จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำ มาร่วมงานทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2557 เมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เผย 6 ทิศทาง CSR ปี 2557 เน้นบทบาทความเป็นพลเมืองของภาคธุรกิจ หรือ Corporate Citizenship เพื่อการปฏิรูปสังคมด้วยแนวทาง การเข้าใจ เข้าถึง และร่วมพัฒนาสังคม พร้อมนำแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจกับสังคม หรือ Creating Shared Value (CSV) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ CSR รูปแบบใหม่ อาศัยความเชี่ยวชาญของธุรกิจมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
เทรนด์แรง : พลเมืองภาคองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น
“ในช่วงปีนี้บทบาทของภาคเอกชนต่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาสังคม เป็นเรื่องที่ได้ผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป็นมากกว่าการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่ในฐานะของพลเมืองภาคองค์กรที่ธุรกิจ (Corporate Citizenship Engagement) ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในสังคม และมีผลประโยชน์ร่วมกับสังคม” ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship
องค์กรธุรกิจสามารถดำรงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทำหน้าที่ในหมวกของพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เป็นการเข้าร่วมขบวนปฏิรูปสังคม ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่น ประเด็นที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และเป็นหนึ่งในวาระหลักของการปฏิรูป ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้องค์กรธุรกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน จะมีการวางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน CSR
“การเข้าร่วมขบวนปฏิรูปที่กำลังก่อตัวขึ้นในสังคมไทยของภาคเอกชนนั้นสามารถใช้แนวทาง Engage-Enable-Empower ที่เริ่มจาก ‘สำนึก’ ขององค์กรที่ประสงค์จะเข้าร่วม (Engage) ปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาด้วยการใช้สติปัญญาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์และทรัพยากรที่องค์กรมีให้ รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร เพื่อเปิดทาง (Enable) การเข้าร่วมปฏิรูป ทำให้เอื้อต่อการทำหน้าที่พลเมืองภาคองค์กร ตลอดจนการเสริมสร้างพลัง (Empower) ให้บุคลากรในเครือข่ายที่องค์กรเข้าไปร่วม แสดงเป้าประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายให้สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ เมื่อองค์กรถอนการทำงานออกจากเวที หรือประเด็นปฏิรูปที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม”
อีก 5 เทรนด์ CSR ก้าวถึงจุดเปลี่ยนแปลง
ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงองค์กร CSR ยังมีอีก 5 ทิศทางที่จะเป็นประเด็นร้อนที่น่าจับตา
1. Materiality Matters หมายถึงธุรกิจจะเพิ่มน้ำหนักความสำคัญมาที่ “สาระ” ของการดำเนินงาน และการรายงาน CSR มากขึ้น ตามกรอบการรายงานสากล และประกาศเรื่องการเปิดเผยข้อมูล CSR ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญที่สาระของการดำเนินงาน อยู่เหนือการตรวจสอบรูปแบบของรายการที่ดำเนินงาน และให้น้ำหนักกับความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถในการแจกแจงเรื่องทั้งหมดที่ได้ดำเนินการ ในปีนี้ องค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น
2. De-Organization Imperative หมายถึงเส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง ประเด็นการดำเนินงาน CSR จากนี้ไปจะไม่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะขององค์กรเพียงลำพัง แต่ยังยึดโยงกับสมรรถนะของคู่ค้าและครอบคลุมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นในห่วงโซ่ธุรกิจ เส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง หรือทำให้เกิดการลดทอนตัวตนหรือสภาพขององค์กรลง (De-Organization) เนื่องจากองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยการผลักภาระให้พ้นจากเขตความรับผิดชอบของตนได้ จึงคาดว่ากิจการขนาดใหญ่หลายแห่งในปีนี้จะลุกขึ้นเป็นผู้นำการขับเคลื่อน CSR ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. Strategy-Based CSR หมายความว่า แผนงาน CSR จะถูกยกระดับสู่การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมร้อยกับยุทธศาสตร์องค์กร วิธีการจะผนวก CSR เข้าในทุกส่วนการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างบูรณาการ เป็นการวางแนวทางการขับเคลื่อน CSR ไว้ในระดับกลยุทธ์องค์กร มิใช่เพียงการดำเนินงานตามแผนงาน CSR ที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม ในปีนี้ กระบวนทัศน์ของกิจการที่เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (CSR-in-process) จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR ในเชิงกลยุทธ์ (Strategy-Based) ที่เชื่อมร้อยเข้ากับยุทธศาสตร์องค์กร โดยมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองตอบต่อเป้าประสงค์ในระดับองค์กร มากกว่าการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในระดับแผนงานที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม
