จากความร่วมมือตลอดระยะ 4 ปี ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) และสถาบันไทยพัฒน์ ในการดำเนินโครงการ CSR DAY ด้วยการสนับสนุนขององค์กรธุรกิจชั้นนำที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน เป็นผลให้การจัดกิจกรรม CSR DAY เกิดขึ้นในสถานประกอบการทั้งในบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วเป็นจำนวนเกือบ 400 ครั้ง โดยมียอดผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นมากกว่า 16,000 คน ใน 4 phase ที่ผ่านมา
ผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโครงการ CSR DAY ประการแรก คือ การได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง CSR ในหมู่พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นหัวใจพื้นฐานที่จะทำให้การแปลความหมาย CSR ไปสู่การปฏิบัติมีความถูกต้อง ครอบคลุม และมุ่งเป้าไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
ผลลัพธ์สำคัญประการต่อมา คือ การเกิดช่องทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ขององค์กร ตั้งแต่ การสำรวจกิจกรรม CSR ในระดับบุคคล การนำเสนอกิจกรรม CSR ระดับองค์กร และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในอันที่จะนำไปสู่การสร้างความผูกพันร่วมในหมู่พนักงาน (Employee Engagement) ซึ่งถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนงาน CSR ให้เกิดผลสำเร็จ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยสถานประกอบการหลายแห่งได้นำข้อเสนอกิจกรรม CSR ที่เกิดขึ้นในโครงการ CSR DAY ไปพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรม CSR ขององค์กร
•
แบบแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ CSR DAY ปี 2557
ปัจจุบัน โครงการ CSR DAY แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ระดับแรกเป็น CSR DAY for Directors Program และระดับที่สองเป็น CSR DAY Program
☐ | CSR DAY for Directors Program |
| เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท |
| • | สามารถบรรจุเป็นหนึ่งในวาระการประชุมของคณะกรรมการ |
| • | ดำเนินการในแบบ Sharing and Discussion ตั้งแต่ 30-90 นาที |
| • | สร้างความเข้าใจในหลักการและขอบเขตของ CSR(-in-process) |
| • | เปิดมุมมองแนวการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability) ของกิจการ |
| • | รู้จักแนวคิด CSV การสร้างคุณค่าร่วมระหว่างกิจการและสังคม |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
☐ | CSR DAY Program |
| เหมาะสำหรับผู้ดูแลงานด้าน CSR รวมทั้งพนักงานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่ |
1) | หลักสูตร CSR Engagement |
| • | ความรู้ CSR เบื้องต้น (ที่ถูกต้อง) |
| • | อะไรที่ใช่ และไม่ใช่ CSR |
| • | CSR ระดับพนักงาน |
| • | CSR ระดับองค์กร |
| • | จะมีส่วนร่วมใน CSR กับองค์กรได้อย่างไร |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
| • | CSR Report คืออะไร |
| • | ประโยชน์และความสำคัญของ CSR Report |
| • | การเพิ่มคุณค่าของการทำรายงานจาก Project สู่ Process |
| • | เรียนรู้กระบวนการจัดทำรายงาน 5 ระยะของ GRI |
| • | แนะนำเครื่องมือการทดสอบสารัตถภาพ (Materiality) ของรายงาน |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
| • | แนะนำมาตรฐาน ISO 26000: 2010 |
| • | 7 หลักการสากลความรับผิดชอบต่อสังคม |
| • | 7 เรื่องหลักที่องค์กรต้องมี (อย่างครบถ้วน) |
| • | 7 แนวปฏิบัติการบูรณการทั่วทั้งองค์กร |
| • | แนะนำ PRODUCE Module การวาง CSR อย่างเป็นระบบ |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
โครงการ CSR DAY ปี 2557 ยังคงขยายผลจากการจัดอบรม สู่การให้คำปรึกษาเชิงลึกในสถานประกอบการ ผ่านทาง CSR DAY Coaching Program
☐ | CSR DAY Coaching Program* |
| เป็นการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกด้าน CSR Report ในสถานประกอบการ |
| • | เรียนรู้การจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน |
| • | เข้าใจกรอบการรายงานสากลของ Global Reporting Initiative (GRI) |
| • | ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายองค์กรกับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน |
| • | แนวทางการเลือกตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่เหมาะสมกับองค์กร |
| • | แนวทางการรวบรวมข้อมูลเพื่อการรายงาน |
| • | การตรวจสอบบริบทความยั่งยืน (Sustainability Context) |
| • | การตรวจสอบความสมบูรณ์ (Completeness) ของข้อมูล |
| • | การประเมินระดับของการรายงาน |
| • | ให้คำปรึกษาโดยทีมที่ปรึกษาที่ได้รับการอบรมและรับรองจาก GRI |
* | เฉพาะองค์กรซึ่งเคยเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ CSR DAY หรือเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการเขียนรายงานด้าน CSR ปี 2555 หรือปี 2556 หรือผ่านการสัมมนาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตามแบบ 56-1 ในปี 2557 |