Creating Shared Value (CSV): กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
ในปี พ.ศ.2548 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและพัฒนาบนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนั้น ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการใช้ตัวกระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือในการจำแนก CSR ออกเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ใช้คำเรียกแทนว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” แม้จะไม่ค่อยตรงความหมายมากนัก แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปของกิจกรรมที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือ “CSR-after-process” และมีการใช้คำเรียก CSR จำพวกนี้ว่า “กิจกรรมเพื่อสังคม”
ปัจจุบัน คำว่า “CSR-in-process” ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประกอบธุรกิจที่ทำอยู่ปกติอย่างรับผิดชอบ ด้วยการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่ความยั่งยืน นอกเหนือจากการเติบโตของกิจการ
การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียในกรอบของการ “ทำก็ต่อเมื่อเกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรับหรือเชิงตอบสนองเพื่อมุ่งจัดการกับผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าเป็น Responsive CSR มาสู่กรอบของการ “ทำโดยไม่รอให้เกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรุกหรือเชิงป้องกันเพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าหรือผลกระทบทางบวก ด้วยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่องค์กรมีอยู่ หรือที่เรียกว่าเป็น Strategic CSR
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วิธีการทางธุรกิจเพื่อใช้สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิด Strategic CSR จนกลายมาเป็น Creating Shared Value (CSV) หรือการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน โดยไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ผู้ที่เป็นต้นตำรับของแนวคิดดังกล่าว ล่าสุดได้ก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative เมื่อปี 2555 เพื่อนำแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ไปใช้ในองค์กรและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
ในประเทศไทย องค์กรภาคธุรกิจหลายแห่ง ได้ทำการศึกษาและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับองค์กร ถึงขนาดที่ว่า มีองค์กรบางแห่งประกาศจะนำมาใช้แทนเรื่อง CSR ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีความเข้าใจที่มีความแตกต่างหรือมีความคลาดเคลื่อนในหมู่ของผู้ที่นำแนวคิด CSV มาใช้
การสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ให้ความสำคัญกับการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ถือเป็นส่วนที่มาขยายหรือเติมเต็มการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้วิถีของการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ในบริบทของ CSR-in-process
สถาบันไทยพัฒน์ เห็นว่าเรื่อง CSV จะเป็นแนวคิดที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจนำมาใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการทำธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ สร้างคุณค่าให้แก่สังคม โดยมีแรงจูงใจจากผลตอบแทนทางธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อน
ในปี พ.ศ.2557 สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดตั้ง CSV Forum ขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และนำเสนอข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมในประเทศไทย สนับสนุนให้องค์กรที่สนใจ มีการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานตามแนวทาง CSV ของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ให้สามารถส่งมอบคุณค่าแก่สังคมควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร
ดาวน์โหลดไฟล์ "กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม: Creating Shared Value (CSV)" ความหนา 27 หน้า เอกสารตั้งต้นสำหรับองค์กรในการทำความเข้าใจเรื่องการสร้างคุณค่าร่วมตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และ มาร์ค เครเมอร์ เจ้าของแนวคิด CSV ฉบับต้นตำรับ โดยทีมที่ปรึกษาของสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับการรับรองให้เป็น Certified Shared Value Consultant จาก Shared Value Initiative |
บทความที่เกี่ยวข้อง
• เริ่มทำ “CSV” ต้องรู้อะไร
• ธุรกิจที่สังคมต้องการ
• แผนที่กลยุทธ์คุณค่าร่วม
• SVOI เครื่องมือค้นหา “คุณค่าร่วม”
• Shared Value Enterprise: องค์กรเปลี่ยนโลก
• เรียกชื่อไหน ก็ยังเป็น CSR
• แผนธุรกิจคู่สังคม
• จาก B2B สู่ B4B
• CSV กับ SE เหมือนหรือต่างกัน?
• เลียบเลาะเวที Shared Value Summit
• เวทีผู้นำแห่งคุณค่าร่วม
• การขับเคลื่อน CSV ระดับองค์กร
• CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
• พลิกปัญหาสู่โอกาสด้วย CSV
• CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
• โอกาสธุรกิจ คุณค่าสังคม
• SVOI Tools: The Beginning of "Shared Value Initiative"
• โอกาส CSV ในไทย
• กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
• ต้นแบบแห่งวิถี ‘CSV’ กสิกรไทย-พฤกษา-บางจาก
• ตัวอย่าง CSV ในธุรกิจไทย
• ป้ายหน้า CSV
• CSV กับ Social Enterprise
• CSV ดีจริงหรือ
• โตเกียวขายาว
• เลียบเวที Shared Value Summit
• ‘ซีเอสวี’ กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
• ต่อยอด CSR เป็น CSV
• CSV โมเดลทำดีวิถีทุนนิยม
• จาก CSR สู่ CSV ถึงเวลา...ปลุกธุรกิจสร้างคุณค่าร่วม
• กระชับพื้นที่ CSV
• CSV: กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
• ระดับของ CSV ในภาคปฏิบัติ
• เริ่มต้น CSV ให้ถูกทาง
• ต้นตำรับ CSV มาเอง
• CSR หรือ CSV ดี
• ใช้ CSR สร้าง Shared Value
• คุณค่าผสม กับการตลาดทางสังคม
• Strategic CSR becomes CSV
กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
• Detail of the Shared Value Leadership Summit Event
• Video Recap of the 2015 Shared Value Leadership Summit
• ข่าวประชาสัมพันธ์
วีดีทัศน์กล่าวต้อนรับ โดย Mark Kramer
• Detail of the Shared Value Leadership Summit Event
• Video Recap of the 2014 Shared Value Leadership Summit
• ข่าวประชาสัมพันธ์ (English Version)
• เอกสารในช่วงการเสวนา CSV