เทรนด์ซีเอสอาร์ปี′56
ก้าวผ่านความรับผิดชอบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
จากแรงขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนของสังคม ทำให้ตอนนี้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือซีเอสอาร์กลายเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ พร้อมทั้งบรรจุเป็นหนึ่งในนโยบายขององค์กร ซึ่งดูเหมือนว่ากระแสของความรับผิดชอบกำลังยกระดับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในงานแถลงทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556 ที่จัดโดยสถาบันไทยพัฒน์, สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ตั้งข้อสังเกตว่า ปีนี้มี 3 คำที่ภาคธุรกิจหันมาใส่ใจกันมากขึ้น คือ ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility : CSR), ความยั่งยืน (Sustainability) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development : SD) ซึ่งทั้ง 3 คำนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่
"ขอบข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นภาพใหญ่ที่สุด เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากภาคธุรกิจรทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากองค์กรดำเนินงานโดยตนเองเท่านั้นก็ไม่ต่างจากซีเอสอาร์ที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสังคม ขณะที่ความยั่งยืนเป็นอีกคำที่ภาคธุรกิจนำมาใช้เพื่อแสดงถึงสถานะของผลการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของสังคม หรือระดับองค์กรตามแต่กลยุทธ์ที่นำมาใช้"
และเหมือนเช่นทุกปี "ดร.พิพัฒน์" ได้เผยถึงทิศทาง CSR & Sustainability ของปี 2556 ใน 6 ประเด็น
ข้อ 1) ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนจะถือกำเนิดในองค์กร ตำแหน่งนี้ในบางธุรกิจของต่างประเทศเกิดขึ้นมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว โดยผู้ที่จะมารับตำแหน่งได้ต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจถึงเรื่องซีเอสอาร์, ความยั่งยืน และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอย่างดี
ข้อต่อมา 2) รายงานแบบ Integrated CSR Reporting รวมในรายงานประจำปี จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการเปิดเผยข้อมูล เพราะเมื่อองค์กรกำหนดเรื่องความยั่งยืนเป็นนโยบายของบริษัทแล้ว ก็จะมีการทำรายงานความยั่งยืน ประกอบกับปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดให้บริษัทจดทะเบียนแสดงข้อมูลซีเอสอาร์ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และรายงานประจำปี โดยประกาศดังกล่าวจะออกในเดือนม.ค. 2557
ข้อที่ 3) วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่จะเริ่มถูกนำมาใช้อ้างอิงในธุรกิจ จากผลการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) ได้ระบุว่า 3 ตัวหลักที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหลังจากปี 2558 คือเรื่องสิทธิมนุษยชน, ความเสมอภาค และความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมองว่าเรื่องเสรีภาพและความมั่นคง หรือการเมืองมีอิทธิพลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน
ข้อที่ 4) องค์กรธุรกิจจับกระแสสีเขียว รุกตลาดผู้บริโภคด้วยแนวคิด Green Living ปัจจุบันมีธุรกิจส่วนหนึ่งหันมาจับเรื่อง Green ในส่วนของการสร้างตลาด เพื่อทำรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการและผลักดันให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ข้อที่ 5) ซีเอสอาร์จะถูกบรรจุเป็นพันธกิจแห่งการเติบโตสำหรับกิจการที่จะแข่งขันขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจในอาเซียน ก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจ องค์กรจะมองว่าจุดประสงค์สำคัญคือการเติบโต มาถึงช่วงหลังมีกลยุทธ์ซีเอสอาร์เข้ามาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดหรือนักสร้างแบรนด์จะนำคำว่า "ความยั่งยืน" ไปใช้มากขึ้น ทำให้ต้องกลับมาคิดว่ามันสวนทางกับจุดยืนเมื่อ 10 ปีที่แล้วหรือไม่ เนื่องจากเราเคยบอกว่าจะไม่นำซีเอสอาร์เข้ามาใช้ประโยชน์กับธุรกิจ แต่ตอนนี้หลาย ๆ ปัจจัยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
และ ข้อที่ 6) ประเทศไทยจะเผชิญกับหน้าผาทางสังคม (Social Cliff) หากไม่สามารถฟื้นความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจัง ทุกวันนี้ประเทศไทยมีปัญหาที่ยังไม่เห็นหนทางว่าจะแก้ไขอย่างไรในเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น และความแตกแยกทางสังคมที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย แม้ภาคธุรกิจจะพยายามสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหา แต่ไม่เห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมเท่าไรนัก ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต้องร่วมกันคิดว่าจะเลี่ยงไม่ให้ประเทศไทยเผชิญหน้ากับหน้าผาทางสังคมอย่างไร
ขณะเดียวกัน ธุรกิจอาจประสบกับภาวะหน้าผาทางสังคมระดับองค์กรจากสื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มผู้บริโภคอาจโต้ตอบ หรือบอกต่อในกรณีที่ไม่ได้รับการบริการตามที่คาดหวัง ทำให้องค์กรเสียชื่อเสียงได้ ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะถ้าองค์กรไม่ปรับตัวในการเอาใจใส่ลูกค้าที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็อาจอยู่ไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเป็นทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของปี 2556 ที่องค์กรต้องเงี่ยหูฟังและจับตาดูอย่างใกล้ชิด !
