การพิจารณาเพื่อคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนเข้าในยูนิเวอร์ส ESG100 สถาบันไทยพัฒน์ได้ใช้ข้อมูล ESG ที่บริษัทมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งที่ปรากฏในรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) หรือในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1 One Report) รวมทั้งข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในรายงานประจำปี หรือในรายงานอื่น ๆ โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม นับตั้งแต่ปีแรกเริ่มที่ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2558 มาจวบจนปัจจุบัน
การประเมินหลักทรัพย์ ESG100 จะประกอบด้วยเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง (Screening Criteria) และเกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน (Rating Criteria)
เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง ประกอบด้วย
• | ผลการดำเนินงานของบริษัทต้องมีผลประกอบการที่เป็นกำไรติดต่อกันสองรอบปีบัญชีล่าสุด |
• | การปลอดจากการกระทำความผิดโดยที่บริษัทหรือคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต้องไม่ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษหรือเปรียบเทียบปรับในรอบปีประเมิน |
• | การกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ของบริษัทเป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด |
สถาบันไทยพัฒน์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการ ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท และเป็นการยกระดับจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน ESG แบบเอกเทศ มาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับผลประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย
การประเมิน ESG แบบบูรณาการ |
เกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน ประกอบด้วย
• | การพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของอุตสาหกรรม |
• | การพิจารณาวิธีการที่บริษัทใช้ระบุและจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG |
• | การพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร |
ส่วนประเด็นสาระสำคัญ (Material Topics) ด้าน ESG ที่นำมาใช้วิเคราะห์ จะมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
ชุดประเด็นด้าน ESG จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
• เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry)
- | การจัดการด้านพลังงานและทรัพยากรน้ำ |
- | ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
- | ความปลอดภัยทางอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ |
- | การแสดงฉลากผลิตภัณฑ์และการสื่อสารการตลาด |
- | ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโซ่อุปทานส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ |
• สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products)
- | การจัดการด้านพลังงาน |
- | ความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์ |
- | การจำกัดการใช้สารเคมีอันตรายในตัวผลิตภัณฑ์ |
- | ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ |
- | นวัตกรรมและการสรรหาวัตถุดิบในการผลิต |
• ธุรกิจการเงิน (Financials)
- | การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล |
- | การให้ข้อมูลอย่างโปร่งใสและคำแนะนำที่เป็นธรรมแก่ลูกค้า |
- | การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบ |
- | การบริหารสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง |
- | การผนวกปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ |
• สินค้าอุตสาหกรรม (Industrials)
- | การจัดการด้านพลังงาน น้ำ มลอากาศ และของเสีย |
- | ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
- | ความปลอดภัยในตัวผลิตภัณฑ์ |
- | การจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสถานการณ์ฉุกเฉิน |
- | การสรรหาวัสดุ |
• อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction)
- | ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาโครงการ |
- | การใช้ที่ดินและผลกระทบทางนิเวศ |
- | การจัดการด้านพลังงาน น้ำ และของเสีย |
- | ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
- | จริยธรรม และความโปร่งใสในการให้บริการ |
• ทรัพยากร (Resources)
- | ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
- | การจัดการมลอากาศ น้ำทิ้ง และของเสียอันตราย |
- | การจัดการผลกระทบทางนิเวศ และชุมชน |
- | การเตรียมความพร้อมและแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน/ภัยพิบัติ |
- | การบริหารสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง |
• บริการ (Services)
- | ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน น้ำ และการจัดการของเสีย |
- | การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล |
- | การจัดการด้านความปลอดภัยและอุบัติภัย |
- | การต้านทุจริตและติดสินบน |
- | การบริหารคุณภาพในโซ่อุปทาน |
• เทคโนโลยี (Technology)
- | ฟุตพริ้นท์ทางสิ่งแวดล้อม |
- | การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล |
- | การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน |
- | พฤติกรรมการแข่งขันและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา |
- | การสรรหาวัสดุ การจัดการโซ่อุปทาน และซากผลิตภัณฑ์ |
No comments:
Post a Comment