ล้อมองค์กรผูกพัน ร่วมใจใส่สติปัญญา
การขับเคลื่อนบทบาทขององค์กรพลเมือง สำหรับสังคมไทยในวันนี้ มิได้อยู่ที่ความจำกัด หรือศักยภาพของธุรกิจ แต่อยู่ที่การยกระดับการทำงานร่วมกัน
การตื่นตัวของภาคธุรกิจ ในการดำรงบทบาทขององค์กรพลเมือง (Corporate Citizen) ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมเด่นชัดมากขึ้น จากการแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ขององค์กรในระดับ Engagement ที่มีความเข้มข้นกว่าระดับ Participation หรือ Involvement คือ สูงกว่าขั้นการมีส่วนร่วมหรือการเข้าร่วมในระดับการกระทำ แต่ยังเป็นเรื่องของ Emotional and Intellectual Commitment ในระดับจิตใจและสติปัญญาร่วมด้วย
ส่วนเรื่องของ New Normal กับสังคมนั้น เป็นคำที่ใช้ในการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ภาวะของสังคมหรือสภาพบางอย่างที่คงตัวหรือคุ้นเคย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่สามารถคืนสภาพกลับเป็นดังเดิม เช่น ประเทศมีการเปลี่ยนระบอบการปกครอง เศรษฐกิจที่มีการเลื่อนไหลของเงินทุนในวิถีโลกาภิวัตน์ ระบบนิเวศน์ที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเข้าสู่จุดปกติใหม่ ที่มิใช่จุดเดิม
ในต่างประเทศ เรื่อง Corporate Engagement in Society ประกอบด้วย 5 หลักการสำคัญ ได้แก่ Corporate Governance, Corporate Philanthropy, Corporate Social Responsibility, Corporate Social Entrepreneurship และ Global Corporate Citizenship (Klaus Schwab, 2008) โดยหลักการเหล่านี้ กำลังมีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจในดินแดนตะวันตกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับในประเทศไทย เรามีหลักการที่ทรงคุณค่าสำคัญ อาทิ หลักพุทธธรรม และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น Corporate Engagement Strategy ได้ ขณะที่ในดินแดนตะวันออก อย่างประเทศภูฏาน ก็กำลังมีการศึกษาเรื่อง Gross National Happiness (GNH) มาประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรด้วย
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรม ในการดำเนินโครงการสมัชชาคุณธรรมปี 2553 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านคุณธรรมใน 3 ประเด็นหลัก คือ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความพอเพียง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของหลักการบรรษัทภิบาล (CG) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และเศรษฐกิจพอเพียง (SE) ในภาคธุรกิจ
มีการจัดประชุมระดมความคิดในหัวข้อ “Corporate Engagement in (New Normal) Society” เพื่อการขับเคลื่อนสังคมที่ยั่งยืน ที่ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม SVN (Thailand) ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น PricewaterhouseCoopers FAS Limited ฯลฯ
โดยการระดมความคิดครั้งนี้ ได้มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม และมีโอกาสที่จะขยายเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่าย อาทิ
การตื่นตัวของภาคธุรกิจ ในการดำรงบทบาทขององค์กรพลเมือง (Corporate Citizen) ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมเด่นชัดมากขึ้น จากการแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ขององค์กรในระดับ Engagement ที่มีความเข้มข้นกว่าระดับ Participation หรือ Involvement คือ สูงกว่าขั้นการมีส่วนร่วมหรือการเข้าร่วมในระดับการกระทำ แต่ยังเป็นเรื่องของ Emotional and Intellectual Commitment ในระดับจิตใจและสติปัญญาร่วมด้วย
ส่วนเรื่องของ New Normal กับสังคมนั้น เป็นคำที่ใช้ในการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ภาวะของสังคมหรือสภาพบางอย่างที่คงตัวหรือคุ้นเคย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่สามารถคืนสภาพกลับเป็นดังเดิม เช่น ประเทศมีการเปลี่ยนระบอบการปกครอง เศรษฐกิจที่มีการเลื่อนไหลของเงินทุนในวิถีโลกาภิวัตน์ ระบบนิเวศน์ที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ต้องมีการปรับตัวเข้าสู่จุดปกติใหม่ ที่มิใช่จุดเดิม
