หนังสือ มณฑลแห่งความยั่งยืน
The Sphere of Sustainability
ความยั่งยืนของกิจการ เกิดขึ้นจากการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้ดำเนินไปอย่างเป็นปกติสุข ตามเหตุปัจจัย และมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ
ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ถือเป็นหัวใจของเรื่องความยั่งยืน ที่กิจการจำต้องศึกษาและทำความเข้าใจว่า เรื่องใดที่อยู่ในความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย อะไรเป็นความคาดหวัง (Expectations) ที่มีต่อการดำเนินงานในเรื่องนั้น ทั้งนี้ การได้มาซึ่งความยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ซึ่งเกิดจากผลการดำเนินงาน (Performance) ที่ปรากฏ บนพื้นฐานของความคาดหวังดังกล่าว นับเป็นต้นทางแห่งความยั่งยืนของกิจการ
โดยทั่วไป ความสนใจหรือความคาดหวังของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจะมีความแตกต่างกัน และอาจต่างกับความคาดหวังของสังคมโดยรวม เช่น ผู้ลงทุนอาจสนใจแต่ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัท ไม่ต้องการเห็นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปของการบริจาคที่มิได้ส่งผลต่อการเติบโตของบริษัท หรือ ลูกค้าอาจสนใจเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของตัวผู้บริโภคเอง ไม่สนใจว่าบริษัทจะไปดูแลสิ่งแวดล้อมที่ไหนอย่างไร หรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีเพียงใด หรือ พนักงานจะสนใจเรื่องที่บริษัทดูแลสวัสดิภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการที่เหมาะสมเป็นธรรม การให้โอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน มากกว่ากิจกรรมอาสาที่อยู่นอกเหนืองานในหน้าที่ ฯลฯ
การที่องค์กรมีขีดความสามารถในการระบุว่าใครบ้างที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ จะช่วยให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจการส่งผลกระทบกับใครได้บ้าง และในทางกลับกัน มีใครบ้างที่สามารถส่งผลกระทบต่อกิจการ ซึ่งหากกิจการไม่ดูแลหรือจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ก็อาจนำไปสู่ประเด็นปัญหาระหว่างกิจการและผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และร่วมขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ กับภาคธุรกิจเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ทำการประมวลแนวทางในการเสริมสร้างความยั่งยืนของกิจการ โดยบูรณาการแนวคิดสำคัญในด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG) เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) และธุรกิจเพื่อสังคม (SB) นำมาอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ โดยเรียกรวมว่าเป็น มณฑลแห่งความยั่งยืน หรือ The Sphere of Sustainability
หนังสือ “มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability” ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการไขความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างเรื่อง CG, ESG, CSR, CSV, SD, SE, SB อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดในเรื่องความยั่งยืนที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความคาดหวังและความสนใจในเรื่องที่กิจการดำเนินการแตกต่างกัน และต้องการเอื้อให้กิจการสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติจนเกิดเป็นผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความคาดหวังเหล่านั้น จนนำไปสู่การยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และบรรลุเป้าหมายปลายทางที่เป็นความยั่งยืนของกิจการในที่สุด
หน่วยงานที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ โดยแจ้งความประสงค์ทางอีเมล info@thaipat.org พร้อมระบุจำนวนเล่มและที่อยู่ในการจัดส่ง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ดาวน์โหลดหนังสือ
มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability
ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ถือเป็นหัวใจของเรื่องความยั่งยืน ที่กิจการจำต้องศึกษาและทำความเข้าใจว่า เรื่องใดที่อยู่ในความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย อะไรเป็นความคาดหวัง (Expectations) ที่มีต่อการดำเนินงานในเรื่องนั้น ทั้งนี้ การได้มาซึ่งความยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ซึ่งเกิดจากผลการดำเนินงาน (Performance) ที่ปรากฏ บนพื้นฐานของความคาดหวังดังกล่าว นับเป็นต้นทางแห่งความยั่งยืนของกิจการ
โดยทั่วไป ความสนใจหรือความคาดหวังของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจะมีความแตกต่างกัน และอาจต่างกับความคาดหวังของสังคมโดยรวม เช่น ผู้ลงทุนอาจสนใจแต่ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัท ไม่ต้องการเห็นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปของการบริจาคที่มิได้ส่งผลต่อการเติบโตของบริษัท หรือ ลูกค้าอาจสนใจเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของตัวผู้บริโภคเอง ไม่สนใจว่าบริษัทจะไปดูแลสิ่งแวดล้อมที่ไหนอย่างไร หรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีเพียงใด หรือ พนักงานจะสนใจเรื่องที่บริษัทดูแลสวัสดิภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการที่เหมาะสมเป็นธรรม การให้โอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน มากกว่ากิจกรรมอาสาที่อยู่นอกเหนืองานในหน้าที่ ฯลฯ
การที่องค์กรมีขีดความสามารถในการระบุว่าใครบ้างที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ จะช่วยให้ทราบว่าการดำเนินงานของกิจการส่งผลกระทบกับใครได้บ้าง และในทางกลับกัน มีใครบ้างที่สามารถส่งผลกระทบต่อกิจการ ซึ่งหากกิจการไม่ดูแลหรือจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ก็อาจนำไปสู่ประเด็นปัญหาระหว่างกิจการและผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และร่วมขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ กับภาคธุรกิจเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ทำการประมวลแนวทางในการเสริมสร้างความยั่งยืนของกิจการ โดยบูรณาการแนวคิดสำคัญในด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG) เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) และธุรกิจเพื่อสังคม (SB) นำมาอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ โดยเรียกรวมว่าเป็น มณฑลแห่งความยั่งยืน หรือ The Sphere of Sustainability
หนังสือ “มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability” ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการไขความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างเรื่อง CG, ESG, CSR, CSV, SD, SE, SB อย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดในเรื่องความยั่งยืนที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความคาดหวังและความสนใจในเรื่องที่กิจการดำเนินการแตกต่างกัน และต้องการเอื้อให้กิจการสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติจนเกิดเป็นผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความคาดหวังเหล่านั้น จนนำไปสู่การยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และบรรลุเป้าหมายปลายทางที่เป็นความยั่งยืนของกิจการในที่สุด
หน่วยงานที่สนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถติดต่อขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ โดยแจ้งความประสงค์ทางอีเมล info@thaipat.org พร้อมระบุจำนวนเล่มและที่อยู่ในการจัดส่ง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ดาวน์โหลดหนังสือ
มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability