หากจะเปรียบเรื่อง CSR ให้มีตัวตนเป็นเหมือนบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัท CSR นี้ได้เจริญเติบโตขึ้นมาก จนกลายเป็นบริษัทมหาชน แผ่ขยายอิทธิพลไป ‘ควบรวม’ กิจการกับบริษัทธุรกิจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในตลาดและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ แม้กระทั่งรัฐวิสาหกิจ กวาดต้อนเข้ามาเป็นบริษัทในเครือในสังกัดมากมาย
หลังจากนั้น ก็มีอีกบริษัทที่ชื่อว่า SD ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในวงการไล่หลังบริษัท CSR ไม่นาน ได้รับแรงส่งจากความต้องการของตลาดโลก จนสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดออกไปอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลถึงขนาดเข้ามา ‘ครอบงำ’ กิจการทั้งที่อยู่ในเครือและนอกเครือบริษัท CSR ในอัตราที่เร็วไม่แพ้อัตราการเข้าไปควบรวมกิจการของบริษัท CSR
วันนี้ ธุรกิจที่ถูกควบรวมกิจการกับบริษัท CSR และกำลังถูกครอบงำจากบริษัท SD เริ่มมีความสับสนในการรับนโยบายจากทั้งสองบริษัท ขณะที่หลายธุรกิจที่ดำเนินงานโดยใช้กลยุทธ์จากบริษัท CSR มาระยะหนึ่ง มีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์จากบริษัท SD บ้าง ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่ได้สับเปลี่ยนกลยุทธ์จากบริษัท CSR มาเป็นของบริษัท SD เรียบร้อยแล้ว กลับไม่แน่ใจว่ากลยุทธ์ของบริษัท SD มีความเหมาะสมกับองค์กรจริงหรือไม่
คำสำคัญ 3 คำ คือ 'Sustainability' หรือ ความยั่งยืน 'Corporate Social Responsibility' (CSR) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ และ 'Sustainable Development' (SD) หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน จะทวีบทบาทความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ขององค์กรธุรกิจที่คำนึงถึงการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปี 2556
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR มาอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้สำรวจความเคลื่อนไหว CSR ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี จึงได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้
รายงาน “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” มีความหนา 30 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์
- Sustainable Development 2.0: Human Rights • Equality • Sustainability
- 6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: SD 2.0
หลังจากนั้น ก็มีอีกบริษัทที่ชื่อว่า SD ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในวงการไล่หลังบริษัท CSR ไม่นาน ได้รับแรงส่งจากความต้องการของตลาดโลก จนสามารถขยายส่วนแบ่งตลาดออกไปอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลถึงขนาดเข้ามา ‘ครอบงำ’ กิจการทั้งที่อยู่ในเครือและนอกเครือบริษัท CSR ในอัตราที่เร็วไม่แพ้อัตราการเข้าไปควบรวมกิจการของบริษัท CSR
วันนี้ ธุรกิจที่ถูกควบรวมกิจการกับบริษัท CSR และกำลังถูกครอบงำจากบริษัท SD เริ่มมีความสับสนในการรับนโยบายจากทั้งสองบริษัท ขณะที่หลายธุรกิจที่ดำเนินงานโดยใช้กลยุทธ์จากบริษัท CSR มาระยะหนึ่ง มีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์จากบริษัท SD บ้าง ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่ได้สับเปลี่ยนกลยุทธ์จากบริษัท CSR มาเป็นของบริษัท SD เรียบร้อยแล้ว กลับไม่แน่ใจว่ากลยุทธ์ของบริษัท SD มีความเหมาะสมกับองค์กรจริงหรือไม่
คำสำคัญ 3 คำ คือ 'Sustainability' หรือ ความยั่งยืน 'Corporate Social Responsibility' (CSR) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ และ 'Sustainable Development' (SD) หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน จะทวีบทบาทความสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ขององค์กรธุรกิจที่คำนึงถึงการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปี 2556
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR มาอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้สำรวจความเคลื่อนไหว CSR ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี จึงได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้
รายงาน “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” มีความหนา 30 หน้า ในเล่มประกอบด้วย
- สารจากผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์
- Sustainable Development 2.0: Human Rights • Equality • Sustainability
- 6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556
- สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทบริบาล
ดาวน์โหลดรายงาน
6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: SD 2.0
No comments:
Post a Comment