นับวันการมุ่งสู่ความ “เก่งและดี” ของกิจการธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นภาษาดอกไม้ที่พูดให้ดูดีอีกต่อไป เพราะกติกาโลกที่เริ่มเกิดกฎกติกา การเลือกคบค้า หรือเลือกลงทุนก็จะพิจารณาเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการมีธรรมาภิบาลเป็นพื้นฐาน
“ความยั่งยืน” จึงเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรที่ใฝ่ดี คิดถึงความก้าวหน้าในระยะยาว จึงสร้างความสมดุลทั้งผลประกอบการที่ดี พร้อมกับการดูแลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Enviromental) มีความรับผิดชอบต่อสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสีย (Social) มีธรรมาภิบาล (Governance)
แนวทาง ESG ซึ่งมีองค์ประกอบความสมดุลใน 3 มิติดังกล่าวจึงเป็นเหตุปัจจัยไปสู่ความยั่งยืน ที่ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดกฎหมายและป้องกันความเสี่ยงจากการถูกต่อต้าน จึงมีความยืนยาวเป็นองค์กร 100 ปีได้
การเคลื่อนไหวเมื่อเร็วๆ นี้ของ สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทยได้ ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเรียกว่า กลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 จึงมีความหมายสำคัญในการอ้างอิง
การประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล จาก 6 แหล่ง ประกอบด้วย
1. | ข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
2. | ข้อมูลการประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (ESG Rating) บริษัท อีเอสจี เรตติ้ง จำกัด |
3. | ข้อมูลโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย |
4. | ข้อมูลผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CG Scoring) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) |
5. | ข้อมูลโครงการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ (CSR Progress Indicator และ Anticorruption Indicator) สถาบันไทยพัฒน์ |
6. | ข้อมูลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อ (Media and Stakeholder Analysis : MSA) บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด) |
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “การประเมินในปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ได้พิจารณา ข้อมูลทั้งการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน โดยในปีนี้เรายังได้ทำการประเมินกองอสังหาฯ - REITs -โครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรกเพื่อเพิ่มทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป”
สถาบันไทยพัฒน์ได้ศึกษาผลตอบแทนหลักทรัพย์ในกลุ่ม ESG100 เปรียบเทียบกับหุ้นในดัชนี SET ตั้งแต่มิถุนายน 2015ถึงมิถุนายน 2019 ปรากฏได้ว่าหุ้นในกลุ่ม ESG 100 ให้ผลตอบแทน 32.69% หรือ 7.42% ซึ่งให้ผลตอบแทนชนะตลาด ขณะที่หุ้นในดัชนี SET ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 26.09% หรือคิดเป็น 6.04% ส่วนหุ้นในดัชนี SET100 ให้ผลตอบแทนที่ 26.18% หรือ 6.13% หรือหุ้นในดัชนี SET50 ให้ผลตอบแทน 27.18% หรือ 6.28% ดูภาพรวม ผลตอบแทนปัจจุบันย้อนหลัง 5 ปี เส้นกราฟสีดำ (หุ้นกลุ่ม ESG100) จะอยู่เหนือเส้นกราฟสีฟ้าทั้งเส้นประและเส้นทึบ แสดงว่าเมื่อยามที่ตลาดหุ้นไปดี ผลตอบแทนหุ้นกลุ่ม ESG100 จะขึ้นสูงกว่า แต่เมื่อยามตลาดแย่ หุ้นกลุ่ม ESG100 (กราฟสีดำ) ก็ยังตกน้อยกว่า
หลักทรัพย์ที่ผ่านเกณฑ์เข้าไปในรายชื่อ ESG100 ประจำปี 2562 ได้แก่
1) | กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (agro&food industry) จำนวน 11 หลักทรัพย์ ได้แก่ NER, TWPC, CPF, HTC, M, MINT, OSP, PB, TVO, TMILL และ XO |
2) | กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (consumer products) จำนวน 4 หลักทรัพย์ ได้แก่ SUC, S&J, TOG และ MOONG |
3) | กลุ่มธุรกิจการเงิน (financials) จำนวน 12 หลักทรัพย์ ได้แก่ BAY, KBANK, KKP, KTB, LHFG, SCB, TCAP, TISCO, TMB, KTC, THANI และ NSI |
4) | กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (industrials) จำนวน 15 หลักทรัพย์ ได้แก่ AH, IRC, SAT, STANLY, TSC, SNC, BGC, TMD, IVL, VNT, LHK, SMIT, TMT, FPI และ MBAX |
5) | กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (property & construction) จำนวน 21 หลักทรัพย์ ได้แก่ SCC, DRT, SCP, CK, SEAFCO, CPN, LH, LPN, MBK, ORI, PSH, QH, SPALI, PPS, B-WORK, CPNCG, FTREIT, GVREIT, LHSC, POPF และ WHART |
6) | กลุ่มทรัพยากร (resources) จำนวน 10 หลักทรัพย์ ได้แก่ BAFS, BCPG, BGRIM, EGATIF, EGCO, GPSC, GULF, PTT, TTW และ TPCH |
7) | กลุ่มบริการ (services) จำนวน 21 หลักทรัพย์ ได้แก่ BJC, COM7, CPALL, HMPRO, MEGA, SPI, BCH, BDMS, BH, NTV, TKS, VGI, BWG, CENTEL, ERW, AOT, BEM, BTS, NYT, SPA และ WINNER |
8) | กลุ่มเทคโนโลยี (technology) จำนวน 6 หลักทรัพย์ ได้แก่ DELTA, ADVANC, INTUCH, JASIF, SIS และ SYNEX |
ในจำนวนนี้มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม ESG100 ที่มาจากตลาดหลักทรัพย์อยู่ 9 หลักทรัพย์ได้แก่ FPI, MBAX, MOONG, PPS, TMILL, TPCH, SPA, WINNER, XO และเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง ได้แก่
- | กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF) |
- | กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) |
มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง ได้แก่
- | กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) |
- | กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ (POPF) |
- | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK) |
- | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT) |
- | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) |
- | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ (LHSC) |
- | ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART) |
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6ล้านล้านบาท
รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วในสัดส่วนร้อยละ 27และจะถูกนำไปใช้ ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีอีเอสจีไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้
ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com
ข้อคิด... “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”..... “ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต”... ผมเชื่อว่าคนในสังคมน่าจะเคยได้รับรู้คำเตือนผู้ลงทุนจากก.ล.ต. ท้ายโฆษณาชักชวนให้ซื้อตราสารการลงทุนต่างๆ ส่วนจะเกิดความตระหนักหรือเชื่อฟังแค่ไหนก็คงได้รับบทเรียนสอนใจกันเอง นั่นเป็นการกระตุ้นเตือนผู้ลงทุนรายย่อยให้รู้จักรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน แต่สำหรับนักลงทุนมืออาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เขาจะติดตามข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ . เพื่อลดความเสี่ยง และดูความคุ้มค่ากับเงินลงทุนอยู่แล้ว ขณะนี้ สถาบันต่างๆ ในวงการตลาดทุนก็มีการเคลื่อนไหวเป็นกระแสส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินกิจการ ด้วยแนวทาง ESG ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทคณะกรรมการบริษัทให้กำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และสร้างความตระหนักรู้การกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึง ESG ขณะที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของประเทศได้ประสานความร่วมมือกับนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนรวมและธุรกิจประกันชีวิต ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์การลงทุนตามแนวทาง “Nagative List Guideline” เรื่องการลงทุนตามแนวทาง ESG ที่จะลงนามความร่วมมือในวันที่ 1 ตุลาคม ศกนี้ หมายความว่า ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป หากทางบริษัทหรือผู้บริหารที่ทำผิดกฎหมายหรือพ.ร.บ.หลักทรัพย์ทั้งการปั่นหุ้น การใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น ก็จะโดนแบล็กลิสต์ไม่ซื้อหุ้นเพิ่มในระยะ 3 เดือนหรือ 6 เดือน จนกว่าปัญหาของบริษัทเหล่านั้นถูกแก้ไขจึงจะกลับเข้าไปลงทุนตามเดิม ดังนั้น นักลงทุนสถาบันที่ยึดหลัก ESG ก็จะอิสระในพิจารณาตามเกณฑ์เพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีธรรมาภิบาล |
[Original Link]
No comments:
Post a Comment