รายงาน CSR สู่ความยั่งยืน แรงผลักดันจากภายนอก
สุวัฒน์ ทองธนากุล
ยุคจากนี้ไปการพูดถึงความยั่งยืน ( Sustainability ) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนองค์กรกับหลักความรับผิดชอบต่อสังคม CSR จะไปด้วยกัน
ทั้งเลขาธิการ ก.ล.ต. และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต่างเคยยืนยันกับผมว่าความต้องการของผู้ลงทุนที่ต้องการข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นผลประกอบการจากการกระทำในอดีต และผู้ลงทุนจะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
คำว่า ESG ซึ่งย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance จึงเกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุน เพื่อจับตาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สถาบันไทยพัฒน์ และ ก.ล.ต. แถลงข่าวเปิดตัวโครงการประกาศ "รางวัลรายงานความยั่งยืน" เพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR ของบริษัทจดทะเบียนไทย ( 9 ส.ค.ที่ผ่านมา) และเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม-15 กันยายน 2556 นี้
นสพ. Financial Times ได้ให้ความหมายของ ESG ว่าเป็นคำที่ใช้ในตลาดทุนเพื่อผู้ลงทุนใช้ประเมินการดำเนินงานของบริษัท และทำให้ล่วงรู้ถึงผลลัพธ์ในอนาคตของบริษัท ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานก็มาจากบทบาทของบริษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) เรื่องความยั่งยืน ที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
การเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ซึ่งบริษัททั่วโลกดำเนินการอยู่ในปัจจุบันก็คือ รายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนทั้งในทางบวกและทางลบ นี่คือการมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เปิดเผยว่า จากตัวเลขของ CorporateRegister.com แหล่งข้อมูลรายงานประเภทนี้ พบว่ามีรายงานอยู่เกือบ 50,000 ฉบับ ที่ถูกเผยแพร่โดยบริษัทกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก และในจำนวนนี้เป็นรายงานที่มาจากประเทศไทยเพียง 231 ฉบับ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.47 ของรายงานที่เผยแพร่ทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.ค. 56)
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โดย CSR Club และสถาบันไทยพัฒน์ จึงได้ริเริ่มโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report Award) ขึ้นในปีนี้ เป็นปีแรก เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ทุกวงการทุกขนาดที่ตระหนักในเรื่องCSR ได้เผยแพร่ข้อมูลด้าน ESG ก็จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ลงทุนในตลาดทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ของกิจการ ในรูปของรายงานความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่ารางวัลนี้จะสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งเน้นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกๆ ด้าน และจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานความยั่งยืน
ด้าน วัฒนา โอภานนท์อมตะ ประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย บอกว่า ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องของ ESG เพราะผู้ลงทุนต้องการข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมในการเลือกลงทุน สำหรับ CSR Club เอง พยายามผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ESG จึงได้เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทที่ทำดีในด้านนี้ให้ทำดีต่อเนื่องไป ส่วนบริษัทที่กำลังริเริ่มดำเนินการก็จะช่วยผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงการพิจารณารางวัลความยั่งยืนในโครงการนี้ว่า บริษัทที่ประสงค์จะขอเข้ารับการพิจารณารางวัล สามารถนำส่งรายงานความยั่งยืน หรือรายงานที่ใช้ชื่ออื่น เช่นCSR Report, Integrated Report,หรือ Annual Report ที่มีการเปิดเผยข้อมูล ESG หรือผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ครบทั้งสามด้าน จำนวน 7 ฉบับ ไปยังสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากคุณภาพของรายงานความยั่งยืน ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) โดยจะไม่มีการใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม
ส่วนคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการซึ่งคร่ำหวอดในเรื่อง ESG และเป็นผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวโดยตรง ได้แก่ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ผศ.ดร.สมพร กมลศิริพิชัยพร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การมีโครงการรางวัลรายงานความยั่งยืน น่าจะมีส่วนช่วยยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของตลาดทุนไทยให้เทียบเท่ากับตลาดทุนชั้นนำ ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในภูมิภาคและในระดับสากล ส่วนการประกาศผลและมอบรางวัลจะเกิดขึ้นในงาน CSR Thailand ประจำปีนี้
[Original Link]