4. Creating Shared Value (CSV) เป็นแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม จะถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในธุรกิจเพื่อตอบโจทย์สังคมที่เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการมาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ในปีนี้ คาดว่าจะมีธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจำเป็นทางสังคม ที่สร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นสิ่งจูงใจ
5. Green Procurement Policy การจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของธุรกิจ เพื่อแสดงถึง CSR ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกระบวนการสำคัญของธุรกิจ ที่สามารถใช้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจหันมาใส่ใจผลิตสินค้าและบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ในปีนี้ ภาคธุรกิจ จะมีความเคลื่อนไหวในการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร
ตลาดหลักทรัพย์ฯ หนุน CSR เพิ่มขีดความสามารถ
ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มุ่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับ CEO และระดับผู้ปฏิบัติงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัด CEO Forum การจัดสัมมนา อบรมและ workshop ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตร Advance ในประเด็นที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อศักยภาพและลักษณะการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง เช่น การบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่บริษัทจดทะเบียนในการรายงานข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR เป็นต้น รวมถึงการจัดทำเอกสารเผยแพร่ต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดี
นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญต่องานส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพเข้าสู่ตัวชี้วัดสากล Dow Jones Sustainability Index โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท RobecoSAM ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการประเมินดัชนีความยั่งยืนให้แก่ S&P Dow Jones มาให้ความรู้และแนวทางในการทำแบบประเมิน รวมถึงการส่งเสริมการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานสากล GRI อีกด้วย
จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การดำเนินงานด้านการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการของตลาดหลักทรัพย์ฯ มีวัตถุประสงค์หลักส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียน มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ข้อสำคัญต้องสามารถผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการธุรกิจ จนสามารถพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์กรได้ในที่สุด”
[Original Link]
สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เผย 6 ทิศทาง CSR ปี 2557 เน้นบทบาทความเป็นพลเมืองของภาคธุรกิจ หรือ Corporate Citizenship เพื่อการปฏิรูปสังคมด้วยแนวทาง การเข้าใจ เข้าถึง และร่วมพัฒนาสังคม พร้อมนำแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจกับสังคม หรือ Creating Shared Value (CSV) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ CSR รูปแบบใหม่ อาศัยความเชี่ยวชาญของธุรกิจมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
เทรนด์แรง : พลเมืองภาคองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น
“ในช่วงปีนี้บทบาทของภาคเอกชนต่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาสังคม เป็นเรื่องที่ได้ผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป็นมากกว่าการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับสังคมอยู่ในฐานะของพลเมืองภาคองค์กรที่ธุรกิจ (Corporate Citizenship Engagement) ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในสังคม และมีผลประโยชน์ร่วมกับสังคม” ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2557: Corporate Citizenship
องค์กรธุรกิจสามารถดำรงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทำหน้าที่ในหมวกของพลเมืองภาคองค์กร (Corporate Citizen) เป็นการเข้าร่วมขบวนปฏิรูปสังคม ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่น ประเด็นที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และเป็นหนึ่งในวาระหลักของการปฏิรูป ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้องค์กรธุรกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน จะมีการวางแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน CSR
“การเข้าร่วมขบวนปฏิรูปที่กำลังก่อตัวขึ้นในสังคมไทยของภาคเอกชนนั้นสามารถใช้แนวทาง Engage-Enable-Empower ที่เริ่มจาก ‘สำนึก’ ขององค์กรที่ประสงค์จะเข้าร่วม (Engage) ปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาด้วยการใช้สติปัญญาซึ่งอยู่นอกเหนือจากเจตนารมณ์และทรัพยากรที่องค์กรมีให้ รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ขององค์กร เพื่อเปิดทาง (Enable) การเข้าร่วมปฏิรูป ทำให้เอื้อต่อการทำหน้าที่พลเมืองภาคองค์กร ตลอดจนการเสริมสร้างพลัง (Empower) ให้บุคลากรในเครือข่ายที่องค์กรเข้าไปร่วม แสดงเป้าประสงค์ในการสร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายให้สามารถขับเคลื่อนงานต่อไปได้ เมื่อองค์กรถอนการทำงานออกจากเวที หรือประเด็นปฏิรูปที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม”
อีก 5 เทรนด์ CSR ก้าวถึงจุดเปลี่ยนแปลง
ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงองค์กร CSR ยังมีอีก 5 ทิศทางที่จะเป็นประเด็นร้อนที่น่าจับตา
