ส่องรายงานความยั่งยืน
วีรญา ปรียาพันธ์
โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนปี 2558 (Sustainability Report Award 2015) ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 จากความร่วมมือของ CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสถาบันไทยพัฒน์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและยกระดับการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัท ครอบคลุมกลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)และกลุ่มบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในการประกาศรางวัลประจำปี 2558 นี้มีองค์กรที่เข้าร่วมส่งรายงานความยั่งยืน เพื่อพิจารณารางวัล จำนวนทั้งสิ้น 106 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 92 บริษัท บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 8 บริษัท และบริษัททั่วไปที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 6 บริษัท
การพิจารณาตัดสินรางวัลรายงานความยั่งยืน ได้ใช้เกณฑ์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ของรายงานประกอบด้วย หัวข้อสารัตถภาพ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย กลยุทธ์ และบริบทขององค์กร ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ของรายงาน ประกอบด้วยหัวข้อกระบวนการจัดการ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย การกำกับดูแล ผลการดำเนินงาน และการสอบทาน ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) รายงานประกอบด้วย หัวข้อการนำเสนอ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย และโครงสร้างรายงาน
โดยจำนวนของรายงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยรายงานความยั่งยืน/CSR ร้อยละ 57.5 รายงานประจำปีร้อยละ 40.6 และ Integrated Report ร้อยละ 1.9
ด้านความสมบูรณ์ ในหัวข้อสารัตถภาพที่คำนึงถึงประเด็น ตัวบ่งชี้ ผลกระทบที่มีสาระสำคัญ และในหัวข้อกลยุทธ์ที่ให้น้ำหนักกับข้อยึดมั่นของฝ่ายบริหาร การผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าไว้ในกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และการวัดผลการดำเนินงานนั้น มีการรายงานในระดับปานกลาง สำหรับหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นเรื่องของการระบุผู้มีส่วนได้เสีย การให้ลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสีย และการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย มีการรายงานในระดับดี สำหรับในส่วนของบริบทขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการรายงานในระดับดีมาก
ด้านความเชื่อถือได้ ในหัวข้อกระบวนการจัดการที่เป็นเรื่องของระบบการบริหาร มาตรฐานที่นำมาใช้ และการมอบหมายผู้รับผิดชอบ มีการรายงานในระดับดีมาก สำหรับหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่ให้ความสำคัญกับการสานเสวนา การสนองตอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และกระบวนการที่โปร่งใส หัวข้อการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับภาระรับผิดชอบ การดูแลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
หัวข้อผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย มีข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้ และเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้ และหัวข้อการสอบทานที่คำนึงถึงประเภทและระดับของการตรวจสอบ รวมทั้งหน่วยงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น มีการรายงานในระดับปานกลาง
ด้านการสื่อสารและนำเสนอ สำหรับหัวข้อการนำเสนอที่เน้นเรื่องความครอบคลุม ความเหมาะสม และความชัดเจนของเนื้อหารายงาน และหัวข้อโครงสร้างรายงานที่คำนึงถึงการให้บทสรุป ดัชนีข้อมูล และการอ้างอิงยังแหล่งข้อมูลหรือรายงานฉบับอื่นมีการรายงานในระดับดี ส่วนหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่คำนึงถึงความหลากหลายของช่องทางการเข้าถึงรายงาน การให้ความสมดุลของกลุ่มผู้ใช้รายงานที่มีความแตกต่างกัน และช่องทางการรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้ใช้รายงาน สามารถทำได้ในระดับปานกลาง
หวังว่า ข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทที่กำลังจัดทำรายงานความยั่งยืนอยู่ในเวลานี้ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาเนื้อหารายงานฉบับรอบปีปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย
[Original Link]
โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนปี 2558 (Sustainability Report Award 2015) ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 จากความร่วมมือของ CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสถาบันไทยพัฒน์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและยกระดับการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัท ครอบคลุมกลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)และกลุ่มบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในการประกาศรางวัลประจำปี 2558 นี้มีองค์กรที่เข้าร่วมส่งรายงานความยั่งยืน เพื่อพิจารณารางวัล จำนวนทั้งสิ้น 106 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 92 บริษัท บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 8 บริษัท และบริษัททั่วไปที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 6 บริษัท
การพิจารณาตัดสินรางวัลรายงานความยั่งยืน ได้ใช้เกณฑ์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ของรายงานประกอบด้วย หัวข้อสารัตถภาพ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย กลยุทธ์ และบริบทขององค์กร ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ของรายงาน ประกอบด้วยหัวข้อกระบวนการจัดการ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย การกำกับดูแล ผลการดำเนินงาน และการสอบทาน ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) รายงานประกอบด้วย หัวข้อการนำเสนอ ความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย และโครงสร้างรายงาน
โดยจำนวนของรายงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยรายงานความยั่งยืน/CSR ร้อยละ 57.5 รายงานประจำปีร้อยละ 40.6 และ Integrated Report ร้อยละ 1.9
ด้านความสมบูรณ์ ในหัวข้อสารัตถภาพที่คำนึงถึงประเด็น ตัวบ่งชี้ ผลกระทบที่มีสาระสำคัญ และในหัวข้อกลยุทธ์ที่ให้น้ำหนักกับข้อยึดมั่นของฝ่ายบริหาร การผนวกเรื่องความยั่งยืนเข้าไว้ในกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และการวัดผลการดำเนินงานนั้น มีการรายงานในระดับปานกลาง สำหรับหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นเรื่องของการระบุผู้มีส่วนได้เสีย การให้ลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสีย และการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย มีการรายงานในระดับดี สำหรับในส่วนของบริบทขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการรายงานในระดับดีมาก
ด้านความเชื่อถือได้ ในหัวข้อกระบวนการจัดการที่เป็นเรื่องของระบบการบริหาร มาตรฐานที่นำมาใช้ และการมอบหมายผู้รับผิดชอบ มีการรายงานในระดับดีมาก สำหรับหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่ให้ความสำคัญกับการสานเสวนา การสนองตอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และกระบวนการที่โปร่งใส หัวข้อการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับภาระรับผิดชอบ การดูแลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
หัวข้อผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย มีข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้ และเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้ และหัวข้อการสอบทานที่คำนึงถึงประเภทและระดับของการตรวจสอบ รวมทั้งหน่วยงานที่ให้ความเชื่อมั่นนั้น มีการรายงานในระดับปานกลาง
ด้านการสื่อสารและนำเสนอ สำหรับหัวข้อการนำเสนอที่เน้นเรื่องความครอบคลุม ความเหมาะสม และความชัดเจนของเนื้อหารายงาน และหัวข้อโครงสร้างรายงานที่คำนึงถึงการให้บทสรุป ดัชนีข้อมูล และการอ้างอิงยังแหล่งข้อมูลหรือรายงานฉบับอื่นมีการรายงานในระดับดี ส่วนหัวข้อความครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่คำนึงถึงความหลากหลายของช่องทางการเข้าถึงรายงาน การให้ความสมดุลของกลุ่มผู้ใช้รายงานที่มีความแตกต่างกัน และช่องทางการรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้ใช้รายงาน สามารถทำได้ในระดับปานกลาง
หวังว่า ข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทที่กำลังจัดทำรายงานความยั่งยืนอยู่ในเวลานี้ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาเนื้อหารายงานฉบับรอบปีปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย
[Original Link]