<IR> บทสรุปและเสนอแนะ
หลักการและที่มา | ความเหมือนและความต่าง | บทสรุปและเสนอแนะ |
การที่องค์กรใด ออกมาประกาศว่าจะเปลี่ยนจากการจัดทำ Sustainability Report มาเป็น Integrated Report แสดงว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพราะกิจการคงไม่ได้มีความมุ่งประสงค์ว่า จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและทั่วถึง มาเป็นการเปิดเผยข้อมูลให้เฉพาะผู้ลงทุนกลุ่มเดียวอย่างแน่นอน
การเลือกว่าจะใช้มาตรฐานของ GRI หรือกรอบของ IIRC จึงไม่ใช่ตรรกะที่สมเหตุสมผล เพราะกิจการยังควรที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ไม่ว่าจะด้วยมาตรฐานใดก็ตาม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น GRI) ในขณะเดียวกัน กิจการควรเปิดเผย (หรือ ต้องเปิดเผย ในกรณีที่เป็นข้อบังคับ) ข้อมูลในประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุนในรายงานทางการเงิน หรือในรายงานประจำปี ที่เป็นภาคบังคับ ไม่ว่าจะด้วยกรอบใดก็ตาม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น IIRC)
ทั้งนี้ การเลือกเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานเฉพาะในประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงิน โดยละเลยประเด็นที่มีสาระสำคัญอื่นๆ ย่อมส่งผลต่อการดำเนินงานที่นำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมโดยรวม เนื่องจากกิจการอาจเพิกเฉยต่อการกำหนดตัวบ่งชี้การดำเนินงาน การติดตามวัดผล และการบริหารจัดการในประเด็นสำคัญเหล่านั้น อันเป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องและส่งผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงาน การนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างคุณค่าในระยะยาว
ในทางปฏิบัติ ธุรกิจวิถียั่งยืน จะเปิดเผยทั้งสองกรณี คือ ระบุประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญทางการเงิน แล้วสื่อสารให้แก่กลุ่มผู้ลงทุน และระบุประเด็นความยั่งยืนที่เป็นผลมาจากการทดสอบสารัตถภาพ แล้วสื่อสารให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยไม่ยึดติดในชื่อเรียกของเล่มรายงาน ว่าจะต้องเป็น Sustainability Report หรือ Integrated Report
โปรดระลึกว่า บรรทัดสุดท้ายของการรายงาน คือ ความโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบที่ต้องสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ควบคู่ไปกับการปรับปรุงการดำเนินงานโดยใช้การรายงานเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างคุณค่าในระยะยาว
การเลือกว่าจะใช้มาตรฐานของ GRI หรือกรอบของ IIRC จึงไม่ใช่ตรรกะที่สมเหตุสมผล เพราะกิจการยังควรที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน ไม่ว่าจะด้วยมาตรฐานใดก็ตาม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น GRI) ในขณะเดียวกัน กิจการควรเปิดเผย (หรือ ต้องเปิดเผย ในกรณีที่เป็นข้อบังคับ) ข้อมูลในประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุนในรายงานทางการเงิน หรือในรายงานประจำปี ที่เป็นภาคบังคับ ไม่ว่าจะด้วยกรอบใดก็ตาม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น IIRC)
ทั้งนี้ การเลือกเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานเฉพาะในประเด็นที่มีนัยสำคัญทางการเงิน โดยละเลยประเด็นที่มีสาระสำคัญอื่นๆ ย่อมส่งผลต่อการดำเนินงานที่นำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมโดยรวม เนื่องจากกิจการอาจเพิกเฉยต่อการกำหนดตัวบ่งชี้การดำเนินงาน การติดตามวัดผล และการบริหารจัดการในประเด็นสำคัญเหล่านั้น อันเป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องและส่งผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงาน การนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างคุณค่าในระยะยาว
ในทางปฏิบัติ ธุรกิจวิถียั่งยืน จะเปิดเผยทั้งสองกรณี คือ ระบุประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญทางการเงิน แล้วสื่อสารให้แก่กลุ่มผู้ลงทุน และระบุประเด็นความยั่งยืนที่เป็นผลมาจากการทดสอบสารัตถภาพ แล้วสื่อสารให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยไม่ยึดติดในชื่อเรียกของเล่มรายงาน ว่าจะต้องเป็น Sustainability Report หรือ Integrated Report
โปรดระลึกว่า บรรทัดสุดท้ายของการรายงาน คือ ความโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบที่ต้องสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ควบคู่ไปกับการปรับปรุงการดำเนินงานโดยใช้การรายงานเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างคุณค่าในระยะยาว