Pages

Tuesday, February 07, 2017

การประเมินความยั่งยืนของกิจการ



สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำโครงการประเมินการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย ในรูปของตัวบ่งชี้ความคืบหน้าในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การต้านทุจริต (Anti-Corruption) และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เพื่อให้บริษัทสามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต และการดำเนินงานในกระบวนการทางธุรกิจที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มระดับความคืบหน้าทั้งสามด้านอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาแนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกรอบหรือมาตรฐานที่เป็นสากล

โรดแมปการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ

เส้นทางการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยในระยะแรก กิจการสามารถดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง มีการดูแลผลกระทบจากการดำเนินงานไม่ให้เกิดปัญหาหรือสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่สังคมและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ในระยะที่สอง กิจการสามารถผนวกเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าไว้ในระดับกลยุทธ์ธุรกิจ มีการปรับแต่งกลยุทธ์ธุรกิจให้สามารถนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืน และในระยะที่สาม กิจการสามารถพัฒนาธุรกิจไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) ด้วยการพิจารณานำประเด็นทางสังคมที่อยู่ในความสนใจขององค์กร มาพัฒนาเป็นโจทย์ทางธุรกิจ โดยใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในการสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน

 


สถาบันไทยพัฒน์ ได้เข้าเป็นองค์กรร่วมดำเนินงานในความริเริ่มสากลด้านการประเมินความยั่งยืน หรือ Global Initiative for Sustainability Ratings (GISR) ร่วมกับองค์กรชั้นนำระดับโลก อาทิ UN Global Compact, GRI, IIRC, SASB เพื่อนำหลักการแนวทางในมาตรฐานการประเมินความยั่งยืนของ GISR มาใช้เป็นแนวทางการประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย ให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล



No comments:

Post a Comment