เริ่มต้น CSV ให้ถูกทาง
สุธิชา เจริญงาม
ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมฝึกอบรมเรื่อง Creating Shared Value หรือ CSV ร่วมกับผู้เข้าอบรมจาก 12 ประเทศ จำนวน 24 คน ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในช่วงระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2556 ซึ่งจัดโดย Foundation Strategy Group (FSG) ผู้ที่ริเริ่ม Shared Value Initiative ขึ้นเมื่อปี 2555
วิทยากรที่นำการอบรมในครั้งนี้ คือ "Mark R. Kramer" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundation Strategy Group ร่วมกับ "Michael E. Porter" ที่เป็นเจ้าของแนวคิด Shared Value ที่ในวันนี้ ภาคธุรกิจให้ความสนใจนำไปใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม นอกเหนือจาก CSR ที่หลายองค์กรใช้ขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน
เรื่องการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ที่ Porter และ Kramer นำเสนอในบทความซึ่งตีพิมพ์ใน Harvard Business Review เมื่อปี 2554 นั้น เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากเรื่อง CSR ที่ทั้งสองท่าน ปรับแต่งเพื่อให้ตอบโจทย์ทางกลยุทธ์ในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมๆ กัน
จุดที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง CSR และ CSV คือ คุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSR นั้น เป็นเรื่องของการยอมรับ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง หรือปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่คุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSV จะเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งความสามารถในการสร้างผลกำไรในระยะยาว
ส่วนจุดที่เป็นเอกลักษณ์ของ CSV คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคมในบริบทของ CSV จะมุ่งเน้นในเรื่องหรือประเด็นทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และจากความเชี่ยวชาญขององค์กรเป็นสำคัญ ขณะที่ในบริบทของ CSR การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม จะครอบคลุมทั้งในเรื่องและประเด็นทางสังคมที่องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมายเป็นพื้นฐาน รวมถึงเรื่องและประเด็นที่สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการคาดหวังให้องค์กรดำเนินการ โดยไม่จำกัดว่าเรื่องนั้น องค์กรจะมีสินทรัพย์หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม
ฉะนั้น การออกแบบความริเริ่มในการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Shared Value Initiative องค์กรต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ 3 ประการเป็นพื้นฐาน คือ
สำหรับองค์ประกอบที่ช่วยในการออกแบบความริเริ่มในการสร้างคุณค่าร่วม ประกอบด้วย
ในทัศนะของดิฉัน เห็นว่านัยของแนวคิด CSV ที่ถอดความได้จากการเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ คือ การวางรูปแบบของการทำธุรกิจที่นำประเด็นปัญหาสังคมมาเป็นโจทย์ร่วมในการคิดค้นและพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนภายนอกที่เป็นภาคประชาสังคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหลัก แตกต่างจากการดำเนินธุรกิจทั่วไป ซึ่งมีรูปแบบที่มุ่งตอบโจทย์ผลได้ทางธุรกิจเป็นหลัก โดยมีหุ้นส่วนซึ่งเป็นพันธมิตรในห่วงโซ่ธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการมุ่งแสวงหาผลกำไรเหมือนกัน
อันไปสอดคล้องกับที่ Mark Kramer ได้พูดกับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งหลังจากนี้จะออกไปทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้าน Shared Value เอาไว้ว่า "แนวคิด CSV เป็นเรื่องของการทำธุรกิจ เป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องการดูแลแก้ไขปัญหาสังคมไปพร้อมกับการทำธุรกิจ CSV จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างผลกำไรทางธุรกิจ"
แนวคิด CSV ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาทดแทนเรื่อง CSR หรือเรื่องความยั่งยืน แต่ธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้สามารถแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการทำธุรกิจที่แต่ละองค์กรได้ใช้ความถนัดและความเชี่ยวชาญของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง โดยมีแรงจูงใจจากผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนในตัวเอง และไม่จำเป็นต้องอาศัยแรงกดดันจากภายนอก
จึงทำให้น่าติดตามต่อว่า ท้ายที่สุดแล้ว แนวคิด CSV ที่ใช้แรงจูงใจภายในด้วยผลกำไรทางธุรกิจ อาจจะมีความยั่งยืน และได้รับการตอบรับจากองค์กรธุรกิจมากกว่าเรื่อง CSR ที่มักอาศัยแรงกดดันภายนอกให้แสดงความรับผิดชอบเป็นตัวขับเคลื่อนได้หรือไม่
[ประชาชาติธุรกิจ]
ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมฝึกอบรมเรื่อง Creating Shared Value หรือ CSV ร่วมกับผู้เข้าอบรมจาก 12 ประเทศ จำนวน 24 คน ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในช่วงระหว่างวันที่ 15-17 ตุลาคม 2556 ซึ่งจัดโดย Foundation Strategy Group (FSG) ผู้ที่ริเริ่ม Shared Value Initiative ขึ้นเมื่อปี 2555