ยุคจากนี้ไปการพูดถึงความยั่งยืน ( Sustainability ) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนองค์กรกับหลักความรับผิดชอบต่อสังคม CSR จะไปด้วยกัน
ทั้งเลขาธิการ ก.ล.ต. และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ต่างเคยยืนยันกับผมว่าความต้องการของผู้ลงทุนที่ต้องการข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นผลประกอบการจากการกระทำในอดีต และผู้ลงทุนจะให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
คำว่า ESG ซึ่งย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance จึงเกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุน เพื่อจับตาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สถาบันไทยพัฒน์ และ ก.ล.ต. แถลงข่าวเปิดตัวโครงการประกาศ "รางวัลรายงานความยั่งยืน" เพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน CSR ของบริษัทจดทะเบียนไทย ( 9 ส.ค.ที่ผ่านมา) และเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม-15 กันยายน 2556 นี้
นสพ. Financial Times ได้ให้ความหมายของ ESG ว่าเป็นคำที่ใช้ในตลาดทุนเพื่อผู้ลงทุนใช้ประเมินการดำเนินงานของบริษัท และทำให้ล่วงรู้ถึงผลลัพธ์ในอนาคตของบริษัท ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานก็มาจากบทบาทของบริษัทในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) เรื่องความยั่งยืน ที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
การเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ซึ่งบริษัททั่วโลกดำเนินการอยู่ในปัจจุบันก็คือ รายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนทั้งในทางบวกและทางลบ นี่คือการมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ เปิดเผยว่า จากตัวเลขของ CorporateRegister.com แหล่งข้อมูลรายงานประเภทนี้ พบว่ามีรายงานอยู่เกือบ 50,000 ฉบับ ที่ถูกเผยแพร่โดยบริษัทกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก และในจำนวนนี้เป็นรายงานที่มาจากประเทศไทยเพียง 231 ฉบับ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.47 ของรายงานที่เผยแพร่ทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.ค. 56)
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โดย CSR Club และสถาบันไทยพัฒน์ จึงได้ริเริ่มโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report Award) ขึ้นในปีนี้ เป็นปีแรก เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ทุกวงการทุกขนาดที่ตระหนักในเรื่องCSR ได้เผยแพร่ข้อมูลด้าน ESG ก็จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ลงทุนในตลาดทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ของกิจการ ในรูปของรายงานความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่ารางวัลนี้จะสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมุ่งเน้นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกๆ ด้าน และจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานความยั่งยืน
ด้าน วัฒนา โอภานนท์อมตะ ประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย บอกว่า ปัจจุบันหลายๆ ธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องของ ESG เพราะผู้ลงทุนต้องการข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมในการเลือกลงทุน สำหรับ CSR Club เอง พยายามผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ESG จึงได้เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทที่ทำดีในด้านนี้ให้ทำดีต่อเนื่องไป ส่วนบริษัทที่กำลังริเริ่มดำเนินการก็จะช่วยผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงการพิจารณารางวัลความยั่งยืนในโครงการนี้ว่า บริษัทที่ประสงค์จะขอเข้ารับการพิจารณารางวัล สามารถนำส่งรายงานความยั่งยืน หรือรายงานที่ใช้ชื่ออื่น เช่นCSR Report, Integrated Report,หรือ Annual Report ที่มีการเปิดเผยข้อมูล ESG หรือผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ครบทั้งสามด้าน จำนวน 7 ฉบับ ไปยังสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ภายในวันที่ 15 กันยายน 2556 คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกจากคุณภาพของรายงานความยั่งยืน ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) โดยจะไม่มีการใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม
ส่วนคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการซึ่งคร่ำหวอดในเรื่อง ESG และเป็นผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวโดยตรง ได้แก่ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ผศ.ดร.สมพร กมลศิริพิชัยพร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การมีโครงการรางวัลรายงานความยั่งยืน น่าจะมีส่วนช่วยยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของตลาดทุนไทยให้เทียบเท่ากับตลาดทุนชั้นนำ ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในภูมิภาคและในระดับสากล ส่วนการประกาศผลและมอบรางวัลจะเกิดขึ้นในงาน CSR Thailand ประจำปีนี้
[Original Link]