SDG-Enhanced Report
Introduction | Approach | Mapping Tools | Recognition |
เพื่อเป็นการเชิดชูหน่วยงานผู้ริเริ่มจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนที่อ้างอิงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้ลงนามเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) และเป็นหุ้นส่วนฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจาก Global Reporting Initiative (GRI) ได้นำหลักการแนวทางในมาตรฐานการประเมินความยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้เป็นแนวทางการประเมินความยั่งยืนในมิติของการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานตามเกณฑ์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำหรับมอบเกียรติบัตร SDG-Enhanced Sustainability Report ประจำปี ให้แก่รายงานแห่งความยั่งยืนของหน่วยงานที่ผ่านการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน SDG-Enhanced Sustainability Report มีอยู่ 5 ระดับ เริ่มจาก ระดับที่ 1 ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 2 การให้ลำดับความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรต้องการตอบสนอง ระดับที่ 3 การกำหนดเป้าประสงค์ที่องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 4 การผนวกการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร และระดับที่ 5 การสื่อสารและการรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น อ้างอิงมาจากเข็มทิศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG Compass ที่จัดทำเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานของภาคธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยความร่วมมือของ 3 องค์กรชั้นนำระดับโลก ได้แก่ UN Global Compact, Global Reporting Initiative (GRI) และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)
หน่วยงานที่จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน ที่มีความประสงค์จะตรวจสอบสถานะของรายงานว่าเข้าข่ายการรายงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือไม่ สามารถขอรับการประเมิน ประจำปี 2560 ได้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป
• แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์
• การไฟฟ้านครหลวง
• กลุ่มทิสโก้
• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
• ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
• บางจากปิโตรเลียม
• การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
• ไทยคม
เกณฑ์การประเมิน SDG-Enhanced Sustainability Report มีอยู่ 5 ระดับ เริ่มจาก ระดับที่ 1 ความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 2 การให้ลำดับความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์กรต้องการตอบสนอง ระดับที่ 3 การกำหนดเป้าประสงค์ที่องค์กรดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับที่ 4 การผนวกการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร และระดับที่ 5 การสื่อสารและการรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น อ้างอิงมาจากเข็มทิศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG Compass ที่จัดทำเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานของภาคธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยความร่วมมือของ 3 องค์กรชั้นนำระดับโลก ได้แก่ UN Global Compact, Global Reporting Initiative (GRI) และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)
หน่วยงานที่จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน ที่มีความประสงค์จะตรวจสอบสถานะของรายงานว่าเข้าข่ายการรายงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือไม่ สามารถขอรับการประเมิน ประจำปี 2560 ได้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป
'SDG-Enhanced Sustainability Report Recognition ปี 2559'
สถาบันไทยพัฒน์ มอบเกียรติบัตร “SDG-Enhanced Sustainability Report ปี 2559” ให้แก่องค์กรที่เป็นผู้ริเริ่มจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) อิงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่สหประชาชาติประกาศให้เป็นเป้าหมายโลก• แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์
• การไฟฟ้านครหลวง
• กลุ่มทิสโก้
• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
• ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
• บางจากปิโตรเลียม
• การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
• ไทยคม