กระแส CSR ปี 55 การตลาดทางสังคมมาแรง!
จากผลพวงของสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย นับตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 54 ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนใน 65 จังหวัด หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ และปัจจุบันก็ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัยเหลืออยู่ในบางจังหวัดที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยากันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
หากจะประเมินบทบาทของภาคธุรกิจ ในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของสังคม ที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากจะเป็นการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้ว ยังมีบทบาทการอาสาของพนักงานจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้าเดือนที่ผ่านมา
และที่สำคัญ เมื่อหลังน้ำลดหรือสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้น ภาคธุรกิจเอกชนจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) ซึ่งจะทอดระยะเวลาจากนี้ไป 1-3 ปี นั่นหมายความว่า ในปี 55 บริษัทต่างๆ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยครั้งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูอย่างถ้วนทั่วไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ
ระดับของบทบาทภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ที่มีต่อการรับมือกับภัยพิบัติ
ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในรูปแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าต้นทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้
กิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่คิดมูลค่า หรือคิดเท่าต้นทุน หรือแสวงหากำไร ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ
นอกจากนี้ ในเอกสารของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ยังได้ประมวลประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่ช่วงการเตรียมพร้อม (Preparedness) การบรรเทาทุกข์ (Relief) การฟื้นฟู (Recovery) และการบูรณะ (Reconstruction) ไว้ดังนี้
ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ
การเตรียมพร้อม (Preparedness) | การบรรเทาทุกข์ (Relief) | การฟื้นฟู (Recovery) | การบูรณะ (Reconstruction) | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
|
สถาบันไทยพัฒน์ได้ทำการประเมินทิศทางกิจกรรมของภาคธุรกิจในบริบทที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม หรือซีเอสอาร์ในปีงูใหญ่ (พ.ศ.2555) ที่มีปัจจัยหลักจากภัยพิบัติในปี 54 และความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอีกในปี 55 โดยพบว่ามีแนวโน้มที่น่าสนใจ ดังนี้
• Publicity on CSR
• CSR for Recovery
• Societal Marketing over CSR
สำหรับทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2555 ฉบับเต็ม สามารถติดตามได้จากงานแถลง “ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 55” ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก
• Publicity on CSR
• CSR for Recovery
• Societal Marketing over CSR
สำหรับทิศทางและแนวโน้ม CSR ปี 2555 ฉบับเต็ม สามารถติดตามได้จากงานแถลง “ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 55” ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก
ทิศทาง CSR ปี 2553 | ทิศทาง CSR ปี 2554 | ทิศทาง CSR ปี 2555 | ||
ทิศทาง CSR ปี 2550 | ทิศทาง CSR ปี 2551 | ทิศทาง CSR ปี 2552 |