วิทยากรที่นำการอบรมในครั้งนี้ คือ "Mark R. Kramer" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundation Strategy Group ร่วมกับ "Michael E. Porter" ที่เป็นเจ้าของแนวคิด Shared Value ที่ในวันนี้ ภาคธุรกิจให้ความสนใจนำไปใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม นอกเหนือจาก CSR ที่หลายองค์กรใช้ขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน
เรื่องการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ที่ Porter และ Kramer นำเสนอในบทความซึ่งตีพิมพ์ใน Harvard Business Review เมื่อปี 2554 นั้น เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากเรื่อง CSR ที่ทั้งสองท่าน ปรับแต่งเพื่อให้ตอบโจทย์ทางกลยุทธ์ในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมๆ กัน
จุดที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง CSR และ CSV คือ คุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSR นั้น เป็นเรื่องของการยอมรับ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง หรือปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะที่คุณค่าที่องค์กรได้รับในบริบทของ CSV จะเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งความสามารถในการสร้างผลกำไรในระยะยาว
ส่วนจุดที่เป็นเอกลักษณ์ของ CSV คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคมในบริบทของ CSV จะมุ่งเน้นในเรื่องหรือประเด็นทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และจากความเชี่ยวชาญขององค์กรเป็นสำคัญ ขณะที่ในบริบทของ CSR การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม จะครอบคลุมทั้งในเรื่องและประเด็นทางสังคมที่องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมายเป็นพื้นฐาน รวมถึงเรื่องและประเด็นที่สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการคาดหวังให้องค์กรดำเนินการ โดยไม่จำกัดว่าเรื่องนั้น องค์กรจะมีสินทรัพย์หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม
ฉะนั้น การออกแบบความริเริ่มในการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Shared Value Initiative องค์กรต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ 3 ประการเป็นพื้นฐาน คือ
1) | ความริเริ่มนั้นต้องสร้างให้เกิดผลตอบแทนทางธุรกิจ |
2) | ความริเริ่มนั้นต้องตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจำเป็นทางสังคมที่จำเพาะเจาะจง (ไม่หว่าน กระจัดกระจาย หรือสะเปะสะปะ) |
3) | ความริเริ่มนั้นต้องใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญขององค์กรให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล |
สำหรับองค์ประกอบที่ช่วยในการออกแบบความริเริ่มในการสร้างคุณค่าร่วม ประกอบด้วย
• | การสร้างเคสหรือแผนธุรกิจเพื่อตัดสินใจลงทุนดำเนินการโดยชี้ให้เห็นคุณค่าทางสังคมและคุณค่าทางธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับ |
• | การแสวงหาหุ้นส่วนดำเนินการภายนอกองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อขยายพื้นที่ดำเนินการ |
• | การระบุถึงกิจกรรมและเม็ดเงินลงทุนสำหรับการขับเคลื่อน |
• | การจัดสรรทรัพยากรและการจัดการภายในองค์กรสำหรับรองรับการดำเนินความริเริ่ม |
• | การติดตามวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจและผลลัพธ์ทางสังคม |
ในทัศนะของดิฉัน เห็นว่านัยของแนวคิด CSV ที่ถอดความได้จากการเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ คือ การวางรูปแบบของการทำธุรกิจที่นำประเด็นปัญหาสังคมมาเป็นโจทย์ร่วมในการคิดค้นและพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนภายนอกที่เป็นภาคประชาสังคมซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหลัก แตกต่างจากการดำเนินธุรกิจทั่วไป ซึ่งมีรูปแบบที่มุ่งตอบโจทย์ผลได้ทางธุรกิจเป็นหลัก โดยมีหุ้นส่วนซึ่งเป็นพันธมิตรในห่วงโซ่ธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการมุ่งแสวงหาผลกำไรเหมือนกัน
อันไปสอดคล้องกับที่ Mark Kramer ได้พูดกับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งหลังจากนี้จะออกไปทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้าน Shared Value เอาไว้ว่า "แนวคิด CSV เป็นเรื่องของการทำธุรกิจ เป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องการดูแลแก้ไขปัญหาสังคมไปพร้อมกับการทำธุรกิจ CSV จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างผลกำไรทางธุรกิจ"
แนวคิด CSV ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาทดแทนเรื่อง CSR หรือเรื่องความยั่งยืน แต่ธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้สามารถแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการทำธุรกิจที่แต่ละองค์กรได้ใช้ความถนัดและความเชี่ยวชาญของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง โดยมีแรงจูงใจจากผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนในตัวเอง และไม่จำเป็นต้องอาศัยแรงกดดันจากภายนอก
จึงทำให้น่าติดตามต่อว่า ท้ายที่สุดแล้ว แนวคิด CSV ที่ใช้แรงจูงใจภายในด้วยผลกำไรทางธุรกิจ อาจจะมีความยั่งยืน และได้รับการตอบรับจากองค์กรธุรกิจมากกว่าเรื่อง CSR ที่มักอาศัยแรงกดดันภายนอกให้แสดงความรับผิดชอบเป็นตัวขับเคลื่อนได้หรือไม่
[ประชาชาติธุรกิจ]