COVID-19: Investor Response Guidance
หน้าหลัก | ┆ | แนวทางที่ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | ┆ | ดาวน์โหลด |
แนวทางรับมือของผู้ลงทุนต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19
(Investor Response Guidance on COVID-19)
สถานการณ์แพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ไม่เฉพาะในมิติสุขภาพโลก แต่ยังส่งผลทั้งในมิติชุมชน มิติเศรษฐกิจ และมิติการลงทุน
ภายใต้หลักการดูแลรักษาทุนในระยะยาว ผู้ลงทุนสามารถและควรลงมือช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่เป็นภยันตราย ทั้งผลทางตรงด้านสาธารณสุข ความรุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากการระบาดใหญ่ (Pandemic) และความไม่เสมอภาคทางสังคมที่ยิ่งถลำลึก รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตที่มีสาเหตุจากผลกระทบดังกล่าว
วิกฤตโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนและผู้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า โดยไม่จำกัดรูปแบบของการถือครอง กลยุทธ์ที่ใช้ หรือบทบาทที่ดำรงอยู่ในห่วงโซ่การลงทุน การรับมือกับวิกฤตจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของบูรณภาพทั้งระบบ และผลตอบแทนทั้งมวลในระยะยาว มากกว่าการให้ความสำคัญกับผลประกอบการของบริษัทที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
การไหลออกของเงินลงทุนในช่วงสถานการณ์ อาจมีผลทำให้ผู้ลงทุนสถาบันที่จัดการแทนเจ้าของทรัพย์สิน (Asset Owners) และผู้ให้บริการจัดการเงินลงทุน (Asset Managers) ต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านสภาพคล่อง รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากการไหลออกของเงินลงทุนและการตกต่ำของมูลค่าตลาดโดยรวม
กระนั้นก็ตาม ผู้ลงทุนสถาบันที่ยึดหลักของการลงทุนที่รับผิดชอบ (Responsible Investment) สามารถและพึงใช้บทบาทของตนที่มีต่อบริษัทและรัฐบาล ผ่านกระบวนการตัดสินใจลงทุน สนับสนุนบริษัทในวิถียั่งยืนให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ ภายใต้การคำนึงถึงประโยชน์ด้านสาธารณสุข และสมรรถนะด้านเศรษฐกิจในระยะยาว แม้จะต้องถูกจำกัดผลตอบแทนในระยะสั้นก็ตาม
หน่วยงาน PRI ซึ่งเป็นผู้จัดทำและเผยแพร่หลักการลงทุนที่รับผิดชอบในการสนับสนุนของสหประชาชาติ (United Nations-supported Principles for Responsible Investment: PRI) ได้จัดตั้งกลุ่มการร่วมทำงานระดับภาคี (Signatory Participation Group) เพื่อประสานงานและพัฒนาแนวทางการรับมือของผู้ลงทุนสถาบันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการรับมือสถานการณ์ต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ในระยะสั้น และกลุ่มการปรับวางระบบด้วยการให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
ในกลุ่มแรก เป็นการจัดทำแนวทางที่ผู้ลงทุนควรลงมือดำเนินการโดยทันที เพื่อช่วยลดผลกระทบที่เป็นภยันตราย ด้านวิกฤตสาธารณสุข การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ความไม่เสมอภาคที่เพิ่มสูงขึ้น และประเด็นด้านสุขภาพจิต
ในกลุ่มที่สอง เป็นการจัดทำแนวทางที่ผู้ลงทุนควรลงมือดำเนินการโดยทันที เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบการเงินอนาคตที่พร้อมรับภัยคุกคามทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ESG และให้ลำดับความสำคัญกับการสร้างผลลัพธ์ทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในเชิงบวก
สำหรับแนวทางการรับมือของผู้ลงทุนสถาบันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ Investor Response Guidance on COVID-19 ที่สถาบันไทยพัฒน์จัดทำขึ้น1 ประกอบด้วย 7 แนวทาง ดังนี้