ในต่างประเทศ เรื่อง Corporate Engagement in Society ประกอบด้วย 5 หลักการสำคัญ ได้แก่ Corporate Governance, Corporate Philanthropy, Corporate Social Responsibility, Corporate Social Entrepreneurship และ Global Corporate Citizenship (Klaus Schwab, 2008) โดยหลักการเหล่านี้ กำลังมีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจในดินแดนตะวันตกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับในประเทศไทย เรามีหลักการที่ทรงคุณค่าสำคัญ อาทิ หลักพุทธธรรม และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็น Corporate Engagement Strategy ได้ ขณะที่ในดินแดนตะวันออก อย่างประเทศภูฏาน ก็กำลังมีการศึกษาเรื่อง Gross National Happiness (GNH) มาประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรด้วย
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรม ในการดำเนินโครงการสมัชชาคุณธรรมปี 2553 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านคุณธรรมใน 3 ประเด็นหลัก คือ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และความพอเพียง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของหลักการบรรษัทภิบาล (CG) ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และเศรษฐกิจพอเพียง (SE) ในภาคธุรกิจ
มีการจัดประชุมระดมความคิดในหัวข้อ “Corporate Engagement in (New Normal) Society” เพื่อการขับเคลื่อนสังคมที่ยั่งยืน ที่ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม SVN (Thailand) ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น PricewaterhouseCoopers FAS Limited ฯลฯ
โดยการระดมความคิดครั้งนี้ ได้มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม และมีโอกาสที่จะขยายเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่าย อาทิ
• | การใช้ Partnership Model กับการร่วมดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม |
• | การบรรจุเรื่อง Ethics ในการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ |
• | การจัดเวทีสานเสวนาระดับท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม |
• | การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหยิบยกเรื่องศีลธรรมมาสื่อสารในรูปแบบสมัยใหม่ |
• | การริเริ่มเครือข่ายการค้าที่โปร่งใสเป็นธรรมด้วยการผลักดันขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ |
• | การสร้างสำนึกขั้นคุณธรรมในตัวผู้บริหาร ที่สูงกว่าขั้นกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ |
• | การนำหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาใช้ในการปฏิบัติงานขององค์กร |
• | การหลีกเลี่ยงกิจกรรม CSR ที่เป็นการบริจาคในส่วนที่เป็นเหตุทำให้สังคมอ่อนแอลง |
ข้อเสนอหลายประเด็นข้างต้น หากองค์กรธุรกิจใดจะพิจารณานำไปดำเนินการในเครือข่ายของท่าน ก็จะช่วยเป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญในการสร้างให้เกิด Corporate Engagement in (New Normal) Society ได้ด้วยเช่นกัน
ข้อจำกัดในการขับเคลื่อนบทบาทขององค์กรพลเมือง สำหรับสังคมไทยในวันนี้ มิได้อยู่ที่ความจำกัดหรือศักยภาพของธุรกิจ ในการทำหน้าที่หรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่อยู่ที่การยกระดับการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในแบบร่วมไม้ร่วมมือ สู่การร่วมใจร่วมใส่สติปัญญา ที่เป็นระดับ Engagement จริงๆ
[Original Link]
ข้อจำกัดในการขับเคลื่อนบทบาทขององค์กรพลเมือง สำหรับสังคมไทยในวันนี้ มิได้อยู่ที่ความจำกัดหรือศักยภาพของธุรกิจ ในการทำหน้าที่หรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่อยู่ที่การยกระดับการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรในแบบร่วมไม้ร่วมมือ สู่การร่วมใจร่วมใส่สติปัญญา ที่เป็นระดับ Engagement จริงๆ
[Original Link]