สุธิชา เจริญงาม
ปัจจุบันเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิด Strategic CSR มาเป็นแนวคิด Creating Shared Value (CSV) หรือการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม โดย ศ.ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ เจ้าของหรือผู้ที่เป็นต้นตำรับของแนวคิดดังกล่าว
ล่าสุดได้ก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative (SVI) เมื่อปี 2555 เพื่อถ่ายทอดแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ให้แก่องค์กรทั่วโลกได้นำไปใช้ทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จนส่งผลให้มีการนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาเป็นกลยุทธธุรกิจกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
การสร้างคุณค่าร่วมตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ มิใช่การแบ่งปันหรือส่งมอบคุณค่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วในรูปของการบริจาคหรือ Philanthropy เช่น การคืนกำไรสู่สังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจและเกิดขึ้นภายหลัง (CSR-after-process)
คุณลักษณะของ CSV จะต้องมี "ภาวะคู่กัน" (Duality) ของคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งต่อองค์กรและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน ทำให้การริเริ่ม CSV จึงต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ คือ ความท้าทายหรือโอกาสทางธุรกิจ ประเด็นปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไข ความเชี่ยวชาญและสินทรัพย์ที่องค์กรมีอยู่
ปัจจัยแรกก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจในรูปของรายได้ ผลกำไร ส่วนแบ่งตลาด การสร้างตลาดใหม่ การลดค่าใช้จ่ายหรือลดความสูญเสียในด้านต่างๆ ปัจจัยที่สองก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมในรูปของการพัฒนา การแก้ไขเยียวยา การยกระดับคุณภาพชีวิต การรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างโอกาสหรือความเป็นธรรมในสังคมในด้านต่างๆ ส่วนปัจจัยที่สามก่อให้เกิดผลิตภาพที่ทำให้การส่งมอบผลลัพธ์ทั้งทางธุรกิจและทางสังคมมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเต็มคุณค่า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ เห็นว่าการสร้างคุณค่าร่วมจะเป็นกลยุทธ์ที่ภาคเอกชนให้ความสนใจนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมขององค์กรธุรกิจไทย ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ เจ้าของแนวคิด CSV ฉบับต้นตำรับ สำหรับรองรับความต้องการของหน่วยงานที่ประสงค์จะนำแนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ในงานสัมมนา "Shared Value Opportunities in Thailand" ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ คุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท คุณวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก ปิโตรเลียม และคุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและโอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย
นอกจากเวทีในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์จากบริษัทจดทะเบียนชั้นนำแล้ว ในงานยังได้มีการนำเสนอแนวทางการค้นหาและคัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วมด้วยเครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) เพื่อช่วยเหลือองค์กรในการพัฒนาความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม จาก ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ และคุณปาจารีย์ คุณชัยมัง หุ้นส่วน บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
โอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย ที่ทุกองค์กรธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับความก้าวหน้าของสังคม กำลังถูกเปิดม่าน อย่างเป็นทางการ
[Original Link]
ปัจจุบันเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิด Strategic CSR มาเป็นแนวคิด Creating Shared Value (CSV) หรือการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม โดย ศ.ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ เจ้าของหรือผู้ที่เป็นต้นตำรับของแนวคิดดังกล่าว
ล่าสุดได้ก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative (SVI) เมื่อปี 2555 เพื่อถ่ายทอดแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ให้แก่องค์กรทั่วโลกได้นำไปใช้ทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จนส่งผลให้มีการนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาเป็นกลยุทธธุรกิจกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
การสร้างคุณค่าร่วมตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ มิใช่การแบ่งปันหรือส่งมอบคุณค่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วในรูปของการบริจาคหรือ Philanthropy เช่น การคืนกำไรสู่สังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการธุรกิจและเกิดขึ้นภายหลัง (CSR-after-process)
คุณลักษณะของ CSV จะต้องมี "ภาวะคู่กัน" (Duality) ของคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งต่อองค์กรและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน ทำให้การริเริ่ม CSV จึงต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ คือ ความท้าทายหรือโอกาสทางธุรกิจ ประเด็นปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไข ความเชี่ยวชาญและสินทรัพย์ที่องค์กรมีอยู่
ปัจจัยแรกก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจในรูปของรายได้ ผลกำไร ส่วนแบ่งตลาด การสร้างตลาดใหม่ การลดค่าใช้จ่ายหรือลดความสูญเสียในด้านต่างๆ ปัจจัยที่สองก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมในรูปของการพัฒนา การแก้ไขเยียวยา การยกระดับคุณภาพชีวิต การรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างโอกาสหรือความเป็นธรรมในสังคมในด้านต่างๆ ส่วนปัจจัยที่สามก่อให้เกิดผลิตภาพที่ทำให้การส่งมอบผลลัพธ์ทั้งทางธุรกิจและทางสังคมมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเต็มคุณค่า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ เห็นว่าการสร้างคุณค่าร่วมจะเป็นกลยุทธ์ที่ภาคเอกชนให้ความสนใจนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมขององค์กรธุรกิจไทย ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ เจ้าของแนวคิด CSV ฉบับต้นตำรับ สำหรับรองรับความต้องการของหน่วยงานที่ประสงค์จะนำแนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ในงานสัมมนา "Shared Value Opportunities in Thailand" ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ คุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท คุณวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บางจาก ปิโตรเลียม และคุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและโอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย
นอกจากเวทีในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์จากบริษัทจดทะเบียนชั้นนำแล้ว ในงานยังได้มีการนำเสนอแนวทางการค้นหาและคัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วมด้วยเครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) เพื่อช่วยเหลือองค์กรในการพัฒนาความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม จาก ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ และคุณปาจารีย์ คุณชัยมัง หุ้นส่วน บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
โอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย ที่ทุกองค์กรธุรกิจสามารถเติบโตไปพร้อมกับความก้าวหน้าของสังคม กำลังถูกเปิดม่าน อย่างเป็นทางการ
[Original Link]
No comments:
Post a Comment