ซีเอสอาร์ฉบับอาเซียน ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม
พงษ์ผกา ภวภูตานนท์
การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (CSR : Corporate Social Responsibility) เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
นายมาการิม วิบิโซโน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน ประธานงานประชุมธุรกิจเพื่อสังคมประจำปี 2556 (CSR Thailand 2013 Conference) กล่าวว่า ภาคธุรกิจควรจะผนวกเรื่องซีเอสอาร์เข้าไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กรด้วยเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจและสังคมและการแลกเปลี่ยนมุมมองด้านซีเอส อาร์ ในกลุ่มประเทศอาเซียน
การประชุมนี้จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (กลต.), CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน (ASEAN CSR Network) ภายใต้แนวคิด CSR Roadmap for ASEAN
นายวัฒนา โอภานนท์อมตะ ประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า บริษัทของไทยส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมด้านซีเอสอาร์อยู่แล้วแต่บางส่วนอาจทำไม่สมบูรณ์ ปีนี้ CSR Club จึงผนวกเรื่องการทำซีเอสอาร์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ เน้นกรณีศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น
อีกประการที่สำคัญคือ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนทราบว่า CSR-in-process ในประเทศไทยโดยภาคเอกชน มีการขับเคลื่อนและมีพัฒนาการที่ล้ำหน้าไม่แพ้ประเทศ อื่นๆ และยังเป็นต้นแบบที่ใครสนใจก็นำไปปรับใช้ได้
ซีเอสอาร์ คลับ เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน (ASEAN CSR Network) เมื่อปี 2554 ร่วมกับองค์กรจากชาติสมาชิกอาเซียนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ชุมนุมธุรกิจอินโดนีเซีย (Indonesia Business Links) หอการค้าระหว่างประเทศมาเลเซีย (International Chamber of Commerce-Malaysia) สันนิบาตมูลนิธิในสังกัดภาคเอกชนฟิลิปปินส์ (League of Corporate Foundations, Philippines) และกลุ่มความตกลงว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมภาคเอกชนสิงคโปร์ (Singapore Compact for CSR) รวมทั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
การสร้างเครือข่ายซีเอสอาร์อาเซียนเพื่อแสวงหาโอกาสในการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยน เป็นที่พบปะพูดจาหารือประเด็นและข้อห่วงใยในระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนและเสริมสร้างขีดความสามารถ ตลอดจนการเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายแก่มวลสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค
นายโธมัส โธมัส กรรมการผู้จัดการเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน กล่าวว่า เหตุที่ซีเอสอาร์มีความสำคัญต่อการสร้างประชาคมอาเซียนนั้น เนื่องมาจากเป้า ประสงค์หลัก 4 ประการ อันได้แก่
ด้าน นางยันติ ตรีวาเทียนตินี่ ผู้อำนวยการบริษัทอินโดนีเซีย บิสิเนส ลิงก์ กล่าวว่า มีการดำเนินการมาร่วมปีแล้ว และ ก็ประสบความสำเร็จอย่างดีด้วยการสนับ สนุนกองทุน และข้อมูล รวมทั้งการต่อต้าน การคอร์รัปชั่นภายในประเทศอย่างจริงจัง
แต่ด้วยความที่อินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่และมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทำให้การทำความเข้าใจด้านซีเอสอาร์ภายในประเทศยังค่อนข้างมีความหลากหลายอยู่พอสมควร ดังนั้น เป้าหมายของอินโดนีเซียต่อการสร้างแผนความร่วมมือ คือ หากแต่ละประเทศสมาชิกมีประเด็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน การเข้าร่วมเครือข่ายภูมิภาค เช่น เอซีเอ็น (ACN) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทำ
นอกจากนี้ การประสานงานร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย และ ACN ในแง่ของการแบ่งปันและนวัตกรรม และการร่วมมือกับตัวแทนประเทศสมาชิกในภูมิภาคประเทศอื่นๆ ก็เป็นไปเพื่อเสริมแรงในการสร้างฐานสนับสนุน รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในประจำปี 2558 รวมทั้งการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่พันธมิตรด้วย
[Original Link]
การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (CSR : Corporate Social Responsibility) เป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