1. Materiality Matters หมายถึงธุรกิจจะเพิ่มน้ำหนักความสำคัญมาที่ “สาระ” ของการดำเนินงาน และการรายงาน CSR มากขึ้น ตามกรอบการรายงานสากล และประกาศเรื่องการเปิดเผยข้อมูล CSR ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญที่สาระของการดำเนินงาน อยู่เหนือการตรวจสอบรูปแบบของรายการที่ดำเนินงาน และให้น้ำหนักกับความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถในการแจกแจงเรื่องทั้งหมดที่ได้ดำเนินการ ในปีนี้ องค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น
2. De-Organization Imperative หมายถึงเส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง ประเด็นการดำเนินงาน CSR จากนี้ไปจะไม่ขึ้นอยู่กับสมรรถนะขององค์กรเพียงลำพัง แต่ยังยึดโยงกับสมรรถนะของคู่ค้าและครอบคลุมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นในห่วงโซ่ธุรกิจ เส้นแบ่งของ CSR ระหว่างองค์กรกับองค์กรข้างเคียงในห่วงโซ่ธุรกิจจะเลือนรางลง หรือทำให้เกิดการลดทอนตัวตนหรือสภาพขององค์กรลง (De-Organization) เนื่องจากองค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยการผลักภาระให้พ้นจากเขตความรับผิดชอบของตนได้ จึงคาดว่ากิจการขนาดใหญ่หลายแห่งในปีนี้จะลุกขึ้นเป็นผู้นำการขับเคลื่อน CSR ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. Strategy-Based CSR หมายความว่า แผนงาน CSR จะถูกยกระดับสู่การพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมร้อยกับยุทธศาสตร์องค์กร วิธีการจะผนวก CSR เข้าในทุกส่วนการดำเนินงานขององค์กรได้อย่างบูรณาการ เป็นการวางแนวทางการขับเคลื่อน CSR ไว้ในระดับกลยุทธ์องค์กร มิใช่เพียงการดำเนินงานตามแผนงาน CSR ที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม ในปีนี้ กระบวนทัศน์ของกิจการที่เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (CSR-in-process) จะให้ความสำคัญกับการพัฒนา CSR ในเชิงกลยุทธ์ (Strategy-Based) ที่เชื่อมร้อยเข้ากับยุทธศาสตร์องค์กร โดยมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองตอบต่อเป้าประสงค์ในระดับองค์กร มากกว่าการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในระดับแผนงานที่เป็นรายโครงการ หรือรายกิจกรรม
4. Creating Shared Value (CSV) เป็นแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม จะถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในธุรกิจเพื่อตอบโจทย์สังคมที่เพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการมาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ในปีนี้ คาดว่าจะมีธุรกิจที่นำแนวคิด CSV มาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการตอบสนองต่อประเด็นปัญหาหรือความจำเป็นทางสังคม ที่สร้างให้เกิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นสิ่งจูงใจ
5. Green Procurement Policy การจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของธุรกิจ เพื่อแสดงถึง CSR ในประเด็นสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกระบวนการสำคัญของธุรกิจ ที่สามารถใช้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจหันมาใส่ใจผลิตสินค้าและบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ในปีนี้ ภาคธุรกิจ จะมีความเคลื่อนไหวในการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพิ่มมากขึ้น โดยการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร
ตลาดหลักทรัพย์ฯ หนุน CSR เพิ่มขีดความสามารถ
ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มุ่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับ CEO และระดับผู้ปฏิบัติงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัด CEO Forum การจัดสัมมนา อบรมและ workshop ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตร Advance ในประเด็นที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อศักยภาพและลักษณะการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการของบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง เช่น การบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่บริษัทจดทะเบียนในการรายงานข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR เป็นต้น รวมถึงการจัดทำเอกสารเผยแพร่ต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดี
นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญต่องานส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพเข้าสู่ตัวชี้วัดสากล Dow Jones Sustainability Index โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท RobecoSAM ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการประเมินดัชนีความยั่งยืนให้แก่ S&P Dow Jones มาให้ความรู้และแนวทางในการทำแบบประเมิน รวมถึงการส่งเสริมการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบการรายงานสากล GRI อีกด้วย
จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การดำเนินงานด้านการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการของตลาดหลักทรัพย์ฯ มีวัตถุประสงค์หลักส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียน มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ข้อสำคัญต้องสามารถผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการธุรกิจ จนสามารถพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์กรได้ในที่สุด”
[Original Link]
No comments:
Post a Comment