ธนาภรณ์ จึงมงคลวงษ์
สัปดาห์นี้ (3-6 มิ.ย.) ที่กรุงซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีงานประชุม Sustainable Brands 2013 ซึ่งจัดโดยกลุ่ม Sustainable Brands ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2549 จากความริเริ่มของ KoAnn Vikoren Skrzyniarz นักบริหารสื่อธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
สาเหตุที่หยิบงานนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เนื่องจากว่า เนื้อหาที่จะมีการนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ มีความน่าสนใจหลายเรื่อง ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมที่คาดว่าจะมีถึง 2,000 คน กับอีกร่วม 100 องค์กรที่เข้าแสดงผลงาน นวัตกรรม และเครื่องมือในการสร้างความยั่งยืนที่มีผลต่อตราสินค้า ใน 6 หัวเรื่องด้วยกัน ได้แก่
1) กลยุทธ์และตัววัด ครอบคลุมเนื้อหาของการกำหนดเป้าประสงค์ และตัววัดผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร การวางแผนสร้างคุณค่าในระยะยาว และความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2) การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งการกำหนดเป้าประสงค์ การติดตาม การปรับแต่งกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างรูปแบบใหม่ในการแบ่งปันคุณค่าระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจทั้งในฝั่งต้นน้ำและปลายน้ำ
3) การหยั่งรู้ผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นเวทีเพื่อพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค การโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่แบบแผนการซื้อและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการปิดช่องว่างระหว่างค่านิยมกับการปฏิบัติ
4) การสานสัมพันธ์พนักงานและการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร นำเสนอเทคนิคในการสานสัมพันธ์และฝึกอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิผล การผลักดันและบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร การขยับขยายความเข้าใจในคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อองค์กร
5) นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ประกอบด้วย การให้ตัวอย่างนอกกรอบของแบบจำลองทางธุรกิจ นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำเงิน พร้อมกับการก้าวกระโดดสู่เส้นทางความยั่งยืนโดยส่วนรวม
6) การสื่อสาร ที่ให้แนวทางการนำเสนอคุณค่าในแบบ win-win-win (ตราสินค้า-ความยั่งยืน-ลูกค้า) ทั้งแก่ลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการแบ่งปันความท้าทายและกรณีความสำเร็จในนวัตกรรมการตลาดตราสินค้าที่ส่งมอบผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม
โดยตัวอย่างเนื้อหาที่คาดว่าจะมีการนำเสนอในเวทีครั้งนี้ ได้แก่ รายงานผู้นำความยั่งยืน ประจำปี 2556 จัดทำโดย GlobeScan ร่วมกับ SustainAbility ที่แสดงให้เห็นถึงสถานะความเป็นผู้นำระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ซึ่งมีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน
การนำเสนอเครื่องมือ sSWOT หรือ Sustainability SWOT ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) เพื่ออำนวยให้เกิดการทำงานโยงข้ามระหว่างสายงานต่างๆ ในองค์กร ระหว่างผู้ส่งมอบ ระหว่างลูกค้า หรือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติและการทำงานร่วมกันในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อโอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
การนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการวางความมุ่งหมายในการตลาด โดยสหพันธ์ผู้โฆษณาระดับโลก (WFA) ร่วมกับ Edelman ที่บ่งชี้ว่านักการตลาดปัจจุบัน ประเมินความสำคัญของการตลาดแบบ Purpose-Driven และตราสินค้าที่รับผิดชอบในสายตาของผู้บริโภค ต่ำเกินไป
ยังมีเนื้อหาอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ อาทิ ผลการศึกษาเรื่อง Natural Capital at Risk: The Top 100 Externalities of Business, Rethinking Consumption: Consumers and the Future of Sustainability, Rethinking Sustainability: Brand Risks and Opportunities, Sustainability and the State of the Future Youth Culture, Resilience and Growth through Supply Chain Collaboration
สำหรับท่านที่สนใจติดตามเนื้อหาของการประชุมเพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.sustainablebrands13.com
