นับจากที่สถาบันไทยพัฒน์ ดำรงบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการวิจัย (Research) การฝึกอบรม (Training) และการให้คำปรึกษา (Consulting) แก่ภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544
ผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ในปี พ.ศ.2548 ภายใต้โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและพัฒนาบนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปัจจุบัน คำว่า “CSR-in-process” ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากการประกอบการอย่างรับผิดชอบ รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่มีความสำคัญเหนือกว่าการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่นอกกระบวนการธุรกิจ และเกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานหลักของกิจการ หรือที่เรียกว่า “CSR-after-process”
ในปี พ.ศ.2561 สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดการเดินทางบทใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการนำเสนอ “มณฑลแห่งความยั่งยืน” หรือ Sphere of Sustainability ที่เป็นการประมวลแนวทางในการเสริมสร้างความยั่งยืนของกิจการ โดยบูรณาการแนวคิดสำคัญในด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG) เรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) วิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) และธุรกิจเพื่อสังคม (SB) เพื่อใช้เป็นพิมพ์เขียวสำหรับพัฒนาวิธีการดำเนินงานอันนำมาซึ่งความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือ “มณฑลแห่งความยั่งยืน: The Sphere of Sustainability”)
เพื่อเป็นการสนับสนุนองค์กรธุรกิจให้สามารถพัฒนาวิธีการดำเนินงานภายใต้เส้นทางดังกล่าวอย่างเป็นระบบ สถาบันไทยพัฒน์ ได้นำเครื่องมือและประสบการณ์ที่ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับองค์กรธุรกิจนานกว่า 19 ปี มาบรรจุไว้ใน 3 หมวดบริการหลัก ภายใต้ร้านความยั่งยืน (Sustainability Store) ได้แก่ การจัดทำกรอบความยั่งยืน (S-Framework) การประเมินระดับความยั่งยืน (S-Score) และการวางกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานความยั่งยืน (S-Report)
และในปี 2562 สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดอีก 2 บริการใหม่ ได้แก่ การสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืน (S-Value) และการสร้างผลกระทบแห่งความยั่งยืน (S-Impact) เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ในรูปของการวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน หรือ Return on Sustainability
บริการ S-Value เหมาะสำหรับการวัดผลได้ภายใน (Internal Benefit) ที่เกิดขึ้นกับองค์กร ขณะที่ S-Impact เหมาะสำหรับการวัดผลได้ภายนอก (External Benefit) ที่เกิดขึ้นกับสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย
องค์กรธุรกิจที่นำเครื่องมือทั้งสองมาใช้ควบคู่ไปพร้อมกัน จะได้ทั้งคุณค่าภายในและผลกระทบภายนอก ในรูปของผลได้รวม (Total Benefit) จากการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนได้อย่างรอบด้าน
หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจที่สนใจบริการในร้านความยั่งยืน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ อีเมล info@thaipat.org
ข่าวประชาสัมพันธ์
• | ไทยพัฒน์ ชู 2 เครื่องมือใหม่ ผ่านสโตร์ความยั่งยืน ช่วยภาคธุรกิจสร้าง Return on Sustainability ที่วัดผลได้ |
• | ไทยพัฒน์ เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี ชี้ช่องการพัฒนาบทบาทธุรกิจที่สังคมยอมรับ |
ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
• | Sustainability Store ยกระดับธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน (ประชาชาติธุรกิจ) |
• | ไทยพัฒน์ เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี.. (นิตยสาร MBA) |
• | ไทยพัฒน์ฯ จัดทัพใหม่ เปิด Sustainability Store.. (SD Thailand) |
• | เส้นทาง CSR ของจริง ปิดภาพลบส่งแบรนด์ยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | เปิดสโตร์ความยั่งยืน ตอบโจทย์ บจ. น้ำดี (ผู้จัดการออนไลน์) |
• | เปิดร้านค้าความยั่งยืน ตอบโจทย์ธุรกิจ (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | การวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | ..เครื่องมือ Return on Sustainability ที่วัดผลได้ (SD Perspectives) |
• | ความยั่งยืนที่วัดผลได้ ธุรกิจโต+สังคมไปดี (ผู้จัดการออนไลน์) |
• | ไทยพัฒน์ ชู 2 เครื่องมือใหม่ ผ่านสโตร์ความยั่งยืน.. (นิตยสาร MBA) |
• | ไทยพัฒน์ฯ ชูสโตร์ความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | Value x Impact พลังสร้างความยั่งยืนสู่กิจการ (ประชาชาติธุรกิจ) |
• | “คุณค่า” กับ “ความยั่งยืน” (กรุงเทพธุรกิจ) |
• | ผลกระทบกับความยั่งยืน (กรุงเทพธุรกิจ) |
No comments:
Post a Comment