ทิศทาง CSR ปี 2558
ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) นับเป็นเรื่องที่ภาคธุรกิจไม่สามารถละเลยที่จะไม่ให้ความสนใจ เนื่องเพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนการดำเนินธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่กิจการเข้าไปเกี่ยวข้อง และได้มีการขยายความเพิ่มเติมในระยะหลังว่า ความสำเร็จจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกุญแจที่เปิดทางไปสู่การพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability) ให้แก่กิจการและสังคมโดยรวม
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา พัฒนาการสำคัญของเรื่อง CSR ในประเทศไทย คือ การขยับบทบาทจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมจำพวกที่เป็นโครงการหรือกิจกรรมซึ่งแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ ที่มักเรียกกันว่า กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR-after-process ในรูปของการช่วยเหลือทางตรงในลักษณะการบริจาคเพื่อการกุศล และการสนับสนุนในลักษณะการอาสาช่วยเหลือชุมชนร่วมกับพนักงานหรือร่วมมือกับองค์กรอื่น ซึ่งมิได้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ธุรกิจดำเนินการอยู่เท่าใดนัก มาสู่การให้ความสำคัญกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมจำพวกที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ หรือ CSR-in-process
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในระยะหลัง จึงมีความพยายามในการเชื่อมโยง CSR เข้ากับสิ่งที่ธุรกิจดำเนินการอยู่ โดยคำนึงถึงการป้องกัน ดูแล และแก้ไขผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise)
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2558: Sustainable Enterprise” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ ท่ามกลางความคาดหวังของสังคมไทยที่มีต่อการปฏิรูป การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยเฉพาะบทบาทขององค์กรธุรกิจที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของภาคเศรษฐกิจ และพร้อมรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในสิ้นปีนี้
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา พัฒนาการสำคัญของเรื่อง CSR ในประเทศไทย คือ การขยับบทบาทจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมจำพวกที่เป็นโครงการหรือกิจกรรมซึ่งแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ ที่มักเรียกกันว่า กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR-after-process ในรูปของการช่วยเหลือทางตรงในลักษณะการบริจาคเพื่อการกุศล และการสนับสนุนในลักษณะการอาสาช่วยเหลือชุมชนร่วมกับพนักงานหรือร่วมมือกับองค์กรอื่น ซึ่งมิได้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ธุรกิจดำเนินการอยู่เท่าใดนัก มาสู่การให้ความสำคัญกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมจำพวกที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ หรือ CSR-in-process
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในระยะหลัง จึงมีความพยายามในการเชื่อมโยง CSR เข้ากับสิ่งที่ธุรกิจดำเนินการอยู่ โดยคำนึงถึงการป้องกัน ดูแล และแก้ไขผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise)
สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืน ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า “6 ทิศทาง CSR ปี 2558: Sustainable Enterprise” เผยแพร่ให้แก่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการ ท่ามกลางความคาดหวังของสังคมไทยที่มีต่อการปฏิรูป การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยเฉพาะบทบาทขององค์กรธุรกิจที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของภาคเศรษฐกิจ และพร้อมรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในสิ้นปีนี้
(พิพัฒน์ ยอดพฤติการ) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ 29 มกราคม 2558 |