[Original Link]
จากแรงขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนของสังคม ทำให้ตอนนี้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือซีเอสอาร์กลายเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ พร้อมทั้งบรรจุเป็นหนึ่งในนโยบายขององค์กร ซึ่งดูเหมือนว่ากระแสของความรับผิดชอบกำลังยกระดับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ในงานแถลงทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556 ที่จัดโดยสถาบันไทยพัฒน์, สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ตั้งข้อสังเกตว่า ปีนี้มี 3 คำที่ภาคธุรกิจหันมาใส่ใจกันมากขึ้น คือ ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility : CSR), ความยั่งยืน (Sustainability) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development : SD) ซึ่งทั้ง 3 คำนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่
"ขอบข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นภาพใหญ่ที่สุด เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากภาคธุรกิจรทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพราะหากองค์กรดำเนินงานโดยตนเองเท่านั้นก็ไม่ต่างจากซีเอสอาร์ที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบสังคม ขณะที่ความยั่งยืนเป็นอีกคำที่ภาคธุรกิจนำมาใช้เพื่อแสดงถึงสถานะของผลการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของสังคม หรือระดับองค์กรตามแต่กลยุทธ์ที่นำมาใช้"
และเหมือนเช่นทุกปี "ดร.พิพัฒน์" ได้เผยถึงทิศทาง CSR & Sustainability ของปี 2556 ใน 6 ประเด็น
ข้อ 1) ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนจะถือกำเนิดในองค์กร ตำแหน่งนี้ในบางธุรกิจของต่างประเทศเกิดขึ้นมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว โดยผู้ที่จะมารับตำแหน่งได้ต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจถึงเรื่องซีเอสอาร์, ความยั่งยืน และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอย่างดี
ข้อต่อมา 2) รายงานแบบ Integrated CSR Reporting รวมในรายงานประจำปี จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการเปิดเผยข้อมูล เพราะเมื่อองค์กรกำหนดเรื่องความยั่งยืนเป็นนโยบายของบริษัทแล้ว ก็จะมีการทำรายงานความยั่งยืน ประกอบกับปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดให้บริษัทจดทะเบียนแสดงข้อมูลซีเอสอาร์ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และรายงานประจำปี โดยประกาศดังกล่าวจะออกในเดือนม.ค. 2557
ข้อที่ 3) วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่จะเริ่มถูกนำมาใช้อ้างอิงในธุรกิจ จากผลการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) ได้ระบุว่า 3 ตัวหลักที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหลังจากปี 2558 คือเรื่องสิทธิมนุษยชน, ความเสมอภาค และความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมองว่าเรื่องเสรีภาพและความมั่นคง หรือการเมืองมีอิทธิพลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน
ข้อที่ 4) องค์กรธุรกิจจับกระแสสีเขียว รุกตลาดผู้บริโภคด้วยแนวคิด Green Living ปัจจุบันมีธุรกิจส่วนหนึ่งหันมาจับเรื่อง Green ในส่วนของการสร้างตลาด เพื่อทำรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการและผลักดันให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ข้อที่ 5) ซีเอสอาร์จะถูกบรรจุเป็นพันธกิจแห่งการเติบโตสำหรับกิจการที่จะแข่งขันขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจในอาเซียน ก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจ องค์กรจะมองว่าจุดประสงค์สำคัญคือการเติบโต มาถึงช่วงหลังมีกลยุทธ์ซีเอสอาร์เข้ามาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดหรือนักสร้างแบรนด์จะนำคำว่า "ความยั่งยืน" ไปใช้มากขึ้น ทำให้ต้องกลับมาคิดว่ามันสวนทางกับจุดยืนเมื่อ 10 ปีที่แล้วหรือไม่ เนื่องจากเราเคยบอกว่าจะไม่นำซีเอสอาร์เข้ามาใช้ประโยชน์กับธุรกิจ แต่ตอนนี้หลาย ๆ ปัจจัยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
และ ข้อที่ 6) ประเทศไทยจะเผชิญกับหน้าผาทางสังคม (Social Cliff) หากไม่สามารถฟื้นความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจัง ทุกวันนี้ประเทศไทยมีปัญหาที่ยังไม่เห็นหนทางว่าจะแก้ไขอย่างไรในเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น และความแตกแยกทางสังคมที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย แม้ภาคธุรกิจจะพยายามสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหา แต่ไม่เห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมเท่าไรนัก ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต้องร่วมกันคิดว่าจะเลี่ยงไม่ให้ประเทศไทยเผชิญหน้ากับหน้าผาทางสังคมอย่างไร
ขณะเดียวกัน ธุรกิจอาจประสบกับภาวะหน้าผาทางสังคมระดับองค์กรจากสื่อสังคมออนไลน์ที่กลุ่มผู้บริโภคอาจโต้ตอบ หรือบอกต่อในกรณีที่ไม่ได้รับการบริการตามที่คาดหวัง ทำให้องค์กรเสียชื่อเสียงได้ ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะถ้าองค์กรไม่ปรับตัวในการเอาใจใส่ลูกค้าที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็อาจอยู่ไม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นเป็นทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของปี 2556 ที่องค์กรต้องเงี่ยหูฟังและจับตาดูอย่างใกล้ชิด !
[Original Link]