หลักการและที่มา | ความเหมือนและความต่าง | บทสรุปและเสนอแนะ |
ทั้งมาตรฐานการรายงานของ GRI และกรอบการรายงานของ IIRC มีความมุ่งประสงค์ร่วมกัน คือ ต้องการแก้ข้อจำกัดของการรายงานประจำปีในแบบเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงข้อมูลทางการเงินที่บ่งบอกถึงความสามารถขององค์กรและผลประกอบการที่ผ่านมาในอดีตของกิจการ แต่ยังไม่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน (Non-financial Disclosure) ได้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่บ่งชี้ถึงโอกาสและความเสี่ยง รวมทั้งขีดความสามารถขององค์กรที่มีต่อผลประกอบการในอนาคตของกิจการ
GRI จัดหมวดข้อมูลการดำเนินงานที่กำหนดให้เปิดเผยออกเป็น 3 ด้านหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากข้อมูลทั่วไป ขณะที่ IIRC กำหนดรูปแบบการเปิดเผยข้อมูล ตามการจัดการและสร้างคุณค่าจากทุน 6 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้าน(ทรัพย์สินทาง)ปัญญา ด้าน(ทรัพยากร)มนุษย์ ด้านสังคมและความสัมพันธ์ และด้าน(ทรัพยากร)ธรรมชาติ
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการรายงานตามมาตรฐานของ GRI กับกรอบของ IIRC ในประการแรก คือ เป้าหมายที่เป็นผู้ใช้รายงาน (Target Audience) ซึ่งจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ภาคประชาสังคมจนถึงกลุ่มผู้ลงทุน สำหรับมาตรฐานของ GRI ในขณะที่ กรอบของ IIRC จะเน้นการเปิดเผยข้อมูลสำหรับกลุ่มผู้ลงทุน (Investors) เป็นหลัก
ด้วยเหตุที่กลุ่มผู้ใช้รายงานแต่ละกลุ่ม มีความคาดหวังหรือมีความสนใจในข้อมูลที่เปิดเผยไม่เหมือนกัน จึงนำมาสู่ความแตกต่างประการที่สอง คือ สารัตถภาพ (Materiality) หรือสาระสำคัญของข้อมูลที่นำมาเปิดเผย GRI จะให้องค์กรพิจารณานัยสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากองค์กร (ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) โดยวิเคราะห์เทียบกับอิทธิพลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ได้ประเด็นที่มีสาระสำคัญ (Material Topics) มาบรรจุไว้ในรายงาน หลังจากการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นได้ทั้งพนักงาน เจ้าของกิจการ ผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ ลูกค้า ฯลฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ คือ ผู้อ่านหลักของรายงานแห่งความยั่งยืน
ขณะที่ IIRC จะพิจารณาสารัตถภาพของประเด็นที่นำมาเปิดเผย จากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องและสำคัญซึ่งส่งอิทธิพลต่อการประเมินของเจ้าของเงินทุน ว่ามีผลกระทบกับความสามารถขององค์กรต่อการสร้างคุณค่าในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งในการวิเคราะห์นี้ จะได้มาซึ่งประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงิน (Financially Material Topics) โดยมีผู้ลงทุนหรือเจ้าของเงินทุน เป็นผู้อ่านหลักของรายงานเชิงบูรณาการ
และด้วยเหตุที่เนื้อหาข้อมูลซึ่งนำมาเปิดเผยมีระดับของความครอบคลุมและความเฉพาะเจาะจงไม่เหมือนกัน จึงนำมาสู่ความแตกต่างประการที่สาม คือ องค์กรเป้าหมายที่เป็นผู้จัดทำรายงาน (Target Reporters) โดยที่มาตรฐานของ GRI ออกแบบให้ใช้ได้กับผู้จัดทำรายงานที่เป็นองค์กรทั้งในภาคธุรกิจและนอกภาคธุรกิจ ทั้งบริษัทเอกชนทั่วไปและบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Public and private companies) ขณะที่กรอบของ IIRC ออกแบบไว้สำหรับผู้จัดทำรายงานซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Public companies) ซึ่งมีผู้ถือหุ้นมากราย และเน้นการเปิดเผยข้อมูลที่ส่งผลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