นายมาการิม วิบิโซโน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน ประธานงานประชุมธุรกิจเพื่อสังคมประจำปี 2556 (CSR Thailand 2013 Conference) กล่าวว่า ภาคธุรกิจควรจะผนวกเรื่องซีเอสอาร์เข้าไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กรด้วยเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจและสังคมและการแลกเปลี่ยนมุมมองด้านซีเอส อาร์ ในกลุ่มประเทศอาเซียน
การประชุมนี้จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (กลต.), CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน (ASEAN CSR Network) ภายใต้แนวคิด CSR Roadmap for ASEAN
นายวัฒนา โอภานนท์อมตะ ประธาน CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า บริษัทของไทยส่วนใหญ่ดำเนินกิจกรรมด้านซีเอสอาร์อยู่แล้วแต่บางส่วนอาจทำไม่สมบูรณ์ ปีนี้ CSR Club จึงผนวกเรื่องการทำซีเอสอาร์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนให้มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ เน้นกรณีศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น
อีกประการที่สำคัญคือ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนทราบว่า CSR-in-process ในประเทศไทยโดยภาคเอกชน มีการขับเคลื่อนและมีพัฒนาการที่ล้ำหน้าไม่แพ้ประเทศ อื่นๆ และยังเป็นต้นแบบที่ใครสนใจก็นำไปปรับใช้ได้
ซีเอสอาร์ คลับ เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน (ASEAN CSR Network) เมื่อปี 2554 ร่วมกับองค์กรจากชาติสมาชิกอาเซียนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ชุมนุมธุรกิจอินโดนีเซีย (Indonesia Business Links) หอการค้าระหว่างประเทศมาเลเซีย (International Chamber of Commerce-Malaysia) สันนิบาตมูลนิธิในสังกัดภาคเอกชนฟิลิปปินส์ (League of Corporate Foundations, Philippines) และกลุ่มความตกลงว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมภาคเอกชนสิงคโปร์ (Singapore Compact for CSR) รวมทั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
การสร้างเครือข่ายซีเอสอาร์อาเซียนเพื่อแสวงหาโอกาสในการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยน เป็นที่พบปะพูดจาหารือประเด็นและข้อห่วงใยในระดับภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนและเสริมสร้างขีดความสามารถ ตลอดจนการเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายแก่มวลสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค
นายโธมัส โธมัส กรรมการผู้จัดการเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน กล่าวว่า เหตุที่ซีเอสอาร์มีความสำคัญต่อการสร้างประชาคมอาเซียนนั้น เนื่องมาจากเป้า ประสงค์หลัก 4 ประการ อันได้แก่
1. | เพื่อที่จะสร้างความสอดคล้องด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับด้านสังคมของภูมิภาค ให้ประสบความสำเร็จผ่านรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน |
2. | มุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด |
3. | เพื่อสร้างการรองรับความต้องการและความคาดหวังของประชาชนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป |
4. | การสร้างความเชื่อมโยงและเครือข่ายความรับผิดชอบ ไปจนถึงความคาดหวังทางสังคมทั่วโลกที่มีต่อภาคธุรกิจ |
ด้าน นางยันติ ตรีวาเทียนตินี่ ผู้อำนวยการบริษัทอินโดนีเซีย บิสิเนส ลิงก์ กล่าวว่า มีการดำเนินการมาร่วมปีแล้ว และ ก็ประสบความสำเร็จอย่างดีด้วยการสนับ สนุนกองทุน และข้อมูล รวมทั้งการต่อต้าน การคอร์รัปชั่นภายในประเทศอย่างจริงจัง
แต่ด้วยความที่อินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่และมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทำให้การทำความเข้าใจด้านซีเอสอาร์ภายในประเทศยังค่อนข้างมีความหลากหลายอยู่พอสมควร ดังนั้น เป้าหมายของอินโดนีเซียต่อการสร้างแผนความร่วมมือ คือ หากแต่ละประเทศสมาชิกมีประเด็นปัญหาที่คล้ายคลึงกัน การเข้าร่วมเครือข่ายภูมิภาค เช่น เอซีเอ็น (ACN) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทำ
นอกจากนี้ การประสานงานร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย และ ACN ในแง่ของการแบ่งปันและนวัตกรรม และการร่วมมือกับตัวแทนประเทศสมาชิกในภูมิภาคประเทศอื่นๆ ก็เป็นไปเพื่อเสริมแรงในการสร้างฐานสนับสนุน รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในประจำปี 2558 รวมทั้งการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่พันธมิตรด้วย
[Original Link]