ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน
ฝ่ายความยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์
จากประเด็นสภาพการจ้างงานในภาคประมง ข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเล และมาตรการที่เสนอให้ระงับการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ส่งมอบที่มีส่วนในการสนับสนุนการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมจนส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการส่งออกของไทยเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงขอบข่ายของความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จำเป็นต้องขยายเพื่อให้ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจ และคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน จนไม่สามารถจำกัดอยู่เฉพาะแหล่งดำเนินงานของตนเองเพียงลำพังได้อีกต่อไป
กระแสเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมหรือCSR ที่พุ่งเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของกิจการแต่เดิมในวันนี้ จำต้องพิจารณายกระดับการขับเคลื่อน เพื่อให้ครอบคลุมโจทย์ ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Sustainability ด้วย
ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานถูกนิยามไว้ว่า เป็นการจัดการผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการ (BSR, UNGC, 2015)
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ธำรงรักษา และเพิ่มคุณค่าในระยะยาว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาด
องค์กรธุรกิจที่ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวจะสามารถปกป้องธุรกิจให้อยู่รอดและได้มาซึ่ง "License to Operate" ซึ่งคือการยอมรับจากสังคม หรือจากชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน ในรูปของการให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้กิจการนั้น ๆ ประกอบการได้ต่อเนื่องเรื่อยไป
ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทานกลายเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่ใช้ในการส่งมอบสินค้าและบริการไปยังทั่วโลกเชื่อมธุรกิจ และปัจเจกที่ทำงานอยู่ในห่วงโซ่ดังกล่าว ข้ามอุตสาหกรรม ภูมิภาค วัฒนธรรม และพรมแดน
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอนาคตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเข้าร่วมและสนับสนุนหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมและผลได้ทางธุรกิจไปพร้อมกัน
กิจกรรมทุกระยะภายในห่วงโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งการขนส่ง การนำเข้าวัสดุ การผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และหลังการใช้งาน องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดการและการหาหนทางที่จะปรับปรุงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งกับกิจการเอง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และกับสังคมโดยรวม
ทั้งนี้ กิจการสามารถจัดทำแผนงานความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสานสัมพันธ์ทั้งกับผู้ส่งมอบตรง (Direct Suppliers) และผู้ส่งมอบช่วง (Subtiers Suppliers) ย้อนขึ้นไปถึงผู้ผลิตวัตถุดิบ ด้วยกิจกรรมสร้างคุณค่าในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยรวม
[Original Link]
กระแสเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมหรือCSR ที่พุ่งเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของกิจการแต่เดิมในวันนี้ จำต้องพิจารณายกระดับการขับเคลื่อน เพื่อให้ครอบคลุมโจทย์ ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Sustainability ด้วย
ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานถูกนิยามไว้ว่า เป็นการจัดการผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าและบริการ (BSR, UNGC, 2015)
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ธำรงรักษา และเพิ่มคุณค่าในระยะยาว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาด
องค์กรธุรกิจที่ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวจะสามารถปกป้องธุรกิจให้อยู่รอดและได้มาซึ่ง "License to Operate" ซึ่งคือการยอมรับจากสังคม หรือจากชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน ในรูปของการให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้กิจการนั้น ๆ ประกอบการได้ต่อเนื่องเรื่อยไป
ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทานกลายเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่ใช้ในการส่งมอบสินค้าและบริการไปยังทั่วโลกเชื่อมธุรกิจ และปัจเจกที่ทำงานอยู่ในห่วงโซ่ดังกล่าว ข้ามอุตสาหกรรม ภูมิภาค วัฒนธรรม และพรมแดน
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอนาคตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเข้าร่วมและสนับสนุนหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมและผลได้ทางธุรกิจไปพร้อมกัน
กิจกรรมทุกระยะภายในห่วงโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งการขนส่ง การนำเข้าวัสดุ การผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และหลังการใช้งาน องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดการและการหาหนทางที่จะปรับปรุงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งกับกิจการเอง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และกับสังคมโดยรวม
ทั้งนี้ กิจการสามารถจัดทำแผนงานความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสานสัมพันธ์ทั้งกับผู้ส่งมอบตรง (Direct Suppliers) และผู้ส่งมอบช่วง (Subtiers Suppliers) ย้อนขึ้นไปถึงผู้ผลิตวัตถุดิบ ด้วยกิจกรรมสร้างคุณค่าในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยรวม
[Original Link]