้องการให้สังคมมององค์กรของตนว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบคงไม่เพียงพอในปัจจุบัน การดำเนิน CSR ในเชิงตอบสนอง (Responsive CSR) หรือรอให้เกิดปัญหาแล้วจึงเข้าไปแก้ไขอาจส่งผลเสียหายที่ใหญ่หลวงต่อสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงต่อตัวองค์กรเองด้วย ดังกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาบตาพุด เป็นต้น
กิจกรรม CSR ภายใต้กลยุทธ์นี้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีปัญหาหรือผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจไปสู่สังคม หรือสังคมมีการเรียกร้องให้กิจการดำเนินความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อผลกระทบเหล่านั้น เป็นการผลักดันให้มีการริเริ่มดำเนินงาน CSR จากผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ภายนอกองค์กร ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับคำติมากกว่าคำชม หรือทำแล้วมีโอกาสเสียมากกว่าได้ อย่างดีก็แค่เสมอตัว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้าน CSR เป็นเชิงรุกหรือการป้องกันน่าที่จะให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่าเชิงรับหรือการแก้ไขเยียวยา
การดำเนิน CSR เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR) เป็นสิ่งที่สังคมกำลังต้องการเห็นจากองค์กรต่างๆ เป็นการมองถึงคุณค่าเดียวกันทั้งกิจการและสังคมด้วยการลดอัตตาของตน หันมาคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่หันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ร่วมมือกันและพิจารณาว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจที่องค์กรมีอย่างไร จึงจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างตรงจุด การดำเนิน CSR ในเชิงสร้างสรรค์จะก่อให้เกิดความคิดที่หลากหลาย เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้าน CSR พัฒนาให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และส่งผลให้องค์กรมีความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ
กิจกรรม CSR ภายใต้กลยุทธ์นี้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีปัญหาหรือผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจไปสู่สังคม หรือสังคมมีการเรียกร้องให้กิจการดำเนินความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อผลกระทบเหล่านั้น เป็นการผลักดันให้มีการริเริ่มดำเนินงาน CSR จากผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ภายนอกองค์กร ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับคำติมากกว่าคำชม หรือทำแล้วมีโอกาสเสียมากกว่าได้ อย่างดีก็แค่เสมอตัว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้าน CSR เป็นเชิงรุกหรือการป้องกันน่าที่จะให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่าเชิงรับหรือการแก้ไขเยียวยา
การดำเนิน CSR เชิงสร้างสรรค์ (Creative CSR) เป็นสิ่งที่สังคมกำลังต้องการเห็นจากองค์กรต่างๆ เป็นการมองถึงคุณค่าเดียวกันทั้งกิจการและสังคมด้วยการลดอัตตาของตน หันมาคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่หันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ร่วมมือกันและพิจารณาว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจที่องค์กรมีอย่างไร จึงจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างตรงจุด การดำเนิน CSR ในเชิงสร้างสรรค์จะก่อให้เกิดความคิดที่หลากหลาย เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้าน CSR พัฒนาให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และส่งผลให้องค์กรมีความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