ในรอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เริ่มจากการประชุมของทีมศึกษาและผู้ประสานงานระดับชาติ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) เมื่อเดือนพฤษภาคม เพื่อดำเนินการศึกษาและประเมินสถานะการรับรู้และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในอาเซียน 10 ประเทศ อ้างอิงหลักการแนวทางของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ (Protect, Respect and Remedy Framework) ที่ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนและร่วมอุปถัมภ์ข้อมติดังกล่าว ซึ่งจะนำไปสู่การวางกรอบร่วมกันของอาเซียนในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในอนาคต
อีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) หรือที่เรียกว่า Rio+20 ณ นครริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายน และทำให้เกิดกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ ภายใต้เอกสารผลลัพธ์การประชุม ความหนา 53 หน้า ที่มีชื่อว่า “The Future We Want” ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากชาติสมาชิก 193 ประเทศ โดยสาระสำคัญ 2 เรื่องที่ขอหยิบยกมาพูดถึง คือ การรับรองกรอบการทำงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) และการผลักดันภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ให้มีการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Reporting)
และในเดือนพฤศจิกายน องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้มาตรฐาน ISO 26000 การหารือถึงแนวทางการส่งเสริมการใช้มาตรฐาน ISO 26000 รวมถึงการรวบรวมความคิด ข้อมูล และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแผนการดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้มาตรฐาน ISO 26000 ในระยะข้างหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า สถาบันมาตรฐานแห่งชาติในหลายประเทศ จะมีการนำระบบประกาศแสดงตนเอง (Self Declaration) เพื่อให้สถานประกอบการใช้ในการยืนยันว่าตนเองได้มีการปฏิบัติสอดคล้องตามมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 แทนการรับรองจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้
อีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) หรือที่เรียกว่า Rio+20 ณ นครริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายน และทำให้เกิดกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ ภายใต้เอกสารผลลัพธ์การประชุม ความหนา 53 หน้า ที่มีชื่อว่า “The Future We Want” ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากชาติสมาชิก 193 ประเทศ โดยสาระสำคัญ 2 เรื่องที่ขอหยิบยกมาพูดถึง คือ การรับรองกรอบการทำงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) และการผลักดันภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ให้มีการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Reporting)
และในเดือนพฤศจิกายน องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้มาตรฐาน ISO 26000 การหารือถึงแนวทางการส่งเสริมการใช้มาตรฐาน ISO 26000 รวมถึงการรวบรวมความคิด ข้อมูล และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแผนการดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้มาตรฐาน ISO 26000 ในระยะข้างหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า สถาบันมาตรฐานแห่งชาติในหลายประเทศ จะมีการนำระบบประกาศแสดงตนเอง (Self Declaration) เพื่อให้สถานประกอบการใช้ในการยืนยันว่าตนเองได้มีการปฏิบัติสอดคล้องตามมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 แทนการรับรองจากหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้
(พิพัฒน์ ยอดพฤติการ) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ 31 มกราคม 2556 |
No comments:
Post a Comment