โครงการ CSR DAY ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2552 เป็นความริเริ่มของสถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่พนักงานที่มีต่อเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่อง CSR ซึ่งถือเป็นหัวใจพื้นฐานที่จะทำให้การแปลความหมาย CSR ไปสู่การปฏิบัติมีความถูกต้อง ครอบคลุม และมุ่งเป้าไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
โครงการ CSR DAY ได้ดำเนินมาสู่ขวบปีที่ 10 มีกิจกรรมทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างพนักงาน และการระดมความคิดเชิงปฏิบัติการ ที่ถูกจัดขึ้นในสถานประกอบการ แล้วเป็นจำนวนกว่า 500 ครั้ง รวมจำนวนชั่วโมงกว่า 1,550 ชั่วโมง และมีผู้ผ่านการเข้าร่วมโครงการแล้วเกือบ 22,000 คน
ผลลัพธ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโครงการ CSR DAY คือ การเปิดช่องทางการมีส่วนร่วมของพนักงาน ตั้งแต่ การสำรวจกิจกรรม CSR ในระดับบุคคล การนำเสนอกิจกรรม CSR ระดับองค์กร และการสร้างความผูกพันร่วมในหมู่พนักงาน (Employee Engagement) ซึ่งถือเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนงาน CSR ให้เกิดผลสำเร็จ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยสถานประกอบการหลายแห่งได้นำข้อเสนอกิจกรรม CSR ที่เกิดขึ้นในโครงการ CSR DAY ไปพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรม CSR ขององค์กร
•
แบบแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ CSR DAY ปี 2561
โครงการ CSR DAY ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่
☐ | Directors Program |
| เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท |
| • | สามารถบรรจุเป็นหนึ่งในวาระการประชุมของคณะกรรมการ |
| • | ดำเนินการในแบบ Sharing and Discussion ตั้งแต่ 30-90 นาที |
| • | สร้างความเข้าใจในหลักการและขอบเขตของ CSR(-in-process) |
| • | เปิดมุมมองเรื่อง ESG กับความยั่งยืน (Sustainability) ของกิจการ |
| • | รู้จักแนวคิด CSV การสร้างคุณค่าร่วมระหว่างกิจการและสังคม |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
☐ | Employee Program |
| เหมาะสำหรับผู้ดูแลงานด้าน CSR รวมทั้งพนักงานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ |
| • | ความรู้ CSR เบื้องต้น (ที่ถูกต้อง) |
| • | อะไรที่ใช่ และไม่ใช่ CSR |
| • | CSR ระดับพนักงาน |
| • | CSR ระดับองค์กร |
| • | จะมีส่วนร่วมใน CSR กับองค์กรได้อย่างไร |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
| • | CSR Report คืออะไร |
| • | ประโยชน์และความสำคัญของ CSR Report |
| • | การเพิ่มคุณค่าของการทำรายงานจาก Project สู่ Process |
| • | เรียนรู้กระบวนการจัดทำรายงาน 5 ระยะของ GRI |
| • | แนะนำเครื่องมือการทดสอบสารัตถภาพ (Materiality) ของรายงาน |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
3) | CSV (Creating Shared Value) |
| • | แนะนำแนวคิดของ CSV |
| • | ความแตกต่างของ CSV |
| • | องค์ประกอบของ CSV |
| • | ระดับของ CSV |
| • | กรอบการขับเคลื่อน CSV |
| • | หัวข้อพิเศษที่จะกำหนดขึ้นร่วมกับองค์กร (ถ้ามี) |
☐ | Coaching Program* |
| เป็นการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านการจัดทำรายงานในสถานประกอบการ |
| • | เรียนรู้การจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI หรือ |
| • | เรียนรู้การจัดทำรายงาน CSR แบบบูรณาการ (iCSR Report) หรือ |
| • | การเปิดเผยข้อมูล CSR ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) |
| • | ให้คำปรึกษาโดยทีมที่ปรึกษาที่ได้รับการอบรมและรับรองจาก GRI |
* | เฉพาะองค์กรซึ่งเคยเข้าร่วมกิจกรรม CSR Day หรือเป็นบริษัทที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการเขียนรายงานด้าน CSR ของสถาบันไทยพัฒน์ |
ข้อมูลย้อนหลังโครงการ CSR DAY:
เฟส 1 เฟส 2 เฟส 3 เฟส 4 เฟส 5รายละเอียดบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรม:
เฟส 1 เฟส 2 เฟส 3 เฟส 4 เฟส 5