GRI จัดหมวดข้อมูลการดำเนินงานที่กำหนดให้เปิดเผยออกเป็น 3 ด้านหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากข้อมูลทั่วไป ขณะที่ IIRC กำหนดรูปแบบการเปิดเผยข้อมูล ตามการจัดการและสร้างคุณค่าจากทุน 6 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้าน(ทรัพย์สินทาง)ปัญญา ด้าน(ทรัพยากร)มนุษย์ ด้านสังคมและความสัมพันธ์ และด้าน(ทรัพยากร)ธรรมชาติ
GRI | IIRC | |
Type of Guidance | Standards | Framework |
Target Audience | All stakeholders | Investors |
Definition of Materiality | Information that "can reasonably be considered important for reflecting the organization’s economic, environmental, and social impacts, or influencing the decisions of stakeholders" (GRI definition) | "A matter is material if it is of such relevance and importance that it could substantively influence the assessments of providers of financial capital with regard to the organization’s ability to create value over the short, medium and long term" (IIRC definition) |
Target Reporters | Public and private companies | Public companies |
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการรายงานตามมาตรฐานของ GRI กับกรอบของ IIRC ในประการแรก คือ เป้าหมายที่เป็นผู้ใช้รายงาน (Target Audience) ซึ่งจะครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ภาคประชาสังคมจนถึงกลุ่มผู้ลงทุน สำหรับมาตรฐานของ GRI ในขณะที่ กรอบของ IIRC จะเน้นการเปิดเผยข้อมูลสำหรับกลุ่มผู้ลงทุน (Investors) เป็นหลัก
ด้วยเหตุที่กลุ่มผู้ใช้รายงานแต่ละกลุ่ม มีความคาดหวังหรือมีความสนใจในข้อมูลที่เปิดเผยไม่เหมือนกัน จึงนำมาสู่ความแตกต่างประการที่สอง คือ สารัตถภาพ (Materiality) หรือสาระสำคัญของข้อมูลที่นำมาเปิดเผย GRI จะให้องค์กรพิจารณานัยสำคัญของผลกระทบที่เกิดจากองค์กร (ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) โดยวิเคราะห์เทียบกับอิทธิพลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้ได้ประเด็นที่มีสาระสำคัญ (Material Topics) มาบรรจุไว้ในรายงาน หลังจากการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นได้ทั้งพนักงาน เจ้าของกิจการ ผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน ผู้ลงทุน เจ้าหนี้ ลูกค้า ฯลฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ คือ ผู้อ่านหลักของรายงานแห่งความยั่งยืน
ขณะที่ IIRC จะพิจารณาสารัตถภาพของประเด็นที่นำมาเปิดเผย จากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องและสำคัญซึ่งส่งอิทธิพลต่อการประเมินของเจ้าของเงินทุน ว่ามีผลกระทบกับความสามารถขององค์กรต่อการสร้างคุณค่าในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งในการวิเคราะห์นี้ จะได้มาซึ่งประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงิน (Financially Material Topics) โดยมีผู้ลงทุนหรือเจ้าของเงินทุน เป็นผู้อ่านหลักของรายงานเชิงบูรณาการ
และด้วยเหตุที่เนื้อหาข้อมูลซึ่งนำมาเปิดเผยมีระดับของความครอบคลุมและความเฉพาะเจาะจงไม่เหมือนกัน จึงนำมาสู่ความแตกต่างประการที่สาม คือ องค์กรเป้าหมายที่เป็นผู้จัดทำรายงาน (Target Reporters) โดยที่มาตรฐานของ GRI ออกแบบให้ใช้ได้กับผู้จัดทำรายงานที่เป็นองค์กรทั้งในภาคธุรกิจและนอกภาคธุรกิจ ทั้งบริษัทเอกชนทั่วไปและบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Public and private companies) ขณะที่กรอบของ IIRC ออกแบบไว้สำหรับผู้จัดทำรายงานซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Public companies) ซึ่งมีผู้ถือหุ้นมากราย และเน้นการเปิดเผยข้อมูลที่ส่งผลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ
No comments:
Post a Comment