[Original Link]
สัปดาห์นี้ (3-6 มิ.ย.) ที่กรุงซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีงานประชุม Sustainable Brands 2013 ซึ่งจัดโดยกลุ่ม Sustainable Brands ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2549 จากความริเริ่มของ KoAnn Vikoren Skrzyniarz นักบริหารสื่อธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
สาเหตุที่หยิบงานนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เนื่องจากว่า เนื้อหาที่จะมีการนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ มีความน่าสนใจหลายเรื่อง ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมที่คาดว่าจะมีถึง 2,000 คน กับอีกร่วม 100 องค์กรที่เข้าแสดงผลงาน นวัตกรรม และเครื่องมือในการสร้างความยั่งยืนที่มีผลต่อตราสินค้า ใน 6 หัวเรื่องด้วยกัน ได้แก่
1) กลยุทธ์และตัววัด ครอบคลุมเนื้อหาของการกำหนดเป้าประสงค์ และตัววัดผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร การวางแผนสร้างคุณค่าในระยะยาว และความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2) การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งการกำหนดเป้าประสงค์ การติดตาม การปรับแต่งกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างรูปแบบใหม่ในการแบ่งปันคุณค่าระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจทั้งในฝั่งต้นน้ำและปลายน้ำ
3) การหยั่งรู้ผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นเวทีเพื่อพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค การโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่แบบแผนการซื้อและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการปิดช่องว่างระหว่างค่านิยมกับการปฏิบัติ
4) การสานสัมพันธ์พนักงานและการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร นำเสนอเทคนิคในการสานสัมพันธ์และฝึกอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิผล การผลักดันและบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร การขยับขยายความเข้าใจในคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อองค์กร
5) นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ประกอบด้วย การให้ตัวอย่างนอกกรอบของแบบจำลองทางธุรกิจ นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำเงิน พร้อมกับการก้าวกระโดดสู่เส้นทางความยั่งยืนโดยส่วนรวม
6) การสื่อสาร ที่ให้แนวทางการนำเสนอคุณค่าในแบบ win-win-win (ตราสินค้า-ความยั่งยืน-ลูกค้า) ทั้งแก่ลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการแบ่งปันความท้าทายและกรณีความสำเร็จในนวัตกรรมการตลาดตราสินค้าที่ส่งมอบผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม
โดยตัวอย่างเนื้อหาที่คาดว่าจะมีการนำเสนอในเวทีครั้งนี้ ได้แก่ รายงานผู้นำความยั่งยืน ประจำปี 2556 จัดทำโดย GlobeScan ร่วมกับ SustainAbility ที่แสดงให้เห็นถึงสถานะความเป็นผู้นำระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ซึ่งมีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน
การนำเสนอเครื่องมือ sSWOT หรือ Sustainability SWOT ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) เพื่ออำนวยให้เกิดการทำงานโยงข้ามระหว่างสายงานต่างๆ ในองค์กร ระหว่างผู้ส่งมอบ ระหว่างลูกค้า หรือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติและการทำงานร่วมกันในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อโอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ
การนำเสนอผลการศึกษาเรื่องการวางความมุ่งหมายในการตลาด โดยสหพันธ์ผู้โฆษณาระดับโลก (WFA) ร่วมกับ Edelman ที่บ่งชี้ว่านักการตลาดปัจจุบัน ประเมินความสำคัญของการตลาดแบบ Purpose-Driven และตราสินค้าที่รับผิดชอบในสายตาของผู้บริโภค ต่ำเกินไป
ยังมีเนื้อหาอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ อาทิ ผลการศึกษาเรื่อง Natural Capital at Risk: The Top 100 Externalities of Business, Rethinking Consumption: Consumers and the Future of Sustainability, Rethinking Sustainability: Brand Risks and Opportunities, Sustainability and the State of the Future Youth Culture, Resilience and Growth through Supply Chain Collaboration
สำหรับท่านที่สนใจติดตามเนื้อหาของการประชุมเพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.sustainablebrands13.com
[Original Link]
No comments:
Post a Comment