--------------------------------------
1 เรียบเรียงจากเอกสาร PRI ที่มีชื่อว่า How Responsible Investors Should Respond To The COVID-19 Coronavirus Crisis
ภายใต้หลักการดูแลรักษาทุนในระยะยาว ผู้ลงทุนสามารถและควรลงมือช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่เป็นภยันตราย ทั้งผลทางตรงด้านสาธารณสุข ความรุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากการระบาดใหญ่ (Pandemic) และความไม่เสมอภาคทางสังคมที่ยิ่งถลำลึก รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตที่มีสาเหตุจากผลกระทบดังกล่าว
วิกฤตโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนและผู้รับประโยชน์อย่างถ้วนหน้า โดยไม่จำกัดรูปแบบของการถือครอง กลยุทธ์ที่ใช้ หรือบทบาทที่ดำรงอยู่ในห่วงโซ่การลงทุน การรับมือกับวิกฤตจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของบูรณภาพทั้งระบบ และผลตอบแทนทั้งมวลในระยะยาว มากกว่าการให้ความสำคัญกับผลประกอบการของบริษัทที่เข้าไปเกี่ยวข้อง
การไหลออกของเงินลงทุนในช่วงสถานการณ์ อาจมีผลทำให้ผู้ลงทุนสถาบันที่จัดการแทนเจ้าของทรัพย์สิน (Asset Owners) และผู้ให้บริการจัดการเงินลงทุน (Asset Managers) ต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านสภาพคล่อง รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากการไหลออกของเงินลงทุนและการตกต่ำของมูลค่าตลาดโดยรวม
กระนั้นก็ตาม ผู้ลงทุนสถาบันที่ยึดหลักของการลงทุนที่รับผิดชอบ (Responsible Investment) สามารถและพึงใช้บทบาทของตนที่มีต่อบริษัทและรัฐบาล ผ่านกระบวนการตัดสินใจลงทุน สนับสนุนบริษัทในวิถียั่งยืนให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ ภายใต้การคำนึงถึงประโยชน์ด้านสาธารณสุข และสมรรถนะด้านเศรษฐกิจในระยะยาว แม้จะต้องถูกจำกัดผลตอบแทนในระยะสั้นก็ตาม
หน่วยงาน PRI ซึ่งเป็นผู้จัดทำและเผยแพร่หลักการลงทุนที่รับผิดชอบในการสนับสนุนของสหประชาชาติ (United Nations-supported Principles for Responsible Investment: PRI) ได้จัดตั้งกลุ่มการร่วมทำงานระดับภาคี (Signatory Participation Group) เพื่อประสานงานและพัฒนาแนวทางการรับมือของผู้ลงทุนสถาบันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการรับมือสถานการณ์ต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ในระยะสั้น และกลุ่มการปรับวางระบบด้วยการให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
ในกลุ่มแรก เป็นการจัดทำแนวทางที่ผู้ลงทุนควรลงมือดำเนินการโดยทันที เพื่อช่วยลดผลกระทบที่เป็นภยันตราย ด้านวิกฤตสาธารณสุข การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ความไม่เสมอภาคที่เพิ่มสูงขึ้น และประเด็นด้านสุขภาพจิต
ในกลุ่มที่สอง เป็นการจัดทำแนวทางที่ผู้ลงทุนควรลงมือดำเนินการโดยทันที เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบการเงินอนาคตที่พร้อมรับภัยคุกคามทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ESG และให้ลำดับความสำคัญกับการสร้างผลลัพธ์ทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในเชิงบวก
สำหรับแนวทางการรับมือของผู้ลงทุนสถาบันต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ Investor Response Guidance on COVID-19 ที่สถาบันไทยพัฒน์จัดทำขึ้น1 ประกอบด้วย 7 แนวทาง ดังนี้
--------------------------------------
1 เรียบเรียงจากเอกสาร PRI ที่มีชื่อว่า How Responsible Investors Should Respond To The COVID-19 Coronavirus Crisis