มาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000
ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) แก่องค์กรทุกประเภททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศกำลังพัฒนา ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)
• ทำไม จึงต้องสนใจ ISO 26000
• มาตรฐาน ISO 26000 ประกาศใช้ตั้งแต่เมื่อใด
• จะได้ประโยชน์อะไร จากการนำ ISO 26000 ไปใช้
• ในมาตรฐาน ISO 26000 กล่าวถึงเรื่องใดบ้าง
• จะมีวิธีการนำ ISO 26000 ไปใช้ได้อย่างไร
สถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าร่วมประชุม ISO 26000 Developing Country workshop ในฐานะผู้แทนองค์กรภาคเอกชนจากประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก 70 ประเทศ จำนวน 120 คน และอยู่ร่วมประชุม ISO 26000 Open Forum ในระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2555 โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
• รายละเอียดงาน
• ภาพบรรยากาศการประชุม
• บทความเกี่ยวกับการประชุม
• เยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ ISO
• เอกสารประกอบการประชุม (40 รายการ)
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้ดำเนินโครงการส่งเสริมความรู้ CSR สู่ภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2551 โดยมีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการมาตรฐานแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก ISO ได้ริเริ่มโครงการแนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ในมาตรฐาน ISO 26000 และการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ให้แก่สถานประกอบการในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ รองรับการเปิดตลาดเสรีในระดับภูมิภาคอาเซียน และการค้าที่ให้ความสำคัญกับ CSR ในระดับสากล
โครงการแนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐาน ISO 26000 ปี 2555 มีสถานประกอบการที่สนใจและสมัครเข้าร่วม ทั้งสิ้น 101 ราย ผ่านการเข้าร่วมอบรมและนำไปปฏิบัติ จำนวน 49 ราย (ครอบคลุม 11 จังหวัด) ได้รับรายงานผลการประเมินสมรรถภาพในกระบวนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การประเมินให้เป็นสถานประกอบการตัวอย่างด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐาน ISO 26000 จากโครงการ จำนวน 20 ราย (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2555)
• ใบปิดประกาศโครงการ: ฉบับ สมอ. : ฉบับไทยพัฒน์
• ข่าวประชาสัมพันธ์
• ภาพงานแถลงข่าวโครงการแนวร่วมฯ ISO 26000
• 5 คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับโครงการ
• ไฟล์นำเสนอในงานเปิดตัวโครงการ
เสียงสัมภาษณ์รายละเอียดโครงการแนวร่วม ISO 26000
• บทความ แนวร่วม ISO 26000
• ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